trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "cyber" พบ 36 ข้อมูล

เพราะทุกคนต่างเป็นคนเหมือนกัน Stop cyberbullying

คลิปวิดีโอเตือนใจการกลั่นแกล้งกันในโลกออนไลน์ เพราะทุกคนต่างเป็นคนเหมือนกัน ไม่ว่าจะเพศ หญิง ชาย หรือ บุคคลที่มีอัตลักษณ์วิถีทางเพศที่แตกต่างออกไป ล้วนมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์เหมือนกันทั้งสิ้น การแซว การหยอกล้อเรื่องอัตลักษณ์ทางเพศ ด้วยความขบขัน ด้วยความคึกคะนอง ย่อมส่งผลกระทบในแง่ลบต่อจิตใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เพราะเป็นการถูกลดทอนคุณค่าความเป็นคน ที่อาจนำไปสู่ภาวะโรคซึมเศร้าและผลเสียต่อจิตใจในด้านอื่นๆ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเกลียดชังและความเหลื่อมล้ำทางเพศในสังคม การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

CyberBully

“อย่างให้ความสนุกของเราไปทำร้ายใคร” คลิปวิดีโออินโฟกราฟฟิค CyberBully ที่ช่วยเตือนสติ เรื่องการกลั่นแกล้งรังแกกันบนโลกออนไลน์ ซึ่งมีให้เห็นอยู่บ่อยครั้งและเกิดขึ้นกับทุกแวดวงสังคม จากการนำปมด้อยและข้อผิดพลาดของผู้อื่นมาเผยแพร่และล้อเลียนด้วยความขบขัน เพียงเพื่อสร้างสีสันและเสียงหัวเราะบนโซเชียลมีเดีย โดยไม่ได้คำนึงว่าความสนุกดังกล่าวจะเป็นการสร้างความอับอายและผลกระทบด้านลบที่จะเกิดขึ้นต่อจิตใจของผู้ที่ถูกรังแก

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2563

แม้ว่ายุคปัจจุบันเยาวชนไทยเติบโตขึ้นมากับการใช้อินเทอร์เน็ตและมีอิสระในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ค่อนข้างมาก อีกทั้งสื่อออนไลน์ยังเป็นตัวกลางในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและด้วยความคุ้นชินกับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างอิสระนี้ อาจทำให้หลงลืมเรื่องภัยที่มากับโลกออนไลน์ คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ชุดนี้ มีเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวทางป้องกันภัยออนไลน์ในรูปแบบต่างๆและผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทย ที่สุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ สำรวจป้องกันและช่วยเหลือเด็กจากภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง

Child Online  Protection Guideline 1.0 หรือ แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรระแวดระวังทั้งเรื่องสื่อลามกอนาจารออนไลน์ , การพนันออนไลน์ , ภัยจากเกมออนไลน์ , การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyber Bullying ซึ่งนอกจากเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันแล้ว คู่มือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแล และคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสื่อออนไลน์ และเสริมสร้างความรู้เท่าทันทางสื่อออนไลน์ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562

ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์  พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83%  ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน  และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์”  จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย    

การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity)

โลกดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น วิธีการติดต่อกับเพื่อนและคนรู้จัก การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า และการรับชมสันทนาการความบันเทิงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโลกไซเบอร์ซึ่งรวมถึง อินเทอร์เน็ต เครือค่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น และอื่นๆ ยังมีภัยคุกคามที่แฝงมากับความสะดวกสบายและความบันเทิงเหล่านี้ด้วย

การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying)

การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง  พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ

Cyberbullet โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ให้ความรู้เรื่อง cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งรังแกกันบนโลกไซเบอร์เพื่อให้ผู้คนรู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อ

Cyberbullying คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต

ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ cyberbullying หรือ ความรุนแรงในโลกโซเชี่ยล พร้อมวิธีป้องกันตนเอง  

เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน การเดินทางจาก Hate Speech สู่ Cyberbullying

ใครเลยจะรู้ว่าการพูดหรือแสดงความคิดเห็นที่เต็มไปด้วยอคติ ความเกลียดชัง และความต้องการกีดกันบางกลุ่มคนออกไปจากสังคมนั้น สร้างผลกระทบทางจิตใจให้กลุ่มคนที่เป้าหมายมากน้อยแค่ไหน และในโลกยุคดิจิทัล online platform สามารถกระจายความเกลียดชังออกไปสู่วงกว้างในหลากหลายรูปแบบ และนำไปสู่ cyberbullying (การรังแกบนโลกออนไลน์) ที่เป็นจุดจบของชีวิตใครหลาย ๆ คนที่ตกเป็นเหยื่อ อะไรบ้างที่มักถูกหยิบมาสร้างความเกลียดชัง? พฤติกรรมใดบ้างที่เข้าข่าย Hate Speech? และจะจัดการกับ Hate Speech ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.