Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ภัยออนไลน์" พบ 29 ข้อมูล

ลงทะเบียนเรียนฟรี การคุ้มครองจากภัยออนไลน์

“การคุ้มครองจากภัยออนไลน์” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  เรียนรู้วิธีป้องกันตนเองจากไซเบอร์บูลลี่และรู้จักวิธีการดูแลช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น  รู้เท่าทันกลโกงออนไลน์ วิธีการรับมือและปกป้องสิทธิเมื่อสั่งซื้อของแล้วได้รับของไม่ครบ ไม่ตรงปก รู้จักวิธีป้องกันตนเองและรับมือกับการละเมิด การคุกคาม และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ   จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก   หมวดเนื้อหา “การคุ้มครองจากภัยออนไลน์”   เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 29 มิถุนายน  2565 หัวข้อ รับมือการคุกคามทางเพศออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ ทำอย่างไรเมื่อซื้อของออนไลน์ ไม่ตรงปก 20 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ เอาตัวรอดเมื่อถูกกลั่นแกล้งระรานทางไซเบอร์ (Cyberbullying)  ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น.  ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ   ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช,  คุณณัชวลัย สุวรรณฑัต และ คุณสุพิชฌาย์ ชัยธัมมะปกรณ์   รับจำนวนจำกัด !!!  สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook : CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920   ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่  https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/

ลงทะเบียนเรียนฟรี หลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทอล (MIDL)

ลงทะเบียนเรียนฟรี!!! แนะนำ! คอร์สเรียนออนไลน์ ที่ชาวโซเชียลควรรู้   หลักสูตรเสริมการศึกษาทั่วไประยะสั้น เพื่อพัฒนาความรู้ ความคิด ทักษะ และทัศนคติ ด้วยชุดกิจกรรมการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media, Information and Digital literacy หรือ MIDL) เกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดย กิจกรรมเสริมหลักสูตรการศึกษาทั่วไประยะสั้น Chulalongkorn University Values Integration Program หรือ CUVIP มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้รู้จัก ค้นพบ และพัฒนาตัวเองเพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการ ทำงานอย่างมือ อาชีพ เมื่อสิ้นสุดการเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ผู้เรียนจะได้รับองค์ความรู้ใหม่หรือต่อยอดองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้ว และสร้างแรงบันดาลใจใน การดำเนินชีวิตต่อไปในอนาคต จนสามารถร่วมเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาและยกระดับคุณสมบัตินิสิต บัณฑิต และบุคลากรให้สามารถเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าของประเทศและโลก . หลักสูตร CUVIP series "เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก” Media Literacy, the essential skill for well-being เปิดพื้นที่เรียนรู้ออนไลน์ด้วยเนื้อหาที่ได้รับออกแบบการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ซึ่งเป็นทักษะสร้างสุขภาวะที่สำคัญในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 หมวดเนื้อหา 13 หัวข้อเรียนรู้ 2 ชั่วโมงต่อครั้ง . หมวดเนื้อหาที่ 1 การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน โดย คุณโตมร อภิวันทนากร และ คุณทัศนวรรณ บรรจง มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย หมวดเนื้อหาที่ 2 การรู้เท่าทันสื่อเพื่อพลเมืองดิจิทัล โดย คุณณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต , คุณปราศรัย เจตสันติ์, คุณอลงกรณ์ อัศวโสวรรณ และ คุณพรพรรษ อัมพรพฤติ กลุ่ม Critizen หมวดเนื้อหาที่ 3 สูงวัยเท่าทันสื่อ โดย เอกชัย เธียรสรรชัย, ดร.สิรินทร พิบูลภานุวัธน์ และ ฐานิสร์ ริ้วสุวรรณ์ (กลุ่มคนตัวดี บริษัท ทำมาปัน จำกัด) หมวดเนื้อหาที่ 4 การคุ้มครองจากภัยออนไลน์ โดย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช , คุณสุพิชฌาย์ ชัยธัมมะปกรณ์ และ คุณณัชวลัย สุวรรณฑัต มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย หมวดเนื้อหาที่ 5 การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) และ คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ อสมท. . การสมัครและเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP สำหรับบุคคลทั่วไป 1. ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php 2. ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facbook: CUVIP Project 3. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php 4. ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม*** CUVIP ที่ Facbook: CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920 หรือ Inbox Facbook: CUVIP Project 5. ผู้เรียน จะได้รับประกาศนียบัตร หลังจบการเรียนรู้แต่กิจกรรม

แนวปฏิบัติสําหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

ทุกวันนี้อาชญากรในโลกออนไลน์มีความพยายามเข้าถึงเหยื่อโดยใช้วิธีการที่หลากหลายมากขึ้น อาชญากรรมส่วนใหญ่เป็นการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กและการทารุณกรรม ซึ่งเด็กและเยาวชนเองก็สามารถเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตผ่านมือถือได้ตลอดเวลาและเยาวชนส่วนใหญ่ก็ยังขาดการชี้แนะในเรื่องการรู้เท่าทันภัยที่มากับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง แนวทางปฏิบัติสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับนี้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความรู้และเป็นแนวทางในการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกับสหวิชาชีพอื่นๆ รวมถึงแนวทางการทำงานร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียนและชุมชน เพื่อเฝ้าระวังคุ้มครองเด็กและแก้ไขปัญหาในลักษณะของการบูรณาการร่วมกัน

แนวปฏิบัติสําหรับผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์

แม้ว่าเยาวชนไทยในยุคปัจจุบันจะเติบโตขึ้นมาพร้อมเทคโนโลยีและมีความสามารถที่จะเรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะรู้วิธีรับมือกับภัยที่มากับเทคโนโลยี เช่น การกลั่นแกล้งรังแกกันในโลกออนไลน์ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ฯลฯ แนวปฏิบัติสำหรับผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์ ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพสหวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้องในกรณีภัยออนไลน์ต่อเด็ก เพื่อสร้างความตระหนักสาธารณะ เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ภัยและการป้องกันภัยออนไลน์ให้แก่สังคม

ข่าวปลอม สร้างมาป่วน ปอกลอก ปลุกปั่นอันตราย stop fake news

ในปัจจุบันคนทั้งโลกกำลังประสบกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบและสร้างความวิตกกังวลให้กับคนในสังคมทั่วโลก ตั้งแต่เรื่องสุขภาพ การงาน ไปจนถึงภาวะเศษฐกิจในปัจจุบัน ในแต่ละวันเราจะเห็นรายงานข่าวการเสียชีวิตของคนทั่วโลกที่ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีข่าวปลอมที่สร้างมาป่วน ปอกลอก ชวนเชื่อ สร้างกระแสและปลุกปั่นอันตรายที่แฝงมากับโลกอินเตอร์เนต การรู้เท่าทันข่าวสาร ใช้วิจารณญาณในการบริโภคสื่อ คือสิ่งที่เราทำได้ เพื่อให้ตัวเราปลอดภัยทั้งจากโรคระบาดและไม่ตกเป็นเหยื่อข่าวปลอมเหล่านี้ การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

แจกความสดใส แจกเครื่องกระตุ้นความใคร่ Beware pedophile

ปัจจุบันเราใช้อินเตอร์เนตในการสืบค้นข้อมูลและแชร์ข้อมูลสื่อสารถึงกันและกันจนเป็นเรื่องปกติที่คุ้นเคย จนอาจทำให้เราหลงลืมเรื่องภัยและอาชญากรที่แฝงมากับโลกอินเตอร์เนต ซึ่งภัยบนโลกอินเตอร์เนตและอาชญากรเหล่านี้ มักจะแฝงมาในคราบที่เราเองอาจจะคาดไม่ถึง pedophile “โรคใคร่เด็ก” เป็นโรคจิตเวชชนิดที่ชอบมีเพศสัมพันธ์กับเด็ก ซึ่งมีตั้งแต่เด็กวัยที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไปจนถึงทารก ข้อมูลที่เราแชร์บนโลกอินเตอร์เนตหากเราไม่ระวังหรือรู้ไม่เท่าทัน สุดท้ายแล้วอาจกลายเป็นเครื่องมือที่จะย้อนกลับมาทำร้ายเราและคนที่เรารักก็เป็นได้ การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

ผู้ใหญ่..หลอกเด็ก Beware grooming

กลุ่มเยาวชนหรือวัยรุ่นเป็นหนึ่งในจำนวนผู้ที่ใช้อินเตอร์เนตมากที่สุดและอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ก็มีให้เห็นในข่าวทุกวันในสังคม อาชญากรบนโลกออนไลน์เหล่านี้ มักจะแฝงตัวมาในคราบคนดีที่เราคาดไม่ถึง ผู้ใหญ่..ใจดี ที่จริงอาจเป็นอาชญากรที่แฝงตัวมาหลอกให้หลงเชื่อ เพื่อล่อลวงไปสู่การละเมิดทางเพศและอาชญากรรมอื่นๆ เพราะผู้ใหญ่ (แปลกหน้า) ที่ใจดีมีแต่ในนิทานหลอกเด็ก หากหลงเชื่อคนง่าย รู้ตัวอีกทีอาจตกเป็นเหยื่อของเหล่าอาชญากรเหล่านี้ การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

เพราะทุกคนต่างเป็นคนเหมือนกัน Stop cyberbullying

คลิปวิดีโอเตือนใจการกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ เพราะทุกคนต่างเป็นคนเหมือนกัน ไม่ว่าจะเพศ หญิง ชาย หรือ บุคคลที่มีอัตลักษณ์วิถีทางเพศที่แตกต่างออกไป ล้วนมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์เหมือนกันทั้งสิ้น การแซว การหยอกล้อเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ ด้วยความขบขัน ด้วยความคึกคะนอง ย่อมส่งผลกระทบในแง่ลบต่อจิตใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะเป็นการถูกลดทอนคุณค่าความเป็นคน ที่อาจนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าและผลเสียต่อจิตใจในด้านอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเกลียดชังและความเหลื่อมล้ำทางเพศในสังคม การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

การสำรวจสถานการณ์เด็กไทยกับภัยออนไลน์ 2563

COPAT กรมกิจการเด็กและเยาวชน ร่วมกับ มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นำเสนอข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กกับภัยออนไลน์ปี 2563 โดยได้ทำการสำรวจในกลุ่มเด็กมัธยมศึกษา อายุ 12-18 ปี ผลการสำรวจพบหลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น เด็ก 89% เชื่อว่าโลกออนไลน์มีภัยหรือความเสี่ยงต่างๆ 69% มีประสบการณ์ถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ด้วยการเรียกถ้อยคำหยาบคาย ดูหมิ่น และมีเด็ก 29% เคยนัดพบเพื่อนออนไลน์ เป็นต้น

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.