trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "2562" พบ 8 ข้อมูล

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 49 เดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม 2562

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับ เข้าเส้นชัย ในโครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่ Run For New Life Story “จะปล่อย” หรือ “จะเปลี่ยน” บทพิสูจน์สุดท้ายกับ 8 บุคคลต้นแบบ ตลอดระยะเวลากว่า 3 เดือน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมในโครงการ เพื่อพลักดันกระแสการวิ่งให้เกิดขึ้นในกลุ่มคนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ ผู้พิการ ผู้มีอาการออฟฟิศซินโดรม ให้เกิดแรงบันดาลใจ เกิดการตื่นตัวเรื่องสุขภาพและกิจกรรมทางกาย รวมถึงส่งต่อเรื่องราวดี ๆ สู่สังคมในรูปแบบสารคดีกึ่งเรียลลิตี้ที่ผลิตโดยเยาวชน

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 47 เดือนกรกฎาคม - เดือนสิงหาคม 2562

ศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 47 ประจำเดือนกรกฎาคม – สิงหาคม 2562 นำเสนอโครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา” ซึ่งเป็นกิจกรรมการสร้างสรรค์สื่อเพื่อสุขภาวะที่ตอบรับในยุคสื่อดิจิทัล เพราะเป็นการผลิตคลิปสั้น สารคดีสั้น และหนังสั้นด้วยโทรศัพท์มือถือ ภายใต้โจทย์ กรุ๊ปเลือดเมา = คุก และหยุดโฆษณาแฝงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีนิสิตนักศึกษาและเยาวชนที่สนใจเข้าร่วมมากมาย โดยนอกจากได้สื่อที่มีคุณภาพเพื่อเป็นรณรงค์ลดปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แล้ว ยังเป็นการสร้างความตระหนักรู้ให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อสกัดกั้นนักดื่มหน้าใหม่ต่อไป

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 48 เดือนกันยายน - เดือนตุลาคม 2562

ศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ เปิดตัวโครงการ วิ่งสู่ชีวิตใหม่สตอรี่ : Run for New Life Story  กับ 8 บุคคลต้นแบบ จาก 8 พื้นที่ทั่วประเทศ ที่กล้าเปลี่ยน...ลุกขึ้นมาวิ่งเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตตัวเองเป็นเวลากว่า 3 เดือน (ก.ย. - พ.ย. 62) โดยมีการตามติดถ่ายทำจากทีมผลิตตสื่อ 8 ทีม  เพื่อมาเผยแพร่ทางออนไลน์ สร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนถามตัวเอง  ว่า เราจะ “ปล่อย” หรือ จะ “เปลี่ยน”  นอกจากนี้ภายในเล่มยังมีการนำเสนอเรื่องราวดนตรีบำบัดสร้างชีวิตใหม่ให้เยาวชนผู้หลงเดิรนทางผิด และเรื่องราวที่น่าสนใจอื่น ๆ อีกมากมาย

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 46 เดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2562

ศิลป์สร้างสุข ประจำเดือน พ.ค. - มิ.ย. 2562 มีเรื่องเด่นประจำฉบับ ที่คุณพ่อคุณแม่ และผู้ปกครอง ต้องเปลี่ยนค่านิยมเก่า ๆ ที่บอกว่าเด็กอ้วนน่ารัก  เพราะแท้จริงเด็กที่น้ำหนักตัวมากเกินไป เสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยต่าง ๆ มากมาย  โครงการ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” ได้รณรงค์เพื่อปรับเปลี่ยนค่านิยมของเด็กให้ลดหวาน มัน เค็ม และเพิ่มผัก ผลไม้  นอกจากนี้ยังมีเรื่องราวความสามารถของเยาวชน กับการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ภายใต้โครงการ “อย่าปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา”  และยังพบสาระต่าง ๆ มากมายอีกภายในเล่มนี้

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562

ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์  พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83%  ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน  และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์”  จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย    

จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 45 เดือนมีนาคม - เดือนเมษายน 2562

เนื้อหาในจุลสาร ศิลป์สร้างสุข ฉบับนี้ ยังคงมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการสืบสานศิลปะและวัฒนธรรมในทุกมิติ เพื่อให้เด็ก ชุมชน และสังคม มีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ด้วยกัน  เนื้อหาฉบับนี้ มีการพูดคุยกันในเรื่องกิจกรรม “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” โดยการลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้  มีการแสดงทัศนะการขับเคลื่อนวัฒนธรรม โดย อ. เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ และกวีซีไรต์ รวมทั้งการเสริมพัฒนการเด็กด้วยการปั้นดินศิลปะจากสิ่งรอบตัวภายในครอบครัวและชุมชน

รายงานสุขภาพคนไทย 2562 : สื่อสังคม สื่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล

รายงานสุขภาพคนไทย 2562 จัดทำโดยสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเรื่องพิเศษประจำฉบับได้แก่ “สื่อสังคม สื่อสองคม” สุขภาวะของคนไทยในโลกโซเชียล ส่วนอื่น ๆ ได้แก่ ส่วน 12 หมวดตัวชี้วัดสุขภาพประชากรเปราะบาง ประกอบด้วย ประชากรข้ามชาติในไทย, ประชากรไทยในต่างแดน, ผู้ต้องขัง พนักงานบริการทางเพศ และผู้ใช้สารเสพติด, กลุ่มเพศวิถีนอกขนบ, คนจนและผู้มีรายได้น้อย, ครอบครัวเปราะบาง, กลุ่มเปราะบางจากปัญหาสุขภาพจิต, เด็กเปราะบาง, วัยรุ่น, และ ผู้สูงอายุ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.