trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "ไซเบอร์" พบ 22 ข้อมูล

ลงทะเบียนเรียนฟรี การคุ้มครองจากภัยออนไลน์

“การคุ้มครองจากภัยออนไลน์” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  เรียนรู้วิธีป้องกันตนเองจากไซเบอร์บูลลี่และรู้จักวิธีการดูแลช่วยเหลือตนเองและผู้อื่น  รู้เท่าทันกลโกงออนไลน์ วิธีการรับมือและปกป้องสิทธิเมื่อสั่งซื้อของแล้วได้รับของไม่ครบ ไม่ตรงปก รู้จักวิธีป้องกันตนเองและรับมือกับการละเมิด การคุกคาม และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศ   จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น  CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก   หมวดเนื้อหา “การคุ้มครองจากภัยออนไลน์”   เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 29 มิถุนายน  2565 หัวข้อ รับมือการคุกคามทางเพศออนไลน์ 12 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ ทำอย่างไรเมื่อซื้อของออนไลน์ ไม่ตรงปก 20 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ เอาตัวรอดเมื่อถูกกลั่นแกล้งระรานทางไซเบอร์ (Cyberbullying)  ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น.  ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ   ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ดร.ศรีดา ตันทะอธิพานิช,  คุณณัชวลัย สุวรรณฑัต และ คุณสุพิชฌาย์ ชัยธัมมะปกรณ์   รับจำนวนจำกัด !!!  สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook : CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์  http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920   ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่  https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/

นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว

นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋วเพื่อนรักนอกจอ วันหนึ่ง..แม่มดจิ๋วพลาดตกจากไม้กวาดระหว่างที่ขี่ไม้กวาดบินมาหานางฟ้าน้อย แต่พอนางฟ้าน้อยเห็นเพื่อนตกไม้กวาดนอกจากจะไม่ช่วยแล้ว ยังกลับเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน นำรูปแม่มดจิ๋วหัวโนไปแชร์ลงในโลกโซเชียล… นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว หนังสือนิทานภาพสีสันสดใสและมีเนื้อหาที่สนุกน่าสนใจเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย ตัวนิทานแฝงไว้ด้วยข้อคิดเรื่องการบริหารเวลาการใช้สื่อดิจิทัล การรังแกกันในโลกออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อในโลกปัจจุบัน จึงเหมาะที่จะเป็นสะพานเชื่อมผู้ใหญ่และเด็กในการเรียนรู้เรื่องการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ไปด้วยกัน เรื่องราวของเพื่อนคู่หูนางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว เมื่อนางฟ้าน้อยได้เข้าร่วมกลุ่มโซเชียลมีเดียและเริ่มแชร์ภาพของแม่มดจิ๋ว ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งคู่เปลี่ยนไป นางฟ้าน้อยจะแก้ปัญหานี้อย่างไร และแม่มดจิ๋วจะให้อภัยนางฟ้าน้อยหรือไม่ ติดตามได้จากวีดีโอนิทานเรื่องเลย..

นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว

นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋วเพื่อนรักนอกจอ วันหนึ่ง..แม่มดจิ๋วพลาดตกจากไม้กวาดระหว่างที่ขี่ไม้กวาดบินมาหานางฟ้าน้อย แต่พอนางฟ้าน้อยเห็นเพื่อนตกไม้กวาดนอกจากจะไม่ช่วยแล้ว ยังกลับเห็นเป็นเรื่องตลกขบขัน นำรูปแม่มดจิ๋วหัวโนไปแชร์ลงในโลกโซเชียล… นางฟ้าน้อยกับแม่มดจิ๋ว หนังสือนิทานภาพสีสันสดใสและมีเนื้อหาที่สนุกน่าสนใจเหมาะสำหรับเด็กปฐมวัย ตัวนิทานแฝงไว้ด้วยข้อคิดเรื่องการบริหารเวลาการใช้สื่อดิจิทัล การรังแกกันในโลกออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อในโลกปัจจุบัน จึงเหมาะที่จะเป็นสะพานเชื่อมผู้ใหญ่และเด็กในการเรียนรู้เรื่องการใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ไปด้วยกัน

การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech)

การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่พลเมืองประชาธิปไตยควรเรียนรู้และทำความเข้าใจ เนื่องจากข้อมูลในโลกไซเบอร์ไม่ได้มีเพียงข่าวสาร ข้อเท็จจริง หรือเนื้อหาที่สร้างความบันเทิงเพียงด้านเดียว แต่ยังมีข้อมูลข่าวสารที่เต็มไปด้วยอคติและความรุนแรง พลเมืองประชาธิปไตยควรรู้เท่าทันสื่อ และเข้าใจผลกระทบการการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังที่มีต่อบุคคลและกลุ่มคนอื่นๆ ในมิติต่างๆ และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในด้านต่างๆ เช่น แนวคิดทางการเมือง ชนชั้น ศาสนา เพศสภาพ เพื่อบรรลุความเป็นพลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เป็นผู้ที่เคารพสิทธิและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมที่หลากหลายได้อย่างรับผิดชอบในฐานะพลเมืองที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น 

การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ (Cybersecurity)

โลกดิจิทัลได้เปลี่ยนวิถีชีวิตของผู้คนในยุคปัจจุบันในหลายๆ ด้าน เช่น วิธีการติดต่อกับเพื่อนและคนรู้จัก การทำธุรกรรมทางการเงิน การซื้อขายสินค้า และการรับชมสันทนาการความบันเทิงต่างๆ แต่อย่างไรก็ตามโลกไซเบอร์ซึ่งรวมถึง อินเทอร์เน็ต เครือค่ายสังคมออนไลน์ โทรศัพท์มือถือ เกมออนไลน์ แอปพลิเคชั่น และอื่นๆ ยังมีภัยคุกคามที่แฝงมากับความสะดวกสบายและความบันเทิงเหล่านี้ด้วย

การกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying)

การรู้เท่าทันการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและใส่ใจไม่ว่าจะเป็น เด็กและเยาวชนที่ควรได้รับการปลูกฝังให้รู้จักป้องกันตัวเอง  พ่อแม่และโรงเรียนควรจะเข้าใจในการให้คำปรึกษา และภาคเอกชนผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต สื่อดิจิทัล และสื่อสังคมออนไลน์ ควรจะมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายและระเบียบกติกาการใช้สื่อคอมพิวเตอร์และสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อสามารถจัดการปัญหาเบื้องต้นได้หากพบว่ามีการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้น มีรายงานสำรวจหลายชิ้นบ่งบอกว่า ตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมา สถิติของการกลั่นแกล้งบนโลกไซเบอร์มีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ

Cyberbullet โดย คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

ให้ความรู้เรื่อง cyberbullying หรือการกลั่นแกล้งรังแกกันบนโลกไซเบอร์เพื่อให้ผู้คนรู้เท่าทัน ไม่ตกเป็นเหยื่อ

อันตรายจากปีศาจร้ายโลกไซเบอร์

เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วทันใจ แต่ในข้อดีของความสะดวกรวดเร็วนั้น ก็มีข้อเสียและภัยร้ายที่สามารถเข้าถึงตัวเราได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในปี 2555 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ตมีสูงถึง 62% และมีแนวโน้มว่าอาชญากรทาง อินเทอร์เน็ตจะมีเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตควรศึกษาและหาวิธีดูแลความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนตกเป็นเหยื่อ เช่น การตั้งรหัสยากๆ สำหรับ user ในเว็บต่างๆ เช็คความปลอดภัยก่อนโอนเงินผ่าน  อินเทอร์เน็ตไม่ควรโหลดโปรแกรมจากคนหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ลบข้อมูลเว็บบราวเซอร์หลังจากใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลจากอาชญากรทางอินเทอร์เน็ต

เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน การเดินทางจาก Hate Speech สู่ Cyberbullying

ใครเลยจะรู้ว่าการพูดหรือแสดงความคิดเห็นที่เต็มไปด้วยอคติ ความเกลียดชัง และความต้องการกีดกันบางกลุ่มคนออกไปจากสังคมนั้น สร้างผลกระทบทางจิตใจให้กลุ่มคนที่เป้าหมายมากน้อยแค่ไหน และในโลกยุคดิจิทัล online platform สามารถกระจายความเกลียดชังออกไปสู่วงกว้างในหลากหลายรูปแบบ และนำไปสู่ cyberbullying (การรังแกบนโลกออนไลน์) ที่เป็นจุดจบของชีวิตใครหลาย ๆ คนที่ตกเป็นเหยื่อ อะไรบ้างที่มักถูกหยิบมาสร้างความเกลียดชัง? พฤติกรรมใดบ้างที่เข้าข่าย Hate Speech? และจะจัดการกับ Hate Speech ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)  

Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น

สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.