Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ความเหลื่อมล้ำ" พบ 13 ข้อมูล

การจัดระบบชุมชนในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ

ในเหตุการณ์คลื่นยักษ์สึนามิที่ซัดเข้าฝั่งไทยเมื่อปี 2547 ได้สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินอย่างมหาศาล และในความสูญเสียนั้นก็ยังมีปัญหาเรื่องการยึดครองที่ดินของนายทุนตามเข้ามาซ้ำเติมชาวบ้านอีกระลอกหนึ่ง ซึ่งสร้างผลกระทบแก่ชาวบ้านและชุมชนชาวพื้นเมืองทางภาคใต้อย่างรุนแรงไม่ต่างไปกว่าคลื่นยักษ์ แต่วิกฤตปัญหานี้ได้กลายเป็นโอกาสให้เกิดการริเริ่ม การจัดระบบชุมชน โดยการจัดระบบดังกล่าว เป็นการฟื้นฟูรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวพื้นเมืองทางภาคใต้และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิของตน รวมถึงสร้างจิตสำนึกแก่คนในสังคมให้มองชนพื้นเมืองอย่างเท่าเทียมและเข้าใจสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

การจัดระบบชุมชน และขบวนการทางสังคม

ยิ่งสังคมมีความเจริญก้าวหน้ามากเท่าไร ช่องว่างและความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนในสังคมยิ่งมีให้เห็นมากขึ้น ผู้คนเคยชินกับการแข่งขันและให้คุณค่ากับวัตถุมากกว่าเรื่องของจิตใจและคุณธรรม ชุมชนเก่าแก่ในประเทศไทยและในหลายประเทศต้องผจญกับการถูกไล่ที่เพื่อการพัฒนาเมือง ทั้งนี้เพราะมีเหตุปัจจัยมาจากระบบเสรีนิยมที่ให้คุณค่ากับการแข่งขันและการค้าอย่างเสรี การจัดระบบชุมชนและขบวนการทางสังคม ไม่เพียงแค่เข้ามาช่วยสร้างความเข้มแข็งให้แก่คนในชุมชนในการต่อสู้เพื่อสิทธิของตนเท่านั้น แต่ยังให้ความรู้และสร้างจิตสำนึกเรื่องความเท่าเทียมแก่กลุ่มคนอื่นๆ ในสังคม ซึ่งถือเป็นการช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคมและปรับสมดุลการครอบครองทรัพยากรในโลกได้จริง

ก่อการครู : ทัศนะ ดร.กันตพงศ์ คงหอม ครูแกนนำรุ่น 1

ดร.กันต์พงศ์ คงหอม ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสี่แยก ครูแกนนำในโครงการก่อการครู ครูบันดาลใจ จุดไฟการเรียนรู้ รุ่นที่หนึ่ง และ นายสมโชค อารยา ประธานเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนบ้านสี่แยก ได้ร่วมกันผลักดันและจุดประกายให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยให้ผู้ปกครองและคนในชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมในจุดที่ขาดหายไป เพื่อสร้างความสมดุลและให้เด็กในชุมชนได้มีโอกาสเข้าถึงการศึกษาที่ดีได้ รวมถึงได้นำหลักการระบบนิเวศเพื่อการเรียนรู้มาปรับใช้ในการพัฒนาโรงเรียน เพื่อทำให้โรงเรียนเป็นพื้นที่ปลอดภัยและเอื้อต่อการเรียนรู้

VIP เด็กเส้น โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

เสนอการแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ไม่ให้เกิดการใช้เส้นสาย เงิน ยศ เข้ามาช่วยในเรื่องการศึกษา ให้ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน และส่งผลให้เด็กไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

EXTRA - พิเศษ โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

เพราะการศึกษา มีไว้เพื่อลดการเหลื่อมล้ำ แต่การศึกษา ยังมีความเหลื่อมล้ำเสียเอง... หนังสั้น นำเสนอเกี่ยวกับปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทย โดยเสนอให้ใช้การศึกษาเป็นตัวขับเคลื่อน

สื่อรณรงค์เพื่อการปฎิรูปโครงสร้างการจัดสรรที่ดินในประเทศไทย โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept :  จากข่าวต่างๆ ตามทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ จะเห็นปัญหาการความเหลื่อมล้ำทางสังคม คุณภาพชีวิตของผู้คนยิ่งถี่ห่าง ความเหลื่อมล้ำก็มากขึ้นเท่านั้น ปัญหาการเอาเปรียบระหว่างคนชั้นสูงคนชั้นกลาง และคนชั้นล่างจึงเกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยอาศัยข้อได้เปรียบทางการเงิน ความรู้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างการจัดสรร “ที่ดิน” หรือ “ที่ทำกิน” เป็นปัญหาหนึ่งที่ถูกนำเสนอพูดถึงอยู่บ่อยๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักมีอายุอยู่ได้ไม่นาน…ไม่ใช่เพราะถูกแก้ แต่เหตุผลคือคนไทยขี้ลืม...การเลือกทำสื่อหัวข้อนี้เพราะไม่อยากให้ทุกคนแค่ ”รับรู้” ถึงปัญหา แต่อยากให้ “รู้สึก” ถึงหัวใจของคนที่ถูกกระทำ และพร้อมที่จะช่วยกันแก้ปัญหา 

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.