trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "digital" พบ 8 ข้อมูล

แนวปฏิบัติสําหรับผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์

แม้ว่าเยาวชนไทยในยุคปัจจุบันจะเติบโตขึ้นมาพร้อมเทคโนโลยีและมีความสามารถที่จะเรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะรู้วิธีรับมือกับภัยที่มากับเทคโนโลยี เช่น การกลั่นแกล้งรังแกกันในโลกออนไลน์ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ฯลฯ แนวปฏิบัติสำหรับผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์ ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพสหวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้องในกรณีภัยออนไลน์ต่อเด็ก เพื่อสร้างความตระหนักสาธารณะ เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ภัยและการป้องกันภัยออนไลน์ให้แก่สังคม

ทักษะการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy)

การเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล จัดเป็นประเด็นที่พลเมืองดิจิทัลควรให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่องอื่น การเรียนรู้มารยาททางอินเทอร์เน็ต (Digital Etiquette) และการเอาใจเขามาใส่ใจเราทางดิจิทัล (Digital Empathy) เป็นทักษะที่ช่วยให้เราใช้เทคโนโลยีอย่างมีจริยธรรม รู้จักการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้งานอื่นด้วยมารยาทอันดี รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยเข้าอกเข้าใจและเห็นอกเห็นใจผู้ที่มีความแตกต่างจากเรา ไม่เพิกเฉยเมื่อเห็นผู้อื่นได้รับการปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องในสังคม และมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สังคมให้ดีขึ้น อันเป็นคุณลักษณะของพลเมืองประชาธิปไตย 

ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence)

ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ: Digital Intelligence Quotient) คือ กลุ่มความสามารถทางสังคม อารมณ์ และการรับรู้ ที่จะทำให้คนคนหนึ่งสามารถเผชิญกับความท้าทายของชีวิตดิจิทัล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตดิจิทัลได้ ความฉลาดทางดิจิทัลครอบคลุมทั้งความรู้ ทักษะ ทัศนคติและค่านิยมที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตในฐานะสมาชิกของโลกออนไลน์ กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ทักษะการใช้สื่อและการเข้าสังคมในโลกออนไลน์

Digital Balance สร้างสมดุลชีวิตทางดิจิทัลในวัยเด็ก

รู้จักกับวิธีการสร้างสมดุลชีวิตทางดิจิทัลในกับเด็ก ๆ พร้อมชวนคิดต่อถึงบทบาทของพ่อแม่ ผู้ปกครอง ในการดูแลให้เขาสามารถใช้สื่อดิจิทัลได้อย่างไม่เป็นพิษกับวัยของเขา 

MIDL for Kids การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สำหรับเด็กปฐมวัย

หนังสือรวบรวมกรอบความคิดเรื่องของการจัดการความรู้เท่าทันสื่อสำหรับปฐมวัย ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ได้มองเห็นแนวทางในการดูแลเด็กระดับปฐมวัยในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ โดยเนื้อหารวบรวมค้นคว้ามาจากทั้งงานวิจัย เกร็ดความรู้ และความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้มองประเด็นนี้ได้อย่างรอบด้าน และนำไปประยุกต์สร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัยต่อไป

Digital Footprint

สื่อเพื่อทำความเข้าใจเรื่อง Digital Footprint อย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ กับคุณครูโอ-ปราศรัย เจตสันติ์ 1 ในคุณครูที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนรู้เท่าทันสื่อ MIDL ทั้งในมุมของผู้ใช้สื่อทั่วไป บทบาทของครู และสังคมในการช่วยกันดูแลสร้างความรู้เท่าทันสื่อให้เกิดขึ้นในพลเมือง

Digital Footprint ในมุมมองของครูโอ ปราศรัย เจตสันติ์

สังคมในยุคดิจิทัล มีความรวดเร็วในการรับรู้ข่าวสาร แสดงความคิดเห็น และสร้างสื่อนำเสนอบนโลกออนไลน์อย่างมาก ทำให้ผลกระทบของ DF ไม่ได้เพียงกระทบแค่ในวงจำกัดเท่านั้น แต่ยังสามารถแชร์ข้อมูลไปสู่สังคมได้ง่าย สังคมที่มีความระมัดระวังในการใช้สื่อดิจิทัล จะตระหนักเสมอว่า เมื่อใดที่มีการสร้างสื่อ หรือโพสต์ข้อความใดๆ เป็นการนำเสนอความคิดสู่สาธารณะ ย่อมหมายถึงผลกระทบที่จะตามมาต่อสังคมและผู้คน

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.