สร้างสรรค์เฟร่อ โดย คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
Creative by doing คือ ความคิดที่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆที่ยังมี หรือคนอื่นคาดไม่ถึงเพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาในสังคม โดยการลงมือทำเพื่อให้เกิดผลสูงสุด เพราะถ้ามีแค่แนวคิดอย่างเดียวไม่ทำ มันจะไม่เกิดผลอะไร วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : เพื่อดึงดูด หรือกระตุ้นให้วัยรุ่นตระหนัก และสนใจความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ และลงมือทำ เพื่อที่จะพัฒนาความสามารถนี้ต่อไป เพื่อที่จะเอาไปสร้างสรรค์ พัฒนา และแก้ไขปัญหาในสังคมในอนาคตต่อไป
Who am I ใครคือฉัน โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
แคมเปญเพื่อสังคมสำหรับเด็กที่ต้องการค้นหาตัวเองในอาชีพที่อยากเป็น ผ่านการบอกเล่าแรงบันดาลใจดีๆ จากทุกอาชีพในสังคม คาดหวังให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นเด็กมัธยม ได้มีข้อมูล ภาพของอาชีพและโลกของการทำงานที่ครบถ้วน และชัดเจนเพียงพอ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกประกอบอาชีพที่เหมาะสมกับตนเอง
น้ำ ป่า สัตว์ คน โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การออกแบบสื่อ เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการเขื่อนแม่วงก์ โดยแสดงผลที่จะเกิดขึ้น ต่อกันเป็นลำดับ จากการสร้าง และไม่สร้างเขื่อนควบคู่กันไปในประเด็นเดียวกัน สำหรับคนที่ไม่มีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการมาก่อน เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงข้อมูลที่ง่ายและเข้าใจได้มากขึ้น
รายการ เสือเล่าเช้านี้ โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
TV Scoop โดยมีเสือและกวาง เป็นนักรายงานข่าว ในรายการพูดถึงความรู้ในเรื่องของป่าตะวันตก ระบบนิเวศน์ คือน้ำ 1 แก้ว สามารถทำอะไรได้ยิ่งใหญ่กว่าที่คิด และภัยพิบัติที่เกิดจากการทำลายป่า รุกรานสัตว์ป่า รายการมีความสนุกสนาน แต่มีคำพูดและบางช่วงที่เป็นตลกเสียดสี สาเหตุที่ทำในเชิงสนุกสนาน เสียดสี เพราะว่า ข้อมูลของเรื่องนี้มันเยอะมากๆ จึงทำให้ต้องใช้ความสนุกเข้ามาเล่าเรื่อง เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกของความรักป่า เสริมสร้างความรู้ให้กับคนเมืองว่าเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องไกลตัว มัน สามารถเกิดผลกระทบต่อตัวพวกเขาได้ และให้ทุกคนมีความตระหนักต่อป่า สัตว์ป่า และธรรมชาติมากขึ้น
For Rest s Life - Stop Motion ป่าแม่วงก์ โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ต้องการให้ประชาชนได้รับชุดข้อมูลที่ถูกต้อง เรื่องการจัดการน้ำและสร้างเขื่อน ตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าตะวันตก เข้าใจ และเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดกระแสที่ช่วยผลักดันให้อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กลายเป็นมรดกโลกในอนาคต ตัดวงจรการสร้างเขื่อน
For Rest s Life - Stop Motionโดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ให้ประชาชนได้รับชุดข้อมูลที่ถูกต้อง เรื่องการจัดการน้ำและสร้างเขื่อน ตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าตะวันตก เข้าใจ และเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดกระแสที่ช่วยผลักดันให้อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กลายเป็นมรดกโลกในอนาคต ตัดวงจรการสร้างเขื่อน
For Rest s Life โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
ให้ประชาชนได้รับชุดข้อมูลที่ถูกต้อง เรื่องการจัดการน้ำและสร้างเขื่อน ตระหนักถึงความสำคัญของผืนป่าตะวันตก เข้าใจ และเห็นความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อให้เกิดกระแสที่ช่วยผลักดันให้อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ กลายเป็นมรดกโลกในอนาคต ตัดวงจรการสร้างเขื่อน
Mongi Day Challenge แคมเปญท้าขยับ กับมิชชันเพื่อสุขภาพ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
จากพฤติกรรมของนักเรียนที่เวลาส่วนใหญ่ในแต่ละวันใช้ไปกับเทคโนโลยี หรือสื่อ Social ต่างๆ จนเกิดเป็นพฤติกรรมเฉื่อยนิ่ง ไม่ค่อยออกไปทำกิจกรรมที่ได้ขยับร่างกาย จึงคิดออกมาเป็นเกมบน Mobile website ที่ทำให้เด็กได้ทำกิจกรรมขยับร่างกาย หรือออกไปทำกิจกรรมต่างๆในแต่ละวัน เพื่อแลกกับของรางวัล
Art Room Art Learn Art เลย โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การนำเอาความรู้มาสร้างเป็นงานศิลปะให้มีความสนุกน่าสนใจมากขึ้น โดยเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
Art Room Art Learn Art เลย โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
การนำเอาความรู้มาสร้างเป็นงานศิลปะให้มีความสนุกน่าสนใจมากขึ้น โดยเน้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้จากการลงมือทำ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : ต้องการให้เด็กในกลุ่มอายุ 8 – 12 ปี มาเล่นกับงานศิลปะที่เราสร้างขึ้น ทำให้เด็กต้องลงมือทำ ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ แล้วมันจะสะท้อนให้เห็นว่าสิ่งที่เด็กกำลังเล่นอยู่นี้คือ “ การเรียนรู้ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง ”
ฆรู โดย คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ในปัจจุบัน เราใช้เทคโนโลยีในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แต่การเรียนการสอนที่ดีและมีคุณภาพนั้น คือ การเรียนการสอนด้วย"ครู" ซึ่งเป็นผู้อบรมบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งความหวังในอนาคต ดังนั้น พวกเราจึงใช้คำว่า "ฆรู"ซึ่งมีมาจากการรวมกันของคำว่า ฆูรู ที่แปลว่าครูในภาษามลายู กับคำว่าครู เพื่อสื่อถึงการสะกดคำที่ผิดเพี้ยนที่เป็นผลมาจากการศึกษาไทยที่ผิดพลาด วัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : ต้องการนำเสนอปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในสังคม เพื่อสร้างการรับรู้ เข้าใจ และรู้สึกถึงปัญหา และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ในอนาคต
Save the City โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
สร้างองค์ความรู้ให้กับเด็ก ได้เข้าใจข้อมูลง่ายๆของปัญหา โดยมีเนื้อหาที่ไม่มากเกินไป