Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "การกลั่นแกล้ง" พบ 9 ข้อมูล

แนวปฏิบัติสําหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

ทุกวันนี้อาชญากรในโลกออนไลน์มีความพยายามเข้าถึงเหยื่อโดยใช้วิธีการที่หลากหลายมากขึ้น อาชญากรรมส่วนใหญ่เป็นการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กและการทารุณกรรม ซึ่งเด็กและเยาวชนเองก็สามารถเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตผ่านมือถือได้ตลอดเวลาและเยาวชนส่วนใหญ่ก็ยังขาดการชี้แนะในเรื่องการรู้เท่าทันภัยที่มากับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง แนวทางปฏิบัติสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับนี้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความรู้และเป็นแนวทางในการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกับสหวิชาชีพอื่นๆ รวมถึงแนวทางการทำงานร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียนและชุมชน เพื่อเฝ้าระวังคุ้มครองเด็กและแก้ไขปัญหาในลักษณะของการบูรณาการร่วมกัน

นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว

นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋วเพื่อนรักนอกจอ วันหนึ่ง..แม่มดจิ๋วพลาดตกจากไม้กวาดระหว่างที่ขี่ไม้กวาดบินมาหานางฟ้าน้อย แต่พอนางฟ้าน้อยเห็นเพื่อนตกไม้กวาดนอกจากจะไม่ช่วยแล้ว ยังกลับเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน นำรูปแม่มดจิ๋วหัวโนไปแชร์ลงในโลกโซเชียล… นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว หนังสือนิทานภาพสีสันสดใสและมีเนื้อหาที่สนุกน่าสนใจเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย ตัวนิทานแฝงไว้ด้วยข้อคิดเรื่องการบริหารเวลาการใช้สื่อดิจิทัล การรังแกกันในโลกออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อในโลกปัจจุบัน จึงเหมาะที่จะเป็นสะพานเชื่อมผู้ใหญ่และเด็กในการเรียนรู้เรื่องการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ไปด้วยกัน เรื่องราวของเพื่อนคู่หูนางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว เมื่อนางฟ้าน้อยได้เข้าร่วมกลุ่มโซเชียลมีเดียและเริ่มแชร์ภาพของแม่มดจิ๋ว ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เปลี่ยนไป นางฟ้าน้อยจะแก้ปัญหานี้อย่างไร และแม่มดจิ๋วจะให้อภัยนางฟ้าน้อยหรือไม่ ติดตามได้จากวีดีโอนิทานเรื่องเลย..

นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว

นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋วเพื่อนรักนอกจอ วันหนึ่ง..แม่มดจิ๋วพลาดตกจากไม้กวาดระหว่างที่ขี่ไม้กวาดบินมาหานางฟ้าน้อย แต่พอนางฟ้าน้อยเห็นเพื่อนตกไม้กวาดนอกจากจะไม่ช่วยแล้ว ยังกลับเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน นำรูปแม่มดจิ๋วหัวโนไปแชร์ลงในโลกโซเชียล… นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว หนังสือนิทานภาพสีสันสดใสและมีเนื้อหาที่สนุกน่าสนใจเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย ตัวนิทานแฝงไว้ด้วยข้อคิดเรื่องการบริหารเวลาการใช้สื่อดิจิทัล การรังแกกันในโลกออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อในโลกปัจจุบัน จึงเหมาะที่จะเป็นสะพานเชื่อมผู้ใหญ่และเด็กในการเรียนรู้เรื่องการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ไปด้วยกัน

การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying)

การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง  พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ

Cyberbullet โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ให้ความรู้เรื่อง cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งรังแกกันบนโลกไซเบอร์เพื่อให้ผู้คนรู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อ

อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560

ผลสรุปรายงานการศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่นปี 2560 แบบเข้าใจง่ายๆ ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชี้ว่าการรังแกกันบนโลกออนไลน์ ทั้งการจับกลุ่มนินทา การส่งรูปภาพไปก่อกวน การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างสวมรอย การลบหรือบล็อคผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล พบเยาวชนไทยอายุ 13-18 ปี  เกิน 2 ใน 3 เคยเป็นผู้กระทำและผู้ถูกเคย ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้เครียด กังวล หวาดกลัว และอับอาย  โดยทางแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยทั้งตัวเยาวชน ผู้ปกครอง พ่อแม่ ค่อยเป็นหูเป็นตา สอดส่องให้ใช้งานสื่อโซเซียลอย่างสร้างสรรค์

รายงานผลการศึกษา โครงการจัดทำคู่มือสิทธิเด็กกับแนวทางปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์

งานวิจัยที่ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา ผลกระทบประเด็นการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางจัดทำคู่มือการปกป้องสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากปัญหาที่คุกคามเด็กทางสื่อออนไลน์ มักมาในรูปแบบของการโฆษณาแฝง การกลั่นแกล้งกันทางอินเทอร์เน็ต การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยในยุคสังคม 4.0 ที่การสื่อสารทันสมัยด้วยระบบดิจิทัล พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถกันเด็กๆ ออกจากสื่อ Social Media ได้  ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการวิจัยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการริเริ่มโคงการจัดทำคู่มือหรือแนวทางการปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการดูแลเอาใจใส่ พูดคุย และทำความเข้าใจสื่อสารกับเด็ก ๆ ได้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน

MIDL : Cyberbullying

คลิปแอนิเมชั่นที่จะพาเราเข้าไปทำความรู้จักประเด็นการกลั่นแกล้งออนไลน์อย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความหมายของการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่หมายถึงการโพสต์หรือเผยข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เกลียดชัง ฯลฯ วิเคราะห์สาเหตุของการตั้งต้นเป็นผู้แกล้ง ผลกระทบที่มีต่อผู้ถูกรังแก ตั้งใจระดับเล็กน้อยไปจนถึงผลกระทบในชีวิตจริงที่รุนแรง และสุดท้ายไปหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่เราทุกคนช่วยกันได้ หากเรารู้เท่าทัน มีสติ และรู้จักเห็นอกเห็นใจกันและกัน เป็นพลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันสื่ออย่างแท้จริง

5 วิธีที่คุณครูจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก

การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียนครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น  โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ  เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียนนักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก  ขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ  หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียน ครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น  โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา  ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ  เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน  ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน นักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา ที่มา: https://www.theguardian.com/teacher-network/2018/jan/17/bullying-is-still-rife-in-schools-heres-how-teachers-can-tackle-it  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.