Mongi Day Challenge แคมเปญท้าขยับ กับมิชชันเพื่อสุขภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
จากพฤติกรรมของนักเรียนที่เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันใช้ไปกับเทคโนโลยี หรือสื่อ Social ต่างๆ จนเกิดเป็นพฤติกรรมเฉื่อยนิ่ง ไม่ค่อยออกไปทำกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกาย จึงคิดออกมาเป็นเกมบน Mobile website ที่ทำให้เด็กได้ทำกิจกรรมขยับร่างกาย หรือออกไปทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน เพื่อแลกกับของรางวัล
Art Room Art Learn Art เลย โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การนำเอาความรู้มาสร้างเป็นงานศิลปะให้มีความสนุกน่าสนใจมากขึ้น โดยเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
Art Room Art Learn Art เลย โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การนำเอาความรู้มาสร้างเป็นงานศิลปะให้มีความสนุกน่าสนใจมากขึ้น โดยเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : ต้องการให้เด็กในกลุ่มอายุ 8 – 12 ปี มาเล่นกับงานศิลปะที่เราสร้างขึ้น ทำให้เด็กต้องลงมือทำ ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ แล้วมันจะสะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่เด็กกำลังเล่นอยู่นี้คือ “ การเรียนรู้ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ”
ฆรู โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ในปัจจุบัน เราใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แต่การเรียนการสอนที่ดีและมีคุณภาพนั้น คือ การเรียนการสอนด้วย"ครู" ซึ่งเป็นผู้อบรมบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความหวังในอนาคต ดังนั้น พวกเราจึงใช้คำว่า "ฆรู"ซึ่งมีมาจากการรวมกันของคำว่า ฆูรู ที่แปลว่าครูในภาษามลายู กับคำว่าครู เพื่อสื่อถึงการสะกดคำที่ผิดเพี้ยนที่เป็นผลมาจากการศึกษาไทยที่ผิดพลาด วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : ต้องการนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจ และรู้สึกถึงปัญหา และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ในอนาคต
Save the City โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สร้างองค์ความรู้ให้กับเด็ก ได้เข้าใจข้อมูลง่ายๆของปัญหา โดยมีเนื้อหาที่ไม่มากเกินไป
น้ำ โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
เพื่อให้คนที่ดูVDOตัวนี้ ตั้งคำถามกับตัวเองเรื่องน้ำ และหาข้อมูลข้อเท็จจริง เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอยู่กับน้ำได้อย่างราบรื่น เพราะชาวนาจะพึ่งข่าวรัฐบาลไม่ได้ ต้องหาข้อมูลเพื่อรองรับภัยแล้งด้วย ชาวเกษตรกร หรือชาวเมืองเหมือนกัน คือตั้งคำถามและหาคำตอบให้กับตัวเอง
น้ำกำลังจะตาย โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“ น้ำกำลังตาย ” เพราะคนมองไม่เห็นคุณค่า และใช้น้ำอย่างสิ้นเปลือง เพราะไม่คิดว่าน้ำจะหมด , เหมือนมองน้ำเป็นของตาย ซึ่งของตายนั้นสามารถตายได้จริงด้วยน้ำมือของเรา , ลองตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ เดือนนี้คุณฆ่าน้ำไปเท่าไหร่ ” ( ค่าน้ำ = สิ่งที่ใช้ไป = ฆ่าน้ำอย่างอ้อมๆ )
UNC ปี 3 ความก้าวหน้าจาก Workshop 1
โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคมเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่Workshop ครั้งที่ 1 : เรียนรู้โจทย์สังคม-เติมทักษะการสร้างสรรค์สื่อวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 2559ณ. โรงแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร
UNC ปี 3 ความก้าวหน้าจาก Workshop 2
โครงการเครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคมเพื่อประเทศไทยที่น่าอยู่ การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 2 : การออกแบบสื่อและการสื่อสาร...ร่วมสร้างสรรค์ประเทศไทยให้น่าอยู่ วันที่ 27 มีนาคม 2559 ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(IM) PORTFOLIO พอร์ทโฟลิโอข้ามชาติ คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
นำเสนอเรื่องของแรงงานข้ามชาติและการอยู่ร่วมกันกับคนไทยโดยนำเสนอด้านดีของแรงงานข้ามชาติผ่านผลงานของพวกเขาทางSocial network ให้คนไทยได้เห็นเพื่อเป็นการปรับมุมมองคนไทยให้มองเห็นด้านดีของแรงงานข้ามชาติบ้าง
คู่มือการใช้ชีวิตของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มองเห็นปัญหาของการใช้ชีวิตของแรงงานข้ามชาติในเมืองไทย จึงได้จัดทำคู่มือเพื่อเป็นแนวทางในการช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่จะใช้ชีวิตในเมืองไทยได้อย่างมีความสุข อาทิเรื่องการแจ้งเหตุเมื่อประสบเหตุร้าย การเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล เป็นต้น