Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "MIDL" พบ 32 ข้อมูล

พลเมืองเท่าทันสื่อ ต้องมี MIDL

เมื่อพูดถึงสื่อ ยุคนี้ไม่จำกัดแค่สื่อเดิมอย่าง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แต่ยังมีสื่อออนไลน์ ที่นับวันจะมีรูปแบบแปลกใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคของสื่อหลอมรวม คุณพ่อคุณแม่จำต้องเรียนรู้เรื่องนี้ให้ทัน เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตา สอดส่อง รวมถึงช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สื่อในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างเท่าทันอีกด้วย

เรามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

หนังสือสรุปผลงานวิจัย 3 เรื่อง เพื่อการส่งเสริม ปกป้อง และคุ้มครองเด็กและเยาวชนในสื่อยุคดิจิทัล ในรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจง่าย ประกอบไปด้วย 1. งานวิจัยประเด็นข้อเสนอนโยบายของหน่วยงานรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคมต่อประเด็นการแข่งขันอีสปอร์ตในประเทศไทย 2. งานวิจัยประเด็นการขับเคลื่อนการรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กเยาวชนในต่างประเทศและแนวทางสำหรับประเทศไทย และ 3. งานวิจัยประเด็นการนำเสนอข่าวที่เกี่ยวข้องกับสิทธิเด็กผ่านสื่อเฟซบุ๊กของสำนักข่าวออนไลน์ เพื่อให้พ่อแม่ผู้ปกครองและผู้ที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชนตระหนักและรู้เท่าทันสื่อในโลกยุคดิจิทัลอย่างทันท่วงที

MIDL for Kids การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สำหรับเด็กปฐมวัย

หนังสือรวบรวมกรอบความคิดเรื่องของการจัดการความรู้เท่าทันสื่อสำหรับปฐมวัย ทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้คุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง ผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ได้มองเห็นแนวทางในการดูแลเด็กระดับปฐมวัยในประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ โดยเนื้อหารวบรวมค้นคว้ามาจากทั้งงานวิจัย เกร็ดความรู้ และความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้มองประเด็นนี้ได้อย่างรอบด้าน และนำไปประยุกต์สร้างการเรียนรู้ที่เหมาะสมให้กับเด็กปฐมวัยต่อไป

MIDL กับพลเมืองประชาธิปไตย

คลิปอินโฟกราฟิกนำเสนอข้อมูลประเภทหรือกลุ่มของพลเมืองที่มีทักษะในการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลในระดับที่แตกต่างกันให้เข้าใจได้อย่างง่าย ๆ โดยในสังคมประชาธิปไตย เราแบ่งกลุ่มพลเมืองในการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล  ออกเป็น 3 ระดับ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ ที่คิด วิเคราะห์ และประเมินคุณค่าของสื่อได้อย่างดี สามารถนำไปปรับใช้เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ถัดมาคือ พลเมืองที่มีส่วนร่วม ซึ่งนอกจากมีความเข้าใจสื่ออย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังพัฒนาและผลิตเนื้อหา ข่าวสารให้เกิดประโชยน์ต่อชุมชน สังคมอย่างมีความรับผิดชอบและมีจริยธรรม สุดท้ายคือพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมของสังคม มีการใช้สื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม อย่างมีเสรีภาพ เน้นการผลักดันเชิงนโยบาย กฎหมาย สร้างวัฒนธรรมของสื่อที่ดีและมีคุณภาพ

MIDL คืออะไร

เรียนรู้ความหมายของการเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจจิทัลในศตรรษที่ 21 ผ่านคลิปอินโฟกราฟิกที่เข้าใจง่าย จากสถานการณ์การสื่อสารแบบไร้พรมแดนในโลกที่มากขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึงสื่อได้หลายหลากยิ่งขึ้นผ่านสื่อดิจิทัล หรือ สมาร์ทโฟน โลกของความจริงได้หลอมรวมให้คนเราเข้าสู่โลกเสมือนจริงด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัยและรวดเร็ว คนเราเป็นได้ทั้งผู้เสพสื่อและผู้ผลิตสื่อในคราวเดียวกัน ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและสื่อดิจิทัล ที่เรียกว่า Media Information and Digital Literacy (MIDL) โดยรัฐต้องเปิดพื้นที่ให้ประชาชนเข้าถึงสื่ออย่างเท่าเทียมกัน ในขณะเดียวกันประชาชนต้องมีรอบรู้ในการคิด วิเคราะห์สื่ออย่างชาญฉลาด  ไม่หลงเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์  รวมทั้งมีการเสพและผลิตสื่ออย่างสร้างสรรค์

เท่าทันสื่อ อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล

หนังสือเรื่อง “เท่าทันสื่อ อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล” เป็นการเรียบเรียงมุมมอง แนวคิดและข้อเสนอของกลุ่มคนที่เห็นว่า ยุคเทคโนโลยีดิจิทัลเปิดช่องทางการสื่อสารที่หลากหลายให้กับประชาชน ซึ่งการรู้เท่าทันสื่อฯ เป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างพลังจาก “ผู้ใช้เน็ต” สู่การเป็น “พลเมือง” ที่มีอำนาจในการสร้างสรรค์และเปลี่ยนแปลง

Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น

สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย

MIDL : DQ for Citizenship

การสร้างความฉลาดในยุคนี้ ไม่ใช่มีแค่ IQ หรือ EQ อีกต่อไป แต่พลเมืองในยุคสื่อสารออนไลน์หรือยุคดิจิทัลนี้ จำเป็นต้องมีความฉลาดอีก 1 ตัว นั่นคือ DQ หรือ Digital Intelligence ซึ่งประกอบด้วย 8 คุณลักษณะสำคัญที่ได้รับการกำหนดและยอมรับในระดับสากล ทั้ง 8 คุณลักษณะของ DQ นี้ นอกจากจะทำให้ตัวเราปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังจะทำให้เราไม่ไปละเมิดสิทธิ์ หรือทำร้ายคนอื่นในโลกออนไลน์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพื่อให้เกิดสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพ    

MIDL : Online Hate Speech

  เราทุกคนรู้ดีว่าเรามีสิทธิเสรีภาพในการพูดอะไรก็ได้หรือที่เรียกว่า Free Speech แต่ในสิทธิเสรีภาพที่เรามี เราก็ต้องรับผิดชอบในผลที่ตามมาจากคำพูดของเราด้วย โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ การมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทำให้บางครั้งเราอาจเผลอไผลใช้คำพูดของเราทำร้าย แบ่งแยกความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา เชื้อชาติ สีผิว เพศสภาพ ฯลฯ จนลุกลามกลายเป็นการแบ่งพวกแบ่งฝ่าย ผลิตซ้ำความเกลียดชัง สร้างผลร้ายลุกลามไปทั่วทั้งโลกออนไลน์และสังคมในความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้คือ Hate Speech ในโลกออนไลน์ การติดอาวุธรู้เท่าทันสื่อ ไม่สร้าง Hate Speech เรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งในโลกจริงหรือโลกออนไลน์ คือหน้าที่พลเมืองที่มีคุณภาพและก่อให้เกิดสังคมที่มีคุณภาพต่อไป

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.