จริยธรรมสื่อโทรทัศน์กับผลกระทบต่อพัฒนาการของเด็ก
จากข้อมูลปี 2558 ที่มีการสำรวจพบว่าเด็กไทยช่วงอายุ 6-14 ปีมีกิจกรรมทางกายลดลง พฤติกรรมเนือยนิ่งสูงมากขึ้น ใช้เวลาอยู่หน้าจอโทรทัศน์สูงถึง 6 ชั่วโมงต่อวัน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า เด็กจำนวนหนึ่งได้รับผลกระทบจากเนื้อหาการนำเสนอในละครโทรทัศน์ โดยมองว่าการข่มขืนเป็นเรื่องธรรมดาที่สังคมยอมรับได้ ดังนั้น มีเดียมอนิเตอร์จึงทำการศึกษาวิจัยงานชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหารายการโทรทัศน์ที่ไม่เหมาะสมกับเด็กในช่องดิจิทัลทั่วไป ช่วงเดือน ต.ค.57 ถึง ม.ค.58 เจาะลึกในกลุ่มรายการที่เหมาะกับเด็กวัย 10-15 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สื่อมีอิทธิพลสูงต่อกระบวนการเรียนรู้และพัมนาการ เพื่อค้นหาถึงผลกระทบของสื่อที่มีต่อเด็ก จัดทำเป็นข้อเสนอแก่องค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อกำกับติดตามต่อไป
แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Short Version)
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Short Version) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวน กลุ่มผ้าทอมือ ชุมชนคุณธรรม อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวนบ้านผือ กลุ่มผ้าทอมือ ชุมชนคุณธรรม คุ้มวัดศรีโสภณ เทศบาลตำบลบ้านผือ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ผลงานผลิตสื่อของเด็กเยาวชนโรงเรียนภูพระบาทวิทยา โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
เกล็ดไทยพวนบ้านผือ
บอกเล่าเรื่องราว ความเป็นมาของชมรมไทยพวนอำเภอบ้านผือ จ.อุดรธานี และวิถีวัฒนธรรมผ้าทอไทยไทยพวนบ้านผือจากอดีตถึงปัจจุบัน
สื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวนอำเภอบ้านผือ1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี
ผลงานเด็กเยาวชนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี กิจกรรมผลิตและเผยแพร่สื่อออนไลน์ โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
ผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวนอำเภอบ้านผือ2 โรงเรียนบริบาลภูมิเขตต์
สื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ผลงานเด็กเยาวชนโรงเรียนบริบาลภูมิเขตต์ กิจกรรมผลิตและเผยแพร่สื่อออนไลน์ โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
สื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวนอำเภอบ้านผือ โรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์
ผลงานเด็กเยาวชนโรงเรียนหนองหัวคูปวงประชานุเคราะห์ กิจกรรมผลิตและเผยแพร่สื่อออนไลน์ โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
สื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวน อำเภอบ้านผือ3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี
ผลงานเด็กเยาวชนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี กิจกรรมผลิตและเผยแพร่สื่อออนไลน์ โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
สื่อผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยพวน 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการอุดรธานี
โครงการสื่อศิลป์สามดี ใส่ใจสื่อเดิม สร้างเสริมสื่อดี
วิถีไทยเบิ้ง สายใยวัฒนธรรมสายสัมพันธฺ์ชุมชน
วิถีไทยเบิ้ง “สายใยวัฒนธรรม สายสัมพันธ์ชุมชน” กระบวนการถอดบทเรียนการทำงานร่วมกันกว่า 15 ปี ระหว่างกลุ่มแกนนำและผู้ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาความยั่งยืนของชุมชนบนฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น : วิถีไทเบิ้งลุ่มแม่น้ำป่าสัก ตำบล โคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยเนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้เป็นการทบทวนการทำงานและกลั่นประสบการณ์จากการทำงานจริงเพื่อพัฒนาชุมชน โดยมีภูมิปัญญา ประเพณี และวัฒนธรรมชุมชนเป็นสื่อกลาง เพื่อสื่อสารเรื่องราวและบทเรียนจากการทำงานพัฒนาบนฐานวัฒนธรรมของชุมชนไทยเบิ้งโคกสลุง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจอยากจะขับเคลื่อนงานในลักษณะใกล้เคียงกัน และนำไปปรับประยุกต์เป็นแนวทางในการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนตนเองต่อไป
สถานการณ์การอ่าน Thailand 4.0
ในขณะที่ประเทศไทย กำลังรุดหน้าสู่การพัฒนาประเทศในยุค 4.0 สร้างศักยภาพความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี ในอีกด้านหนึ่ง พลเมืองของประเทศกลับยังคงมีปัญหาด้านการศึกษา ศักยภาพการศึกษาของเด็กไทยยังคงล้าหลังอยู่ในเวทีโลก เมื่อมองถึงพฤติกรรมการอ่าน พบว่าเด็กปฐมวัย (อายุต่ำกว่า 6 ปี) ของไทยยังคงเข้าไม่ถึงการอ่าน ดังนั้น หากจะมุ่งสร้างไทยสู่ความเข้มแข็งรุดหน้าในยุค 4.0 เราต้องมาช่วยกันพัฒนาเด็กปฐมวัยของไทยให้มีนิสัยรักการอ่าน อันจะเป็นรากฐานนำสู่การพัฒนาด้านอื่น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
แก่นสาระและสุนทรียภาพหนังสือเด็กปฐมวัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพเด็กและสังคมไทย
หนังสือรวบรวมบทวิจัย และวิเคราะห์ หนังสือภาพ 108 เล่มที่เด็กปฐมวัยควรอ่าน ซึ่งคัดสรรขึ้นจากแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน เพื่อเป็นแนวทาให้ผู้มีบทบาทในการส่งเสริมการอ่าน อาทิ นักเขียน นักสร้างสรรค์ภาพ บรรณาธิการ สำนักพิมพ์ ได้มีแนวทางในการจัดทำหนังสือภาพที่ดี เพื่อเปิดหน้าต่างแห่งโอกาสให้กับเด็ก ๆ ต่อไป โดยเนื้อหางานวิจัยจะเน้นแก่นสาระ ด้านแนวคิด เนื้อหา และการนำเสนอ และสุนทรียภาพด้านการออกแบบรูปเล่ม รวมถึงความสละสลวยของภาษา