Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "พลเมือง" พบ 41 ข้อมูล

ลงทะเบียนเรียนฟรี การรู้เท่าทันสื่อเพื่อพลเมืองดิจิทัล

“การรู้เท่าทันสื่อเพื่อพลเมืองดิจิทัล” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  ที่จะพัฒนาความสามารถให้รู้เท่าทันความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในการสื่อสาร    เรียนรู้พื้นฐานของความเข้าใจในคุณค่าความแตกต่างหลากหลายทางอัตลักษณ์  ใช้และสร้างสรรค์สื่ออย่างตระหนักถึงสิทธิของบุคคลอย่างรู้เท่าทันการสื่อสารสร้างความเกลียดชัง   จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก   หมวดเนื้อหา การรู้เท่าทันสื่อเพื่อพลเมืองดิจิทัล   เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 28 มิถุนายน  2565 หัวข้อ การใช้สื่อดิจิทัลกับการจัดการอารมณ์ 11 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ การนำเสนออัตลักษณ์ผ่านสื่อดิจิทัล 18 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ การเคารพสิทธิบนโลกออนไลน์ ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น.  ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ   ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย กลุ่ม Critizen คุณณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต, คุณปราศรัย เจตสันติ์, คุณอลงกรณ์ อัศวโสวรรณ และ คุณพรพรรษ อัมพรพฤติ   รับจำนวนจำกัด !!!  สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook : CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920   ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่  https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/

ลงทะเบียนเรียนฟรี การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร

ลงทะเบียนเรียนฟรี!!! “การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  ที่พาผู้เรียนทำความเข้าใจแนวคิดเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ทำให้เข้าใจผิด บิดเบือน ฝึกฝนการตรวจสอบข้อเท็จจริง (FACT-CHECKING) ในข่าวลวง ข่าวปลอม และข้อมูลเท็จ ติดตั้งแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองดิจิทัลรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร และสร้างทักษะประสบการณ์ในการหาความจริงร่วม   จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก   หมวดเนื้อหา “การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร”   เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 20 มิถุนายน 2565 หัวข้อ พื้นฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-Checking 101) 7 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ เครื่องมือและเคล็ดลับ สำหรับนักตรวจสอบข้อเท็จจริง ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์  ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท   8 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ พลเมืองดิจิทัลกับการรับมือข้อมูลข่าวสาร(นวัตกรรมโคแฟค) ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์  ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย)   ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น.  ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ   รับจำนวนจำกัด !!!  สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook : CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920   ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่  https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/

ลงทะเบียนเรียนฟรี การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน

ลงทะเบียนเรียนฟรี   “การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  ที่จะพาไปเรียนรู้ทำความเข้าใจเกี่ยวสื่อในฐานะสถาบันทางสังคมที่ขัดเกลาความคิดผู้คน ฝึกฝนวิเคราะห์ถอดรื้อการประกอบสร้างสื่อ เพิ่มศักยภาพความคิดเชิงวิพากษ์  และขยายหัวใจของความเป็นพลเมืองอยู่ร่วมนับรวมผู้คนสังคมเดียวกัน   จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก   หมวดเนื้อหา การรู้เท่าทันสื่อเพื่อสร้างสังคมของทุกคน   เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 21 มิถุนายน  2565  หัวข้อ เปิดสายตาอ่านสื่ออย่างรู้เท่าทัน MIDL 101 19 กรกฎาคม 2565  หัวข้อ พลิกมุมคิด สะกิดมุมมอง วิพากษ์สื่อด้วยสายตาพลเมือง 21 กรกฎาคม 2565  หัวข้อ วิพากษ์สื่ออย่างรู้เท่าทันสร้างสรรค์สังคมของทุกคน ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น.  ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ   ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย  คุณโตมร อภิวันทนากร และ คุณทัศนวรรณ บรรจง  มูลนิธิการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย Thai Civic Education Foundation   รับจำนวนจำกัด !!!  สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook: CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920   ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่  https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/

ผลสำรวจข้อมูล ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม

“ทำไมต้องค้นหาความจริงร่วม: Why Cofact Matters” อินโฟกราฟิก สรุปผลการสำรวจ ประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับข่าวลวงและข้อมูลปลอม ปัญหาที่สร้างความสับสนและความเชื่อผิดๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมและสื่อสังคมออนไลน์ภายในหนึ่งปีที่ผ่านมา โดยสรุปผลสำรวจจากผู้เข้าร่วมทำแบบสอบถามจำนวน 670 คน ที่เคยตรวจสอบข่าวลวงและข้อมูลปลอมผ่านโคแฟค พร้อมทั้งร่วมแสดงความคิดเห็นถึงสาเหตุต้นตอของข่าวลือ สาเหตุของการเผยแพร่ข่าวลวงซ้ำ สิ่งที่น่ากังวลและข้อมูลปลอมที่พบเห็นในสื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์มากที่สุด รวมถึงเสนอทางออกของการแก้ปัญหาข่าวลวงให้กับสังคมในระยะยาว

คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เนื้อหาบรรจุทั้งแนวคิดเบื้องต้น 8 กิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างทักษะพลเมืองเท่าทันสื่ออย่างรอบด้าน ทั้งการเข้าใจตนเอง การรู้เท่าทันอารมณ์​ การเคารพสิทธิ์ผู้อื่น การคำนึงถึงความเสี่ยงและความปลอดภัยในโลกออนไลน์ ฯลฯ ปิดท้ายด้วยแบบวัดประเมินทั้งความรู้และทักษะการรู้เท่าทันสื่อ คู่มือนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อเรียนรู้ในครอบครัวและกิจกรรมต่างๆ นอกห้องเรียนสำหรับเด็กในกลุ่มวัยเดียวกัน

คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ชุดกิจกรรมการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy – MIDL)เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เหมาะสำหรับครูผู้สอนและนักการศึกษาที่ต้องการเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อฯ ให้กับนักเรียน โดยผู้ใช้สามารถนำไปประยุกต์เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทที่แตกต่างกันได้

ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ฉบับสมบูรณ์

งานวิจัยสำรวจและตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลระดับบุคคลที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่21 ในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศผ่านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล การเลือก รับ วิเคราะห์ ประเมิน รวมถึงความสามารถในการผลิตสื่อ เพื่อช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและเคารพสิทธิของคนอื่นๆ ในสังคม 

5 ทักษะสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล

ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ทุกคนคือพลเมืองดิจิทัล ที่ต้องมีทักษะในการเสพข่าวดังนี้  ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว วิเคราะห์จุดประสงค์ของข่าว และแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นให้ออก เพื่อไม่หลงเชื่อตามคำชี้นำ และทุกครั้งให้รับข่าวสารโดยไม่มีอคติและมีสติในการเสพข่าวทุกครั้ง เพื่อไม่ตกเเป็นเหยื่อของข่าวลวง

มนุษย์ครู ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์

'มนุษย์ครู' ในวันที่การศึกษาไม่เอื้อต่อการสร้างความเป็นมนุษย์ชวนครูสำรวจความเป็นมนุษย์ในตัวเอง ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ที่มีพลัง ส่งต่อไปยังห้องเรียนจากวงแลกเปลี่ยน “รวมพลคนกล้าสอน สู่การเรียนรู้มีชีวิต” เมื่อวันที่ 21 ก.ค.2561

ป่าชายเมือง นักข่าวพลเมือง ตอน ปลูกป่าชายเลน

ผลงานสารคดีจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม จำนวน 4 ตอน ในตอนนี้ นักข่าวพลเมือง พาไปคุยกับชาวบ้านต่อถึงแง่มุมของการปลูกป่าชายเลน เปิดข้อมูลความเป็นจริงให้เห็นว่าการปลูกป่าชายเลนควรทำอย่างไร และจะมีส่วนช่วยในการคืนชีวิตและความสมดุลให้กับธรรมชาติได้จริงหรือไม่? อย่างไร?

ป่าชายเมือง นักข่าวพลเมือง ตอน บางขุนเทียนกับความเปลี่ยนแปลง

ผลงานสารคดีจากคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ภาควิชาโครงการร่วมบริหารหลักสูตรมีเดียอาร์ตและเทคโนโลยีมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เพื่อสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้นภายในพื้นที่บางขุนเทียน โดยแยกเป็นประเด็นต่างๆให้เห็นอย่างครอบคลุม ผลงานชุดนี้มีจำนวน 4 ตอน ในตอนนี้เป็นเรื่องราวการสะท้อนมุมมองเยาวชนคนรุ่นใหม่ในฐานะนักข่าวพลเมือง พาไปเจาะลึกเรื่องราวของป่าชายเลนบางขุนเทียน พูดคุยกับชาวบ้านถึงวิถีชีวิตที่อุดมสมบูรณ์ด้วยแหล่งธรรมชาติ กับการเผชิญหน้ากับปัญหามลพิษความทรุดโทรมที่กำลังคืบคลาน และหนทางอยู่รอดอย่างสมดุลระหว่างชีวิตและธรรมชาติ

พลเมืองเท่าทันสื่อ ต้องมี MIDL

เมื่อพูดถึงสื่อ ยุคนี้ไม่จำกัดแค่สื่อเดิมอย่าง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แต่ยังมีสื่อออนไลน์ ที่นับวันจะมีรูปแบบแปลกใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคของสื่อหลอมรวม คุณพ่อคุณแม่จำต้องเรียนรู้เรื่องนี้ให้ทัน เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตา สอดส่อง รวมถึงช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สื่อในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างเท่าทันอีกด้วย

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.