เม่นน้อยหลงทาง
สมัยนี้ใครๆ ก็มีมือถือ แล้วส่วนใหญ่ก็เล่นมือถือกันทั้งวัน เม่นน้อยก็เช่นกันเล่นจนลืมเวลา ลืมทุกอย่างรอบตัว ไม่ยอมออกกำลังกาย ไม่ยอมออกไปทำกิจกรรมอื่นๆ พอเม่นน้อยมารู้สึกตัวอีกทีก็หลุดหลงเข้าไปอยู่ในโลกที่ทุกคนเฉยเมยต่อกันเพราะถูกมนต์สะกดจากมือถือเสียแล้ว เม่นน้อยหลงทาง นิทานภาพที่มีเนื้อหาสะท้อนโลกยุคดิจิทัลและให้ข้อคิดในการบริหารเวลาการใช้สื่อในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ปฐมวัยขึ้นไปที่ผู้ใหญ่สามารถนำมาใช้เป็นสะพานเชื่อมความรู้และทักษะความฉลาดทางดิจิทัลให้กับเด็กๆ ได้ เรื่องราวของเจ้าเม่นน้อยตัวกลม ที่หลงเข้าไปในโลกของโทรศัพท์มือถือ จนลืมเวลา ... แล้วเขาจะออกมาจากโลกในโทรศัพท์มือถือได้อย่างไรกัน? ติดตามได้จากวีดีโอนิทานนี้เลย
นกกะปูดตาแดง
ทำไมเพื่อนๆ ของนกกะปูด ถึงได้ตาแดงตาคล้ำกันไปหมด? นกกะปูดสงสัย อ๋อ! เป็นเพราะเล่นมือถือกันทั้งวันอย่างไรล่ะ! นกกะปูดตาแดง นิทานภาพสะท้อนสถานการณ์การใช้สื่อในยุคปัจจุบันที่ให้ทั้งข้อคิดในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและการบริหารเวลาการใช้สื่อในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ตัวสื่อนิทานมีสีสันที่สวยงามและมีเนื้อเรื่องที่เข้าถึงง่ายเหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ปฐมวัยขึ้นไป ที่พ่อแม่ คุณครู และผู้ดูแลเด็กเองสามารถหยิบสื่อนิทานเรื่องนี้มาสร้างกิจกรรมร่วมกันกับเด็กๆ ได้ นอกจากจะเป็นการปูพื้นฐานและเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัลให้แก่เด็กๆ แล้ว ยังเป็นการได้ใช้เวลาดีๆ ที่มีคุณภาพร่วมกัน นิทานคำกลอนบอกเล่าเรื่องราวความขี้สงสัยของเจ้านกกะปูดตาแดง เมื่อเพื่อน ๆ ชาวนกต่างก็ก้มหน้าก้มตาเล่นโทรศัพท์กันจนตากลายเป็นสีแดง แล้วเจ้านกกะปูดจะช่วยเหล่าเพื่อนพ้องได้ไหมละนี่... มาหาคำตอบในวีดีโอนิทานนี้เลย
อลิซในวันมหัศจรรย์
“ความมหัศจรรย์มีอยู่ทุกที่ภายนอกจอมือถือและกำลังรอให้เราออกไปค้นพบ” หนูอลิซ เด็กน้อยที่ชอบเก็บตัวอยู่ในโลกออนไลน์ โลกที่เธอเชื่อว่าเป็นแดนมหัศจรรย์ของเธอ แต่แล้ววันหนึ่งหนูน้อยอลิซได้พลาดตกลงไปในโพรงลึกใต้ดินและได้พบกับโลกมหัศจรรย์อีกใบ โลกที่ไร้ซึ่งมือถือและทำให้หนูน้อยอลิซค้นพบว่ายังมีโลกอีกใบหนึ่ง ที่มีความมหัศจรรย์มากกว่าโลกออนไลน์ของเธอ อลิซในวันมหัศจรรย์ นิทานที่มีเนื้อหาสะท้อนสังคมยุคดิจิทัล ที่สามารถ “ประยุกต์” ใช้ได้กับทุกวัย เพื่อสร้างสมดุลและให้เกิดความ “เข้าใจ” และ “เท่าทัน” ในการใช้สื่อในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์
นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว
นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋วเพื่อนรักนอกจอ วันหนึ่ง..แม่มดจิ๋วพลาดตกจากไม้กวาดระหว่างที่ขี่ไม้กวาดบินมาหานางฟ้าน้อย แต่พอนางฟ้าน้อยเห็นเพื่อนตกไม้กวาดนอกจากจะไม่ช่วยแล้ว ยังกลับเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน นำรูปแม่มดจิ๋วหัวโนไปแชร์ลงในโลกโซเชียล… นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว หนังสือนิทานภาพสีสันสดใสและมีเนื้อหาที่สนุกน่าสนใจเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย ตัวนิทานแฝงไว้ด้วยข้อคิดเรื่องการบริหารเวลาการใช้สื่อดิจิทัล การรังแกกันในโลกออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อในโลกปัจจุบัน จึงเหมาะที่จะเป็นสะพานเชื่อมผู้ใหญ่และเด็กในการเรียนรู้เรื่องการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ไปด้วยกัน
นกกะปูดตาแดง
ทำไมเพื่อนๆ ของนกกะปูด ถึงได้ตาแดงตาคล้ำกันไปหมด? นกกะปูดสงสัย อ๋อ! เป็นเพราะเล่นมือถือกันทั้งวันอย่างไรล่ะ! นกกะปูดตาแดง นิทานภาพสะท้อนสถานการณ์การใช้สื่อในยุคปัจจุบันที่ให้ทั้งข้อคิดในเรื่องการรู้เท่าทันสื่อและการบริหารเวลาการใช้สื่อในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ตัวสื่อนิทานมีสีสันที่สวยงามและมีเนื้อเรื่องที่เข้าถึงง่ายเหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ปฐมวัยขึ้นไป ที่พ่อแม่ คุณครู และผู้ดูแลเด็กเองสามารถหยิบสื่อนิทานเรื่องนี้มาสร้างกิจกรรมร่วมกันกับเด็กๆ ได้ นอกจากจะเป็นการปูพื้นฐานและเสริมทักษะความฉลาดทางดิจิทัลให้แก่เด็กๆ แล้ว ยังเป็นการได้ใช้เวลาดีๆ ที่มีคุณภาพร่วมกัน
ทอฟฟี่มหัศจรรย์
ทอฟฟี่มหัศจรรย์ หนังสือนิทานภาพเชื่อมคนหลายวัยและให้ข้อคิดเรื่องการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล ตัวนิทานมีเนื้อหาที่ให้ทั้งแง่คิดความรู้และความสนุกที่มาพร้อมกับคาถาวิเศษเตือนสติ “หยุด คิด ถาม” ก่อนหลงเชี่อโฆษณาชวนให้เชื่อ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและผู้ใหญ่ที่ได้จะเรียนรู้ เข้าใจ เท่าทันและนำไปประยุกต์ใช้กับสื่อดิจิทัลในชีวิตประจำวันไปพร้อมๆ กัน นอกจากจะได้รับความสนุกและความรู้ร่วมกันแล้ว ยังถือเป็นการได้ใช้เวลาคุณภาพร่วมกันอีกด้วย
ของใหม่กับเพื่อนเก่า
เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการเห่อ “ของใหม่” จนบางครั้งทำให้หลงลืมและมองข้ามคุณค่าที่มีอยู่ใน ”ของเก่า” ไป ในยุคดิจิทัล ยุคที่เราดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมก้มหน้า หลายต่อหลายครั้งการที่เราก้มหน้าสัมผัสกับหน้าจอมือถือ เราได้หลงลืมคนรอบข้างและมองไม่เห็นโลกแห่งความจริงภายนอกหน้าจอมือถือของเรา นิทานภาพ “ของใหม่กับเพื่อนเก่า” มีเนื้อหาสะท้อนชวนให้คิดกับวิถีชีวิตในยุคดิจิทัล ซึ่งเหมาะกับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่จะพากันไปท่องโลกดิจิทัลและเรียนรู้การสร้างสมดุลในการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ด้วยกัน
เม่นน้อยหลงทาง
สมัยนี้ใครๆ ก็มีมือถือ แล้วส่วนใหญ่ก็เล่นมือถือกันทั้งวัน เม่นน้อยก็เช่นกันเล่นจนลืมเวลา ลืมทุกอย่างรอบตัว ไม่ยอมออกกำลังกาย ไม่ยอมออกไปทำกิจกรรมอื่นๆ พอเม่นน้อยมารู้สึกตัวอีกทีก็หลุดหลงเข้าไปอยู่ในโลกที่ทุกคนเฉยเมยต่อกันเพราะถูกมนต์สะกดจากมือถือเสียแล้ว เม่นน้อยหลงทาง นิทานภาพที่มีเนื้อหาสะท้อนโลกยุคดิจิทัลและให้ข้อคิดในการบริหารเวลาการใช้สื่อในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเหมาะสำหรับเด็กตั้งแต่ปฐมวัยขึ้นไปที่ผู้ใหญ่สามารถนำมาใช้เป็นสะพานเชื่อมความรู้และทักษะความฉลาดทางดิจิทัลให้กับเด็กๆ ได้
10 ประเภทของ Fake News
ในยุคการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล ข่าวสารมีอยู่มากมายการไล่ทะลักของข่าวจำนวนมาก ย่อมแฝงมาด้วยข่าวลวง (Fake news) โดยเราพอจะจำแนกข่าวลวงได้ 10 ประเภท คือ ข่าวพาดหัวยั่วให้คลิก, โฆษณาชวนเชื่อ, ข่าวแฝงการโฆษณา จะมีการ Tie In โฆษณาในเนื้อข่าว, ข่าวล้อเลียนและเสียดสี, ข่าวที่ผิดพลาด, ข่าวเอนเอียงเลือกข้าง, ทฤษฎีสมคบคิด, ข่าววิทยาศาสตร์ลวงโลก ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ, ข่าวลือ และสุดท้ายข่าวหลอกลวง เป็นการแอบอ้างหรือปลอมเป็นแหล่งข่าวนั้นเสียเอง
ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอม (Fake News)
ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอมได้ง่าย เพราะว่าข่าวปลอมเป็นข่าวที่เล่นกับความรู้สึกของคน เมื่อคนอ่านแล้วก็ตกหลุมพราง เกิดเป็นกลไกการเชื่อตาม ๆ กันในคนหมู่มาก และที่สำคัญผู้อ่านข่าวไม่มีความละเอียด เน้นการอ่านข่าวเร็ว จึงไม่ได้คิดวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงของข่าวบนหน้าเว็บนั้น ๆ
สร้างทักษะ รู้เท่าทันข่าว (News Literacy) เพื่อรับมือกับข่าวปลอม
การเสพข่าวในปัจจุบันต้องมีการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะให้ถี่ถ้วนระหว่างข่าวจริง และข่าวปลอม โดยเราควรสร้างทักษะในการรับมือข่าวปลอม ด้วยการตรวจสอบวันเวลาของข่าวที่เผยแพร่ ตรวจสอบแหล่งข่าวว่าน่าเชื่อถือไหม สังเกตสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ในข่าว ทั้งภาษาที่ใช้ รูปภาพประกอบมีการตัดแปลงต่อเติมหรือไม่ ผู้เขียนเป็นใคร ข่าวนี้มาจากสำนักข่าวอะไร เชื่อถือได้หรือไม่
5 ทักษะสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล
ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ทุกคนคือพลเมืองดิจิทัล ที่ต้องมีทักษะในการเสพข่าวดังนี้ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว วิเคราะห์จุดประสงค์ของข่าว และแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นให้ออก เพื่อไม่หลงเชื่อตามคำชี้นำ และทุกครั้งให้รับข่าวสารโดยไม่มีอคติและมีสติในการเสพข่าวทุกครั้ง เพื่อไม่ตกเเป็นเหยื่อของข่าวลวง