trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "FakeNews" พบ 11 ข้อมูล

ข่าวปลอม สร้างมาป่วน ปอกลอก ปลุกปั่นอันตราย stop fake news

ในปัจจุบันคนทั้งโลกกำลังประสบกับวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบและสร้างความวิตกกังวลให้กับคนในสังคมทั่วโลก ตั้งแต่เรื่องสุขภาพ การงาน ไปจนถึงภาวะเศษฐกิจในปัจจุบัน ในแต่ละวันเราจะเห็นรายงานข่าวการเสียชีวิตของคนทั่วโลกที่ล้มตายกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีข่าวปลอมที่สร้างมาป่วน ปอกลอก ชวนเชื่อ สร้างกระแสและปลุกปั่นอันตรายที่แฝงมากับโลกอินเตอร์เนต การรู้เท่าทันข่าวสาร ใช้วิจารณญาณในการบริโภคสื่อ คือสิ่งที่เราทำได้ เพื่อให้ตัวเราปลอดภัยทั้งจากโรคระบาดและไม่ตกเป็นเหยื่อข่าวปลอมเหล่านี้ การ์ตูนแอนิเมชัน โครงการขับเคลื่อนงานคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

เทคนิครับมือข่าวร้ายและข่าวลวง

วิธีรับมือข่าวลวง (Fake News) และข่าวร้าย (Bad News) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ที่เราถูกห้อมล้อมด้วยข่าวมากมาย สื่อภาพอินโฟกราฟิกนี้ รวบรวมเทคนิคการตรวจสอบข่าวและข้อมูลให้ชัวร์ก่อนแชร์ และเทคนิคการรับมือข่าวร้ายๆ ด้วยสุขภาวะทางปัญญา ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์และร้อนรนไปกับข่าวสารที่ได้รับ

10 ประเภทของ Fake News

ในยุคการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์หรือสื่อดิจิทัล ข่าวสารมีอยู่มากมายการไล่ทะลักของข่าวจำนวนมาก ย่อมแฝงมาด้วยข่าวลวง  (Fake news) โดยเราพอจะจำแนกข่าวลวงได้ 10 ประเภท คือ ข่าวพาดหัวยั่วให้คลิก, โฆษณาชวนเชื่อ, ข่าวแฝงการโฆษณา จะมีการ Tie In โฆษณาในเนื้อข่าว, ข่าวล้อเลียนและเสียดสี, ข่าวที่ผิดพลาด, ข่าวเอนเอียงเลือกข้าง, ทฤษฎีสมคบคิด, ข่าววิทยาศาสตร์ลวงโลก ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวเกี่ยวกับสุขภาพ, ข่าวลือ และสุดท้ายข่าวหลอกลวง เป็นการแอบอ้างหรือปลอมเป็นแหล่งข่าวนั้นเสียเอง

ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอม (Fake News)

ทำไมคนถึงหลงเชื่อข่าวปลอมได้ง่าย เพราะว่าข่าวปลอมเป็นข่าวที่เล่นกับความรู้สึกของคน  เมื่อคนอ่านแล้วก็ตกหลุมพราง เกิดเป็นกลไกการเชื่อตาม ๆ กันในคนหมู่มาก และที่สำคัญผู้อ่านข่าวไม่มีความละเอียด เน้นการอ่านข่าวเร็ว จึงไม่ได้คิดวิเคราะห์แยกแยะข้อเท็จจริงของข่าวบนหน้าเว็บนั้น ๆ

สร้างทักษะ รู้เท่าทันข่าว (News Literacy) เพื่อรับมือกับข่าวปลอม

การเสพข่าวในปัจจุบันต้องมีการคิด วิเคราะห์ และแยกแยะให้ถี่ถ้วนระหว่างข่าวจริง และข่าวปลอม โดยเราควรสร้างทักษะในการรับมือข่าวปลอม ด้วยการตรวจสอบวันเวลาของข่าวที่เผยแพร่ ตรวจสอบแหล่งข่าวว่าน่าเชื่อถือไหม  สังเกตสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ในข่าว ทั้งภาษาที่ใช้ รูปภาพประกอบมีการตัดแปลงต่อเติมหรือไม่ ผู้เขียนเป็นใคร ข่าวนี้มาจากสำนักข่าวอะไร เชื่อถือได้หรือไม่

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 5 กลุ่มแชท แหล่งเพาะพันธุ์ข่าวปลอม

การแพร่ระบาดของข่าวปลอมบางครั้งมีความรวดเร็วและกระจายไปในวงกว้างมากกว่าข่าวจริงเสียอีก  โดยเฉพาะในกลุ่มการสื่อสารแบบปิด หรือ กลุ่มแชททางสื่อออนไลน์ อย่าง Line Group  ที่พอคนหนึ่งแชร์เข้ามา ทุกคนก็จะเชื่อว่าเป็นความจริงเป็นทุนเดิม  เพราะเป็นกลุ่มญาติ และเพื่อนกัน จึงเกิดการแชร์ต่อ  หรือบางครั้งหลงเชื่อทำให้เกิดความเสียหายต่อสุขภาพและทรัพย์สิน ดังนั้นเมื่อได้รับข่าวข้อมูลใด ๆ ควรเช็คดูข้อเท็จจริงจากแหล่งอ้างอิงก่อน และดูว่าแหล่งข่าวมีความน่าเชื่อถือหรือไม่

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 3 แม้จะมาเป็นภาพ แต่ก็ยังเชื่อไม่ได้

ข่าวปลอม และข่าวลวง (Fake News)  ไม่ได้มาเพียงแค่เนื้อหาเท่านั้น เรื่องของรูปภาพก็เป็นอีกสิ่งที่ผู้ติดตามข่าวทางสื่อออนไลน์ต้องระวัง  เพราะด้วยเทคนิคการแต่งภาพด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ อีกทั้งแอพพลิเคชั่นในมือถือก็ทำให้ภาพที่เราเห็นตามโพสต์ต่าง ๆ มีการปลอมแปลงได้ 

รู้เท่าทันข่าว : ตอนที่ 2 เรื่องจริงเกี่ยวกับข่าวปลอม และการรู้เท่าทัน

ในและวันที่เราเข้าสื่อออนไลน์เราต้องระมัดระวังในการเสพสื่อ  เพราะวันนี้มีการสร้างข่าวลวงหรือข่าวปลอม(Fake News) มาโพสต์มากมาย การหลงเชื่อข่าวปลอมเป็นภัยต่อสุขภาพและทรัพย์สินได้  ดังนั้นเวลาเราอ่านข่าวหรือข้อมูลใด ๆ ต้องมีการเช็คข่าวนั้นก่อนเสมอ ว่าข่าวนั้นแจ้งที่มาของแหล่งข่าวไหม  มีการแจ้งแหล่งอ้างอิงทางวิชาการไหม  และดีที่สุดควรมีการเช็คข้อมูลเทียบเคียงในข่าวเดียวกันจากเว็บไซต์อื่น ๆ ประกอบด้วย                            

รู้เท่าทันหรือยัง

พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารในปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก เนื่องจากมีช่องทางสื่อสารมากมาย แม้ว่าจะทำให้ได้รับข่าวสารได้รวดเร็ว แต่อาจขาดการกลั่นกรองความถูกต้อง และส่งต่อกันไปอย่างกว้างขวาง และเป็นช่องทางให้กับผู้ไม่หวังดีสร้างข่าวปลอมมาปะปนให้คนหลงเชื่อ เรามาดูกันซิว่า ข่าวปลอมคืออะไร และมีลักษณะแบบไหน เพื่อที่เราจะได้รู้เท่าทันข่าวปลอม ก่อนตัดสินใจเชื่อข้อมูลต่าง ๆ ที่ถูกเผยแพร่ในโลกออนไลน์

รายงานสรุปการถอดบทเรียนเวที International Conference on Fake News

E-book สรุปการถอดบทเรียนจากเวที International Conference on Fake News ซึ่งเป็นงานที่จัดขึ้นโดยกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาข่าวลวงข่าวปลอม โดยได้รวบรวมสรุปสาระสำคัญของการประชุมจากวิทยากรทั้งไทยและต่างประเทศจำนวนกว่า 25 ท่านไว้ในหนังสือเล่มนี้อย่างครบถ้วน เพื่อเป็นการให้ความรู้และเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพของพลเมืองและสังคมในการรับมือกับปัญหาข่าวลวงที่ขณะนี้ก้าวสู่ปัญหาระดับโลก 

รู้เท่าทันข่าว (News Literacy)

ในยุคของการสื่อสารแบบหลอมรวม ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคข่าวสารของผู้คนเปลี่ยนไป คนใช้สื่อออนไลน์หรือสื่อโซเชียลมีเดียในการสื่อสารกันมากขึ้น ทั้งเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ หรือ ไลน์  และเรามิได้เป็นเพียงผู้อ่านหรือรับชมสื่อเท่านั้น ในคน ๆ หนึ่งเป็นได้ทั้งผู้ผลิตและผู้รับสารในคร่าวเดียวกัน เราเน้นการแชร์ การส่งต่อ และการกระจายข่าวออกแบบรวดเร็ว ขาดการตรวจสอบ จึงทำให้เกิดปัญหาข่าวลวง ข่าวปลอมเกิดขึ้นมากมาย ด้วยรูปแบบการสื่อสารในสังคมยุคนี้ เราทุกคนจึงกลายเป็น “พลเมืองดิจิทัล” ที่ต้องเรียนรู้และมีทักษะในการรู้เท่าทันข่าว หรือ News Literacy  คือ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ และเลือกใช้ข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์    

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.