ท้องแท้งทิ้งเด็กไทยท้องไม่พร้อม
เมื่อเรื่องเพศเป็นเรื่องน่าอาย และห้ามมีการพูดถึง เด็กและเยาวชนจึงไม่กล้าปรึกษาพ่อแม่ผู้ปกครอง อีกทั้งที่โรงเรียนส่วนใหญ่มีการสอนเรื่องเพศด้านวิชาการมากกว่าการสอนเรื่องเพศในด้านการใช้ทักษะชีวิตที่ถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น ประเทศไทย จึงมีสถิติการทำแท้งของวัยรุ่น ติดอันดับ 1 ในเอเชียและ ติดอันดับ 2 ของโลก โดยพบผู้ทำแท้งเป็นวัยรุ่นและเยาวชนที่อายุน้อยกว่า 20 ปี ร้อยละ 80 และเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ร้อยละ 30 เพราะฉะนั้นจึงถึงเวลาแล้วที่ สังคมไทยควรหันมาสร้างค่านิยมการคุยเรื่องเพศที่เหมาะสมและถูกต้องกับเยาวชน เพื่อให้เขาสามารถดูแลตนเองได้ และไม่ก้าวพลาดในชีวิตก่อนวัยอันควร
คุณภาพชีวิตเด็ก 2556 (Eng Version)
หนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 ภาคภาษาอังกฤษ จัดทำโดยสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล แปลจากหนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 ฉบับภาษาไทย เพื่อให้เกิดการเผยแพร่ในวงการวิชาการในระดับสากล ทั้งนี้เนื้อหาในหนังสือนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็กในมิติต่าง ๆ ทั้งกาย ใจ อารมณ์ สังคมและปัญญา เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กในทุกด้านอย่างสมบูรณ์
คุณภาพชีวิตเด็ก 2556 : ฟื้นความฝันการศึกษาให้เด็กไทย
หนังสือเล่มนี้ พาผู้อ่านไปมองภาพและสังเคราะห์ปัญหาระบบการศึกษาไทยในภาพรวมหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ หรือการศึกษาทางเลือก เพื่อมุ่งเป้าหมายในการกระตุ้นเตือนสังคมให้มองการศึกษาในแง่มุมใหม่ พาการศึกษาไทยไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดการเรียนรู้สร้างสรรค์ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
คุณภาพชีวิตเด็ก 2556
หนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 เป็นฉบับปฐมฤกษ์ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก โดยได้ทำการรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดทำองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้ครอบครัวและผู้ทำงานด้านเด็กได้มองเห็นประเด็น เกิดองค์ความรู้ เพื่อนำสู่การพัฒนาศักยภาพเด็กไทยอย่างสมบูรณ์
รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลม ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง
เอกสารสรุปประเด็นและข้อมูลสำคัญจากการจัดงานเสวนาโต๊ะกลม ระดมความคิดเห็นเรื่อง "ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย : ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง" โดยได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ผลิตรายการเด็กจากองค์กรต่าง ๆ มาร่วมระดมความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาและทางออกของการผลิตรายการเด็กในประเทศไทย เนื้อหาในเอกสารมีการสรุปประเด็นความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนาแต่ละท่าน พร้อมสรุปประเด็นสำคัญ และสร้างสรรค์เป็นภาพอินโฟกราฟิก เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปต่อยอดและการขับเคลื่อนงานด้านสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนต่อไป
การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล สำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ และแนวทางสำหรับประเทศไทย
งานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ เพื่อใช้เสนอเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนไทย โดยมี 6 ประเทศที่เป็นแนวทางในการศึกษา ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา สหภาพยุโรป ประเทศอินเดีย ประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี 5 ประเด็นที่ค้นพบและสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนในประเทศไทยได้
ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง
เด็ก คือทรัพยากรที่สำคัญของสังคม การดูแลบ่มเพาะทัศนคติ พฤติกรรมและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นพันธกิจสำคัญของผู้ใหญ่ในสังคม ”ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง” รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลมซึ่งมีผู้เข้าร่วมการเสาวนาประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานด้านนโยบายสื่อ สถานีโทรทัศน์ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก นักวิชาการด้านสื่อและกลุ่มเยาวชน โดยมีประเด็นสำคัญ เรื่องความจำเป็นของการมีรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน ปัญหาและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงแนวทางการส่งเสริมรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพ และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
สื่อกับการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศ - ศึกษาละครซิทคอมในฟรีทีวี
สื่อละครโทรทัศน์ อาจเรียกได้ว่าเป็นโรงงานผลิตซ้ำอคติและภาพตัวแทนทางเพศ โดยการนำเสนอภาพตัวละครเอก ทั้งพระเอก นางเอก นางร้าย และตัวละครข้ามเพศซ้ำ ๆ โดยเฉพาะค่านิยมทางเพศในหลายมิติเช่น ชายเป็นใหญ่ วัฒนธรรมบริโภคฯลฯ ในขณะที่การเกิดขึ้นของละครอีกกลุ่มคือ ซิทคอม เป็นทางเลือกในการนำเสนอภาพตัวแทนของผู้หญิงยุคใหม่และบุคคลข้ามเพศ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษา ละครซิทคอมไทยกับค่านิยมด้านอดคติและค่านิยมทางเพศ โดยการศึกษาชิ้นนี้ได้ศึกษาละครซิทคอมไทยในช่วงเดือนกันยายน 2555 เทียบกับการศึกษาในปี 2550 เพื่อให้มองเห็นภาพการผลิตซ้ำความรุนแรงและอคติทางเพศในซิทคอมฟรีทีวีไทย
ความเซ็กซี่ในมิวสิควิดีโอเพลงไทยป๊อบ ฮิปฮอป ลูกทุ่ง (2554-2556)
งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาเรื่องประเด็นกลยุทธ์การขายภาพลักษณ์ 'ความเซ็กซี่' ในเนื้อหาสื่อมิวสิควีดีโอเพลงไทยทั้งป๊อบ ฮิปฮอป และลูกทุ่ง ในประเทศไทยช่วงปี 2554-2556 โดยมีการวิเคราะห์เปรียบเทียบลักษณะการประกอบสร้างความเซ็กซี่ การใช้ภาษา พฤติกรรมการแสดงออกเรื่องเพศ เสื้อผ้าเครื่องแต่างกาย การทำให้ผู้แสดงกลายเป็นวัตถุทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ ความเชื่อมโยงกับทัศนคติ แนวคิด ค่านิยม และการเลียนแบบ โดยสำรวจจากเว็บไซต์ Youtube ซึ่งเป็นสื่อออนไลน์ที่มีการแข่งขันสูงรวมถึงมีอิทธิพลหลักในการนำเสนอมิวสิควีดีโอเพลงสู่สังคม