Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ทั้งหมด" พบ 285 ข้อมูล

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 6 พรุ่งนี้ที่ดีกว่า กับการเท่าทันข่าว

ในสื่อออนไลน์ที่มีการสื่อสารอย่างรวดเร็วการนำเสนอข่าวปลอมข่าวลวงจึงเกิดขึ้นเป็นทวีคูณ  เพื่อเรียกยอด Link และยอด Share จากผู้ชมเมื่อคลิกเข้าไปดู การรู้เท่าทันข่าวปลอม ด้วยการค้นคว้าของเท็จจริงของเนื้อหาและแหล่งข่าวก่อนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น จำไว้เสมอว่า “ชัวร์ก่อรแชร์”

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 5 กลุ่มแชท แหล่งเพาะพันธุ์ข่าวปลอม

การแพร่ระบาดของข่าวปลอมบางครั้งมีความรวดเร็วและกระจายไปในวงกว้างมากกว่าข่าวจริงเสียอีก  โดยเฉพาะในกลุ่มการสื่อสารแบบปิด หรือ กลุ่มแชททางสื่อออนไลน์ อย่าง Line Group  ที่พอคนหนึ่งแชร์เข้ามา ทุกคนก็จะเชื่อว่าเป็นความจริงเป็นทุนเดิม  เพราะเป็นกลุ่มญาติ และเพื่อนกัน จึงเกิดการแชร์ต่อ  หรือบางครั้งหลงเชื่อทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพและทรัพย์สิน ดังนั้นเมื่อได้รับข่าวข้อมูลใด ๆ ควรเช็คดูข้อเท็จจริงจากแหล่งอ้างอิงก่อน และดูว่าแหล่งข่าวมีความน่าเชื่อถือหรือไม่

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 4 ตามติดชีวิตนักข่าว การสื่อข่าวที่แท้จริงคืออะไร

การนำเสนอข่าวอย่างรอบด้าน ไม่ด่วนสรุป  มีการสืบค้นข้อมูลจากแหล่งข่าวต้นทาง ซึ่งบางครั้งได้จากการสัมภาษณ์ข้อเท็จจริง และค้นคว้าจากแหล่งข่าวอ้างอิงที่เชื่อได้  จะช่วยทำให้ข่าวที่เรานำเสนอมีความน่าเชื่อถือ และมีประโยชน์ให้กับสังคม

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 3 แม้จะมาเป็นภาพ แต่ก็ยังเชื่อไม่ได้

ข่าวปลอม และข่าวลวง (Fake News)  ไม่ได้มาเพียงแค่เนื้อหาเท่านั้น เรื่องของรูปภาพก็เป็นอีกสิ่งที่ผู้ติดตามข่าวทางสื่อออนไลน์ต้องระวัง  เพราะด้วยเทคนิคการแต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อีกทั้งแอพพลิเคชั่นในมือถือก็ทำให้ภาพที่เราเห็นตามโพสต์ต่าง ๆ มีการปลอมแปลงได้ 

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 2 เรื่องจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม และการรู้เท่าทัน

ในและวันที่เราเข้าสื่อออนไลน์เราต้องระมัดระวังในการเสพสื่อ  เพราะวันนี้มีการสร้างข่าวลวงหรือข่าวปลอม(Fake News) มาโพสต์มากมาย การหลงเชื่อข่าวปลอมเป็นภัยต่อสุขภาพและทรัพย์สินได้  ดังนั้นเวลาเราอ่านข่าวหรือข้อมูลใด ๆ ต้องมีการเช็คข่าวนั้นก่อนเสมอ ว่าข่าวนั้นแจ้งที่มาของแหล่งข่าวไหม  มีการแจ้งแหล่งอ้างอิงทางวิชาการไหม  และดีที่สุดควรมีการเช็คข้อมูลเทียบเคียงในข่าวเดียวกันจากเว็บไซต์อื่น ๆ ประกอบด้วย                            

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 1 คลิกเบท วิธีการเรียกไลค์ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

คลิกเบท (Clickbait) คือ วิธีการเรียกไลค์จากผู้อ่าน หรือชวนให้ผู้อ่านบทความทางสื่อออนไลน์คลิกเข้าไปอ่าน ยิ่งคลิกอ่านเยอะ  ยิ่งกดไลค์มาก ก็จะนำรายได้มาสู่คนโพสต์ รูปแบบของการคลิกเบท จะมีทั้งรูปภาพ หรือข้อความพสดหัวเรื่อง มีลักษณะกระตุ้นความอยากและอารมร์ , การจัดอันดับ TOP TEN, การพูดเกินจริง เป็นต้น

รู้เท่าทันหรือยัง

พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารในปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก เนื่องจากมีช่องทางสื่อสารมากมาย แม้ว่าจะทำให้ได้รับข่าวสารได้รวดเร็ว แต่อาจขาดการกลั่นกรองความถูกต้อง และส่งต่อกันไปอย่างกว้างขวาง และเป็นช่องทางให้กับผู้ไม่หวังดีสร้างข่าวปลอมมาปะปนให้คนหลงเชื่อ เรามาดูกันซิว่า ข่าวปลอมคืออะไร และมีลักษณะแบบไหน เพื่อที่เราจะได้รู้เท่าทันข่าวปลอม ก่อนตัดสินใจเชื่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์

รู้เท่าทันข่าว (News Literacy)

ในยุคของการสื่อสารแบบหลอมรวม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของผู้คนเปลี่ยนไป คนใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์  และเรามิได้เป็นเพียงผู้อ่านหรือรับชมสื่อเท่านั้น ในคน ๆ หนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้รับสารในคร่าวเดียวกัน เราเน้นการแชร์ การส่งต่อ และการกระจายข่าวออกแบบรวดเร็ว ขาดการตรวจสอบ จึงทำให้เกิดปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยรูปแบบการสื่อสารในสังคมยุคนี้ เราทุกคนจึงกลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว หรือ News Literacy  คือ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์    

การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)

ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด  แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง

ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy)

การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล จัดเป็นประเด็นที่พลเมืองดิจิทัลควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น การเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ต (Digital Etiquette) และการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รู้จักการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นด้วยมารยาทอันดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่มีความแตกต่างจากเรา ไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในสังคม และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น อันเป็นคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตย 

คู่มือเดินเมืองตลาดพลู

คู่มือเดินเมืองตลาดพลูชุดนี้ เป็นสื่อสร้างสรรค์สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2562 (MIDL Week 2019) ภายใต้ธีม MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2562 ณ ตลาดพลู กรุงเทพมหานคร

คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก หรือ ศพด. เป็นหน่วยงานสำคัญที่ดูแลเด็กปฐมวัย ช่วงอายุตั้งแต่ 0-6 ปี ซึ่งเป็นวัยมหัศจรรย์ของการเรียนรู้และพัฒนาการทั้งด้านสมองและร่างกาย  คู่มือมหัศจรรย์สื่อสร้างสรรค์ในศูนย์เด็กเล็ก ได้ถ่ายทอดแนวทางการสร้างเด็กให้มีสุขภาวะที่ดีรอบด้าน ทั้งร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา เพื่อปลูกฝังเด็กให้ “คิดได้ คิดเป็น”  และเติบโตเป็นพลเมืองที่ดีของสังคม

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.