ท่าเปลี่ยน โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผลงาน UNC ปี 2 โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ Concept : การนำเสนอข้อดีหรือสิ่งที่ดีของทะเลอันดามัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับผลกระทบจากการสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ผ่านสื่ออินโฟกราฟฟิคและโมชั่น กราฟฟิค ให้คนดูได้คิดตาม ควรมีหรือไม่มีโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน
No Coal Save Krabi โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผลงาน UNC ปี 2โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ประเด็น : ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม Concept : นำเสนอคุณค่าของทรัพยากรและธรรมชาติที่งดงามที่ จ.กระบี่ อาจจะถูกทำลายไป เพราะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินมามดแทน
ปัญหาที่ดิน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้
บอร์ดเกม เกมสิทธิ - เกมชุมชน โดย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : ปัญหาที่ดิน ที่มีมาเนิ่นนานในสังคมไทย ไม่ได้เกิดขึ้นจากนักการเมืองหรือนายทุนอย่างที่เราๆ เข้าใจกันเพียงเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกี่ยวเนื่องไปถึงปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบการจัดการ และกระจายทรัพยากรที่ไม่เป็นธรรม ในที่สุดการบังคับใช้กฏหมายจึงอาจจะไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของปัญหานี้ “เกมสิทธิ์/เกมชุมชน” จึงต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบของปัญหาที่ดินในวงกว้างผ่านการใช้ “เกมกระดาน” จะเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอด และเชื้อเชิญให้ผู้ชมเข้ามามีส่วนร่วมรับรู้ต่อปัญหาดังกล่าวมากขึ้น อีกทั้งยกระดับความรู้ให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงแนวทางการป้องกันชุมชนและทรัพยากรของตน ผ่านการเรียนรู้สิทธิชุมชน ซึ่งเป็นสิทธิที่ประชาชนชาวไทยทุกคนพึงมี เพราะเราไม่รู้ว่า เมื่อใดความไม่เป็นธรรมจะเกิดขึ้นกับเราหรือชุมชนของเรา
สื่อรณรงค์เพื่อการปฎิรูปโครงสร้างการจัดสรรที่ดินในประเทศไทย โดย คณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : จากข่าวต่างๆ ตามทีวีและหน้าหนังสือพิมพ์ หรือสื่อต่างๆ จะเห็นปัญหาการความเหลื่อมล้ำทางสังคม คุณภาพชีวิตของผู้คนยิ่งถี่ห่าง ความเหลื่อมล้ำก็มากขึ้นเท่านั้น ปัญหาการเอาเปรียบระหว่างคนชั้นสูงคนชั้นกลาง และคนชั้นล่างจึงเกิดขึ้นอย่างชัดเจน โดยอาศัยข้อได้เปรียบทางการเงิน ความรู้ ปัญหาเรื่องโครงสร้างการจัดสรร “ที่ดิน” หรือ “ที่ทำกิน” เป็นปัญหาหนึ่งที่ถูกนำเสนอพูดถึงอยู่บ่อยๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักมีอายุอยู่ได้ไม่นาน…ไม่ใช่เพราะถูกแก้ แต่เหตุผลคือคนไทยขี้ลืม...การเลือกทำสื่อหัวข้อนี้เพราะไม่อยากให้ทุกคนแค่ ”รับรู้” ถึงปัญหา แต่อยากให้ “รู้สึก” ถึงหัวใจของคนที่ถูกกระทำ และพร้อมที่จะช่วยกันแก้ปัญหา
ผักดีมีจริงหรือ โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : การใช้ “สารเคมี” ภาคเกษตรกรรมของไทยมีอัตราสูงขึ้นเรื่อยๆ แม้ผู้บริโภคในปัจจุบันพยายามจะหลีกเลี่ยงการบริโภคผักปนเปื้อนสารเคมี แต่ก็ใช้ว่าจะรอดพ้น เมื่อผู้บริโภคมี “เคล็ดลับ” ในการเลือก เกษตรกรผู้ปลูกผัก รวมทั้งแม่ค้า ก็มีกลยุทธ์ในการ “สร้างภาพ” อำพรางความจริงได้อย่างแนบเนียนเช่นกัน นักศึกษาจึงเลือกผลิตสื่อเพื่อนำเสนอสภาพปัญหาจากสถานการณ์จริง พร้อมทั้งนำเสนอ “ทางเลือก” ให้กับผู้บริโภค โดยชี้ให้เห็นว่า การแก้ปัญหาการใช้สารเคมีในภาคเกษตรจะเปลี่ยนก็ต่อผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรม และเมื่อหนึ่งคนเปลี่ยน หลายคนเปลี่ยน ในที่สุดสังคมก็จะเปลี่ยน
ข้าวคร่าว
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ Concept : “ข้าว” เป็นอาหารหลักของคนไทย แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่าข้าวที่เราบริโภคนั้นปลอดภัย “มอดในข้าว” ที่มักถูกผู้คนรังเกียจจะให้คำตอบกับเราได้ นิทรรศการหัวข้อเรื่อง “ข้าวคร่าว” จะนำผลการทดลองมาจัดแสดง เพื่อให้ผู้ชมรู้ว่ามอดมาจากไหน มีอันตรายหรือไม่ และมอดมีความเชื่อมโยงอย่างไรกับข้าวอินทรีย์ หรือข้าวเจือปนสารเคมี ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรับรู้ เข้าใจและตระหนักถึงที่มาของข้าวที่รับประทานอยู่ทุกวัน เห็นคุณค่าของวิถีการเกษตรแบบดั้งเดิม รวมถึงส่งต่อความสนใจและตั้งคำถามต่อข้อมูลที่ได้รับไปค้นคว้าต่อไป
ปลุกผัก โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ปลุกผัก ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
ตื่นตรา โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ตื่นตรา ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
ปริมาณน้ำตาลในขนมไทย
คนไทยมีแนวโน้มบริโภคน้ำตาลมากขึ้นเป็น 3 เท่า เรามาลองมาเช็คปริมาณน้ำตาลที่มีอยู่ในขนมไทยแต่ละประเภท จากขนมไทยปริมาณ 100 กรัม ถ้าเป็นทองหยอดปริมาณน้ำตาลมี 57 % ฝอยทอง 40 % ข้าวเหนียวหน้าปลาแห้ง 26 % ขนมกล้วย 26 % และลอดช่องน้ำกะทิ 12 %
เมนูปิ้งย่างสังสรรค์เซลล์มะเร็ง
เมนูปิ้งย่าง อาหารแสนอร่อยแต่แฝงอันตราย ควันจากการปิ้งย่างไขมันสัตว์ทำให้เกิดสารไฮโดรคาร์บอน การปิ้งย่างเนื้อแดงที่ความร้อนสูงเกิดสารกลุ่มเอมีนส์ และอาหารที่ปรุงส่วนใหญ่มีแคลอรี่สูง สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสารที่กระตุ้นให้เกิดเซลล์มะเร็ง หากอยากกินเมนูปิ้งย่าง ให้เลือกร้านที่อากาศถ่ายเท หลีกเลี่ยงการปิ้งจนไหม้เกรียม และไม่กินอาหารแปรรูป และควรกินผักด้วยเสมอ
รายงานสมรภูมิโรคเอดส์
สถานการณ์โรคเอดส์ในไทย มีผู้ติดเชื้อเอดส์เป็นอันดับ 41 ของโลก โดยในปี ค.ศ. 2012 มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์กว่า 20,000 คน และเป็นเรื่องน่าตกใจที่พบว่า เยาวชนไทยเป็นกลุ่มที่เสี่ยงกับโรคเอดส์เพิ่มมากขึ้น และมีเพียง 1 ใน 3 ของเยาวชนที่มีความรู้เพียงพอในการป้องกันโรคนี้