trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "8เส้นทางสู่ความสุข" พบ 24 ข้อมูล

จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด

“...ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญ และเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” นี่คือความรู้สึกของ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้บุกเบิกการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม ชื่อว่า “เถื่อนเกม” เครื่องมือที่นำมาเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการทำงานระหว่างความรู้และความรู้สึก เน้นการเรียนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ให้ผู้เรียนรู้เพียงสิ่งที่ผู้สอนรู้เท่านั้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา

ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล  หรือ อาจารย์แบต  อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่สนใจการสอนเรื่องการพัฒนาตนเอง และเชื่อมั่นว่าความมั่นคงของชีวิตเราสร้างได้จากภายในตัวเอง เพราะแก่นแท้ของการพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราต้องก้าวให้พ้นตัวตนของเรา เราสามารถ “สุข” ได้ สุขแบบไม่ได้ร่าเริงสุดโต่ง แต่สุขใจได้แม้ในยามปกติ  นั่นคือความสุขทางจิตตปัญญา ที่เกิดจากการเดินทางสายกลาง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ

ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ  หรือ “มิสเตอร์ภัยพิบัติ” อาจารย์ดีกรีวิศวกรคอมพิวเตอร์ฯ จากเมืองนอก  ผู้ซึ่งอุทิศตนตัดสินใจเดินทางกลับมาเมืองไทย นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเรื่องระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการจัดการภัยพิบัติ ด้วยเชื่อมั่นว่าถ้าสื่อสารทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรื่องการป้องกันภัยพิบัติได้ดีแล้ว ชาวบ้านก็จะเตรียมการจัดการ และรับมือกับภัยพิบัติให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด  นอกจากนำสื่อออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่องภัยพิบัติผ่านทางเว็บไซต์ “ภัยพิบัติดอทคอม” และทวิตเตอร์ แอคเค้าท์ “ภัยพิบัติ” แล้ว อาจารย์ยังมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างวิศวกรคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ที่จะมาช่วยให้เมืองไทยให้ปลอดภัยและมีความสุข ภายใต้แนวคิด “ หนึ่ง ดร. หนึ่ง อำเภอ” อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

I SEE U จิตอาสาข้างเตียง

อรุณชัย นิติสุพรรัตน์ หรือคุณชัย ผู้ก่อตั้งกลุ่ม I SEE U Contemplative Care อาสาข้างเตียง มาตั้งแต่ปี 2557 เพื่อให้กำลังใจด้วยการรับฟัง และสัมผัสผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยหัวใจมากกว่าคำพูดว่า “สู้ๆ นะ”  โดยคุณชัยนำประสบการณ์ที่ดูแลคุณพ่อในระยะสุดท้ายมาเป็นแนวทางในการอบรมอาสาข้างเตียง ว่า “...การดูแลพ่อแม่ที่ดีที่สุดคือ การทำในสิ่งที่เขาอยากได้ การที่ใจเราจะไม่ทุกข์ไปกับอาการที่แย่ลงของคนที่เราดูแล มันคือความสุขท่ามกลางความเสื่อมถอยลงไปจนทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี...” การทำงานอาสาที่อยู่ใกล้ชิดกับความตาย ทำให้เราเรียนรู้ถึงลมหายใจที่ยังอยู่อย่างรู้ค่า และพร้อมที่จะตั้งใจทำให้ทุกวันดีที่สุด อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

สายใยรักกลางชุมชนแออัด

ชุมชนแออัด อาจเป็นแหล่งมือบอดที่สังคมส่วนใหญ่มองข้าม ทว่า รัศมี ทอนทอง- ป้าหมี  และติ๋ม ชูแก้ว-ป้าติ๋ม  คือผู้มอบแสงสว่างให้กับชุมชนแห่งนี้ ด้วยความรักและการเอาใจใส่เสมือนแม่คนที่สองของเด็ก ๆ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ทุกวันนี้ป้าหมี และป้าติ๋ม ทำงานจิตอาสา เพื่อดูแลเด็กในชุมชนวัดดวงแข ข้างสถานีรถไฟหัวลำโพง ให้ก้าวพ้นวัฏจักรของเด็กสลัมที่ท้ายสุดก็หนีไม่พ้นเรื่องยาเสพติด  ให้กลายเป็นเด็กที่มีอนาคต และสามารถไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

เสกโรคซึมเศร้าให้เป็นรอยยิ้มด้วยกิจกรรมมนตร์อาสา

“มนตร์อาสา”  คือกลุ่มกิจกรรมจิตอาสา  ที่คุณเน หรือทิพย์ชยพล ปารีณาพัฒน์นรี ตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการบำบัดความซึมเศร้าของตนเอง ในขณะเดียวกันก็อยากจะชวนเพื่อนมาร่วมกันเสกเวทมนตร์การบำบัดนี้เพื่อลดทอนความซึมเศร้าและภาวะเครียดในสังคมด้วยการลุกขึ้นมามีความสุขมากขึ้นโดยไม่ต้องคิดหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเอง ด้วยกิจกรรมไปล้างกรงเสือ กรงหมี ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า รวมทั้งยังมี “กิจกรรมหินน้อยค่อยเจรจา”  โดยในวงกิจกรรมมีหินอยู่ 1 ก้อน  หินไปอยู่ที่ใครคนนั้นจึงมีพื้นที่ในการพูดและการเจรจา  เพื่อผ่อนคลายความเครียดในใจให้เพื่อนได้รับฟัง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ลมหายใจแห่งความสุข ณ ต้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลง

ทุกชีวิตต้องการความสุข แต่กลับลืมไปว่าว่าสุขมาแล้วก็ไป  พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี เจ้าอาวาสวัดถ้ำดอยโดน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ อธิบายความสุขออกเป็น 2 แบบ คือ ความสุขจากภายนอกและความสุขจากภายใน ทุกวันนี้ที่คนเราเป็นทุกข์มากมาย เพราะไปยึดติดกับความสุขจากภายนอก สุขจากความสัมพันธ์ พอสุขเปลี่ยนไปก็เกิดทุกข์ การยอมรับความจริงแห่งความเปลี่ยนแปลง มีวัคซีนบอกตัวเองว่าความสัมพันธ์มันเปลี่ยนแปลงได้ เราก็จะทุกข์น้อยลง จงใช้ “ปัญญา” ในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง แล้วเราจะมีความสุขมากขึ้นจากภายในของเราเอง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

มาตาภาวนา ธรรมะพักใจผู้หญิงเมืองกรุง

“มาตาภาวนา”  เป็นการปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิงเมืองกรุง โดยเฉพาะเพราะสถานที่ในการเข้าไปพักใจ ด้วยการปฏิบัติธรรม ฝึกภาวนา และปิดวาจา  เพื่อชำระล้างใจให้สะอาดนั้น จัดขึ้นที่สวนโมกข์กรุงเทพฯ ย่านจตุจักร เป็นประจำทุกสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน  หลังจากนั้นผู้หญิงซึ่งมีภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ ในการเป็นแม่ที่ต้องดูแลลูก เป็นภรรยาที่ต้องดูแลสามี และเป็นลูกสาวที่ต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า ก็จะได้ชาร์ตแบตให้จิตใจได้เข้มแข็งและมีพลังก้าวเดินไปอย่างมีความสุข อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

แผนที่สู่ความสุขบนเส้นทางนพลักษณ์

นพลักษณ์ คือศาสตร์แห่งการเข้าถึงตนเอง โดยพระสันติกโร พระภิกษุชาวอเมริกัน นำมาเผยแพร่ที่เมืองไทย นพลักษณ์ จะกล่าวถึงคุณลักษณะของคนทั้ง 9 ลักษณ์ที่แตกต่างกัน แต่ละลักษณ์มีศักยภาพและจุดอ่อนในตัวเอง ถ้าเรารู้ทันตัวเรา และดึงศักยภาพนั้นมาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้ รวมทั้งถ้าเราตระหนักรู้ ก็จะสามารถดูแลจุดอ่อนของเราไม่ให้เบียดเบียนตัวเราเองและผู้อื่น นพลักษณ์จึงเปรียบเสมือนแผนที่ของชีวิตที่ทำหเราเข้าใจตนเองมากขึ้น และเห็นใจผู้อื่นด้วยเช่นกัน อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

ค้นหาตัวตนผ่านศิลปะงานต่อผ้า

ธิดาวรรณ วิวัฒน์คุณูปการ หรือ ครูตู่  และภวัญญา แก้วนันตา หรือป้าหนู  สองสาวผู้หลงใหลในเศษผ้าผืนเล็ก  ที่นำมาสร้างสรรค์ ผสานกับจินตนาการ กลายเป็นผ้าผืนใหญ่ที่มีเสน่ห์ และเรื่องราวชวนติดตาม และสะท้อนความเป็นตัวเองออกมา  การทำงานเย็บต่อผ้า  เป็นกิจกรรมที่ทำให้เราได้อยู่กับตัวเอง ฟังเสียงของตัวเอง  และเป็นพื้นที่ที่เรากล้าแสดงอารมณ์ และความเป็นตัวเราได้อย่างแท้จริง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

บางกอกนี้ดีจัง สร้างพื้นที่ศิลปะวัฒนธรรมให้คนเมืองกรุง

ตัน-สุรนาถ แป้นประเสริฐ จากเด็กที่เคยติดยา และค้ายา กลายมาเป็นแกนนำก่อตั้ง “บางกอกนี้ดีจัง” เครือข่ายเยาวชนและชุมชน ที่ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์ชุมชนบ้านเกิดของตนเอง ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ด้วย แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี  โดยมีมูลนิธิเพื่อนเยาวชน เป็นองค์กรพี่เลี้ยง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ จาก สสส. และภาคประชาสังคม ภาครัฐ ที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกับเยาวชนและคนในชุมชนได้มีโอกาสลุกขึ้นมาสำรวจชุมชนของตตนเอง ส่งเสริมของดีในชุมชนทั้งศิลปะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตต่าง ๆ เพื่อร้อยเรียงชุมชนให้เป็น...บางกอกนี้ดีจัง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

จากเด็กท้องนาสู่อาจารย์สอนศิลปะเพื่อชุมชน

ผศ. ดร. อภิชาติ พลประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฎศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากเด็กชัยภูมิได้รับโอกาสทางการศึกษา เมื่อเติบใหญ่ได้เป็นครู จึงขอตอบแทนกลับสู่สังคม ด้วยการเป็นครู “ผู้ให้” ตามที่ตั้งใจไว้   “...เรางานศิลปะไปสู่ชุมชนทางศูนย์ศิลป์ที่ชัยภูมิเปิดบ้านเป็นศูนย์ศิลป์ สอนเด็กวาดรูปฟรี มีเพื่อนศิลปินต่างชาติมาร่วมทำงานศิลปะ และทำกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านด้วย ศิลปินคนหนึ่งได้ออกแบบลายผ้าโดยได้รับแรงบันดาลใจจากสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน แล้วจ้างแม่บ้านทอผ้าไหมจากลวดลายที่เขาออกแบบ เสร็จแล้วจัดนิทรรศการให้ชาวบ้านได้ชม และจัดแสดงต่อที่กรุงเทพฯ และที่อเมริกา” แม้วันนี้ครูอภิชาตเรียนจบดีกรีเด็กนักเรียนนอก  แต่ครูกลับเลือกลับมาทำงานที่บ้านเกิด อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com  

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.