Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ผู้ป่วยระยะท้าย" พบ 36 ข้อมูล

คู่มือหลักสูตรการบริบาลผู้ป่วยระยะท้าย

การที่บุคคลจะเข้าถึงการอยู่ดีและตายดีนั้น แม้จะเป็นเรื่องเฉพาะตน แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า การดูแลวาระสุดท้ายของชีวิตเป็นเรื่องที่สำคัญมากและจำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับทั้งคนในครอบครัว แพทย์ พยาบาล เภสัชกร รวมถึงผู้ที่รับจ้างดูแล คู่มือหลักสูตรการบริบาลผู้ป่วยระยะท้ายสำหรับผู้ดูแลและนักบริบาลชุดนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการเผยแพร่แนวทางในการช่วยเหลือผู้ป่วยระยะท้ายให้มีคุณภาพที่ดีและจากไปด้วยดี รวมถึงช่วยให้ครอบครัวเข้าใจยอมรับความพลัดพรากสูญเสียที่เกิดขึ้นได้

ชุมชนกรุณาเชียงใหม่

ชุมชนกรุณา จ.เชียงใหม่ มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาล และชุมชน ที่เปิดพื้นที่เรียนรู้เรื่องการอยู่ดีและตายดีเครื่องมือการเรียนรู้ของกลุ่ม Peaceful Death เช่น สมุดเบาใจ เกมไพ่ไขชีวิต ไพ่ฤดูฝน เพื่อให้ผู้ป่วยและญาติสามารถสนทนาเรื่องชีวิตและความตาย การวางแผนดูแลล่วงหน้า อันช่วยสนับสนุนการดูแลสุขภาพช่วงท้ายอย่างมีคุณภาพ ติดตามการทำงานของชุมชนกรุณาเชียงใหม่ ได้ผ่านเพจ ชุมชนกรุณาขะไจ๋ http://facebook.com/compassioncommuni... วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION

สันติภาวัน สถานพำนักพระภิกษุอาพาธระยะท้าย

เมื่อพระภิกษุป่วยระยะท้าย ปัญหาหนึ่งที่ท่านพบบ่อยๆ คือ วัดหลายแห่งไม่มีพระพร้อมเป็นผู้ดูแล พระภิกษุหลายรูปไม่ได้รับการดูแลที่ดีเท่าที่ควร มิฉะนั้นอาจต้องพักที่โรงพยาบาล ซึ่งอาจไม่ใช่ที่ที่ดีที่สุดในการอยู่ในสมณเพศ​ มิฉะนั้นอาจต้องกลับบ้านให้ญาติดูแล ซึ่งเสี่ยงต่อการผิดพระวินัย พระภิกษุหลายรูปจึงอาจต้องลาสิกขาเพียงเพราะป่วยเรื้อรังหรือระยะท้าย ไม่สามารถละสังขารได้ในผ้ากาสาวพัตร สันติภาวัน สถานพำนักพระภิกษุอาพาธระยะท้ายจึงเกิดขึ้น โดยมีพระสงฆ์และทีมจิตอาสาช่วยผู้ดูแลอำนวยความสะดวก เพื่อให้ท่านได้ใช้ชีวิตช่วงท้ายพิจารณาความเป็นจริงของชีวิต และละสังขารอย่างสงบ ตามอุดมคติของพระพุทธศาสนา วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION"

เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม

ชุมชนกรุณา ไม่ปฏิเสธบทบาทของภาคธุรกิจบริการ ซึ่งมีส่วนสนับสนุนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและครอบครัว และเป็นพลังหนึ่งที่ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงการตายดี รู้จัก เยือนเย็น วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ผู้ให้บริการคำปรึกษาเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้าน ก่อตั้งโดย ศ.นพ.ดร. อิศรางค์ นุชประยูร ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งและชีวาภิบาล และผู้อำนวยการโครงการ อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://peacefuldeath.co/yuanyen/ วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION"

ชมรมชายผ้าเหลือง ชุมชนกรุณา

น่าดีใจที่ชุมชนห้วยยอด และพื้นที่ใกล้เคียง ในจังหวัดตรัง มีกระแสของการดูแลใส่ใจคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยเรื้อรังและระยะสุดท้าย โดยที่ทั้งชุมชนและทีมสุขภาพต่างมีส่วนร่วม หนุนเสริมซึ่งกันและกัน นำโดย พระกฎษดา ขนฺติกโร ประธานชมรมชายผ้าเหลือง และผู้นำสังฆะแห่งการเยียวยา ชมการทำงานและแนวทางการสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างโรงพยาบาล และชุมชน ในวีดีโอชมรมชายผ้าเหลือง ชุมชนกรุณา วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION

ชุมชนกรุณา Manifesto

เพราะการเผชิญความสูญเสียเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญของชีวิต หน้าที่การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการตายดี จึงไม่อาจจำกัดเพียงครอบครัว บุคลากรสาธารณสุข เท่านั้น หากเป็นความรับผิดชอบของทุกคน แม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่เราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยเหลือได้ตามความศักยภาพ ความสามารถ และบทบาทหน้าที่ที่เป็นอยู่ ขอเพียงมีความกรุณา เห็นอกเห็นใจผู้ที่กำลังเผชิญความสูญเสีย แม้การช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก ชุมชนกรุณา คือแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้สามารถดูแลผู้เผชิญความสูญเสีย ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล โดยเน้นการป้องกันความทุกข์ การบรรเทาความรุนแรง และการเยียวยาฟื้นฟู ผ่านการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคสุขภาพและภาคสังคม การทำงานโดยวิเคราะห์ระบบนิเวศน์ในชุมชน การขับเคลื่อนชุมชนกรุณา สามารถทำงานให้ความช่วยเหลือในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับกลุ่มองค์กร ระดับโครงสร้างนโยบาย หรือในระดับวัฒนธรรมของสังคม

I SEE U: ชุมชนกรุณา

I SEE U คือกลุ่มอาสา เยียวยาจิตใจผู้ป่วยระยะสุดท้าย นำทีมโดยคุณอรุณชัย อรุณชัย นิติสุพรรัตน์ นอกจากกลุ่ม I SEE U จะอบรมอาสาสมัคร ให้มีทักษะเยี่ยมผู้ป่วยในกรุงเทพและปริมณฑลแล้ว ยังจัดกิจกรรมสนับสนุนคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และให้กำลังใจบุคลากรสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ติดตามการดำเนินงานของกลุ่ม I SEE U ได้ที่เพจ I SEE U Contemplative Care และอ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ https://peacefuldeath.co/กว่าจะมาเป็น... วีดีโอชุดนี้ เป็นหนึ่งในวีดีโอซีรีย์เพื่อการขับเคลื่อนชุมชนกรุณา Compassionate Communities สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ผลิตโดย ATMOSFILM PRODUCTION

อาทิตย์อัสดง ฉบับพิเศษ บทเรียนความตาย 2560

ในชีวิตของแต่ละคนไม่มีใครหลีกพ้นความตายไปได้ เราไม่รู้ว่าความตายจะมาถึงเมื่อไหร่ อย่างไร การพูดถึงเรื่องตายไม่ใช่เป็นการแช่งตนเอง แต่เป็นการตระเตรียมเส้นทางที่จะเดินทางไปโลกหน้าไม่วันใดก็วันใด ด้วยสติ สุข และสงบ ที่เขาเรียกว่า การตายอย่างมีคุณภาพ บทเรียนจากผู้ป่วยระยะสุดท้าย ผู้สุญเสีย ได้สะท้อนให้เราย้อนคิด  ให้เราทุกคนมีอนุสติ หรือการตามความระลึกในเรื่องนี้อย่างไม่ประมาท เพราะเราไม่รู้เลยว่าเส้นทางบนโลกใบนี้ของเราจะจบลงเมื่อไหร่

อาทิตย์อัสดง ฉบับพิเศษ บทเรียนความตาย 2559

“บางครั้งความเจ็บปวดอย่างยิ่ง ก็เป็นความจริงที่สามารถพาเราออกจากทุกข์ได้ เมื่อเราเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง” พระไพศาล วิสาโล ได้กล่าวไว้ เมื่อถอดบทเรียนการสูญเสียเสาหลัก และศูนย์รวมจิตใจคนไทยทั้งประเทศและทั่วโลก ต่อการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  คนไทยได้เรียนรู้ข้อคิดจากคุณงามความดีของพระองค์เพื่อเป็นกำลังใจในการใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่าต่อไป

อาทิตย์อัสดง ฉบับพิเศษ บทเรียนความตาย 2558

“ทุกวันมีคนตาย ทุกความตายมีบทเรียน” เสมือนพระอาทิตย์เมื่อมีขึ้น ก็ต้องมีตกเป็นธรรมดาทุกวัน หลากหลายเหตุการณ์ของความตายที่ผ่านมาในอดีต ไม่ว่าจะเป็น การละสังขารของหลวงพ่อคูณ, ความอลหม่านหลังการตายในเหตุระเบิดราชประสงค์, การฆ่าตัวตายของสิงห์ ประชาธิป มุสิกพงศ์, ความตายจากการอพยพลี้ภัยของชาวซีเรีย, งานศพอลังการของคุณนงนุช ตันสัจจา ผู้ก่อตั้งสวนนงนุช พัทยา และการจากไปอันธรรมดาของคุณประภัสสร เสวิกุล ล้วนมีบทเรียนให้เราได้มุมมอง และแง่คิด เพื่อมาย้อนคิด และทบทวนความจริงในความตายของทุกชีวิตบนโลกใบนี้ ไม่เว้นแม้แต่ตัวเรา                

สั่ง เสียก่อนตาย

สั่ง_เสียก่อน_ตาย  เป็นหนังสือที่ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของแพทย์ พยาบาล ญาติและผู้ดูแลของผู้ป่วยระยะสุดท้าย การที่ผู้ป่วยสามารถได้บอกล่าวถึงสิ่งที่ตนเองปรารถนา  หรือสิ่งที่อยากทำ เพื่อให้คนที่อยู่เคียงข้างได้จัดเตรียมให้  หรือได้ทำตามที่ร้องขอนับว่าเป็นเรื่องดี สร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้ป่วยในระยะสุดท้าย เพื่อจัดการเรื่องต่าง ๆในชีวิตอย่างหมดห่วง และเดินทางไปสู่โลกหน้าอย่างมีความสุข

ความตาย ภาวะใกล้ตาย สื่ออย่างไรให้เข้าถึงใจ

วิกฤตที่สุดในชีวิตของมนุษย์ คือการรู้ตัวว่าอยู่ในสภาวะคนใกล้ตาย แม้จะเป็นเรื่องธรรมดาที่เราเกิดมาทุกคนต้องตาย แต่การสื่อสารกับทั้งผู้ป่วย และผู้ดูแลผู้ป่วย ครอบครัวของผู้ป่วย จะทำอย่างไรให้เพิ่มพลังบวกให้กับชีวิตที่กำลังจะจากไป  และที่ยังดำรงอยู่ การฟังอย่างกรุณา ไม่ด่วนตัดสิน พูดชื่นชมในสิ่งดี ๆ ที่เป็นความภาคภูมิใจและความสุขของกันและกัน นั่นคือ การส่งผู้ป่วยระยะสุดท้ายให้เดินทางจากไปอย่างมีความสุข ส่วนผู้ดูแล ครอบครัว ที่ยังต้องก้าวเดินต่อไปก็จะอยู่กับความทรงจำที่สวยงามที่มีต่อกันตลอดไป

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.