New Heart New World 3 : โตมร ศุขปรีชา
คุณโตมร ศุขปรีชา นักเขียน กับการเปิดมุมมองทางความคิด ความทุกข์ ความสุขที่ปะปนกันอยู่ในทุกขณะและการเปลี่ยนมุมมองการมองโลกด้วยการอ่านหนังสือ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยขยายพรมแดนทางความคิด ขยายจิตใจให้กว้างขึ้นและยังทำให้เราค้นพบโลกอีกใบ “ที่ดีกว่า” โลกที่ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างปราศจากการตัดสิน เพื่อให้เราหันกลับมาดูตัวเองและตั้งคำถามกับโลกในปัจจุบันของเราว่าที่จริงแล้วเป็นอย่างไร "ตอนนั้นมีความสุขมากๆกับทุกอย่าง แต่ทันใดนั้นมันก็พัง เราคิดว่ามีสติ แต่เราไม่มี เห็นทุกข์มาเป็นก้อนๆ แต่มันน่าสนใจที่มันไม่ได้มาตลอดเวลา มันมาเป็นก้อน แล้วก็จะมีบางช่วงที่มันคลายลง ตอนนั้นได้เห็นเลยว่าไม่มีอะไรที่มาแล้วอยู่กับเราไปถาวร" "ชีวิตเป็นทุกข์ ไม่ได้หมายความว่า เรานั่งอยู่ตรงนี้แล้วเราไม่ทุกข์ มันทุกข์อยู่ตลอดเวลา โดยที่เรารู้ตัวและไม่รู้ตัว ต่อให้ตอนที่เรามีความสุข มันก็มีความทุกข์อยู่ด้วย" โตมร ศุขปรีชา นักเขียน
New Heart New World 3 : ครูดล ธนวัชร์ เกตม์วิมุต
ครูดล ธนวัชร์ เกตม์วิมุต นักพูดและผู้สอนเครือข่ายชีวิตสิกขา ได้พูดถึงความเป็นมาในชีวิต การพูดคุยกับผู้ป่วยระยะสุดท้าย การเตรียมพร้อมกับความตายและจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิ ที่ช่วยสร้างความปีติ ความสงบให้เกิดขึ้นจากภายใน สร้างการตื่นรู้ ช่วยลดละความอยาก มีความใจเย็นและอดทนมากขึ้น ซึ่งต้นทุนจากการนั่งสมาธิเหล่านี้ สามารถนำมาประยุกต์ได้กับทุกเรื่องในชีวิตของทุกคน "เรามีต้นทุนพร้อมที่จะเตรียมตัวตายอยู่แล้ว เวลาไปเยี่ยมผู้ป่วย ทำไมบางคนรู้สึกห้อมล้อมด้วยความรู้สึกอบอุ่นใจ ร่างกายสงบ จิตสงบ ทำไมบางคนทุรนทุราย ไม่ได้มีเหตุบังเอิญ แต่มันสะท้อนได้เลยว่า เพราะเขาเคยใช้ชีวิตกันมาอย่างไร ช่วงนี้แหละเป็นช่วงที่มาพิสูจน์ เฉลยว่า กำลังจะไปไหนต่อ" ครูดล ธนวัชร์ เกตม์วิมุต นักพูด / ผู้สอน, เครือข่ายชีวิตสิกขา
New Heart New World 3 : พระโพธินันทะ
พระโพธินันทะ กับหนทางแห่งความว่างเปล่า หรือ “สุญญตา” และการใช้ชีวิตอยู่บนฐานแห่งปัญญาญาณ ด้วยการมองเห็นตัวตนและละทิ้งตัวตนทางความคิด เพราะโลกแห่งความคิด คือ โลกแห่งมายา การทำให้ใจว่างเปล่าด้วย ”การตื่นรู้” ทำได้โดยการสังเกตความคิดและชำเลืองใจของเราอย่างมีสติ ซึ่งจะช่วยให้เราดำเนินชีวิตได้อย่างรู้เท่าทันความคิดของตัวเราเอง ไม่ยึดติด ไม่แบ่งแยกหรือตัดสิน เพราะเมื่อเราใจว่าง ตัวตนหายไป เราจะรับรู้ได้ว่าทุกสรรพสิ่งเป็นเอกภาพเดียวกันกับเรา "ความคิดสร้างความรู้สึกว่ามีตัวเราขึ้นมา "ฉัน" "กู" แล้วก็ทำให้เกิดความเปรียบเทียบ ให้ค่าตัดสิน ลงความเห็นที่ขัดแย้ง สูงต่ำ ดำขาว ยาวสั้น เย็นร้อน ถูกผิด แล้วเราก็ยึดติดในความเห็นนี้ ยึดติดในสิ่งที่มากระทบ ใครว่าเราเป็นหมู เป็นหมา เราโกรธใช่ไหม ความยึดติดเหล่านี้แหละ คือปัญหาของชีวิตเรา" พระโพธินันทะ
New Heart New World 3 : ดร.ณัชร สยามวาลา
ดร. ณัชร สยามวาลา นักเขียน กับความสุขของ “การตื่นรู้” สัญลักษณ์ของความทุกข์ ประสบการณ์เฉียดตายและจุดเปลี่ยนของชีวิตกับการฝึกฝนวิชาเจริญสติ ที่ทำให้ค้นพบความปีติที่แท้จริงจากการทำสมาธิ เกิดการเข้าใจโลก เข้าใจชีวิต ทำให้ชีวิตมีความสุขมากขึ้น เพราะสติช่วยให้เรารู้เท่าทันปัญหา สร้างเหตุแห่งความทุกข์ใหม่น้อยลงและรับมือกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติรู้เท่าทัน อีกทั้งทำให้ความทุกข์นั้นหายไปเร็วขึ้น "จริง ๆ ธรรมะอยู่ในชีวิตเราอยู่แล้ว เพียงแต่คนนั้นจะเห็นหรือเปล่า กายกับใจนี่ก็ธรรมะ ถ้าเราสังเกตดี ๆ มันสอนเราตลอด เมื่อกี้ หิว เดี๋ยวง่วง เดี๋ยวเบื่อ เดี๋ยวโกรธ เดี๋ยวอยากทำโน่น เดี๋ยวไม่อยากทำแล้ว นี่มันแสดงธรรมะตลอดเวลาอยู่แล้ว ทำให้เห็นว่าใจไม่เที่ยง ไม่มีอะไรเป็นอย่างนั้นตลอดกาลชั่วกัลปาวสาน ...มันเปลี่ยนตลอดเวลา" ดร.ณัชร สยามวาลา
New Heart New World 3 : วีรยา โอชะกุล
คุณวีรยา โอชะกุล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก ได้พูดถึงวิถีการทำงานด้านการป้องกันและปราบปรามรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ว่า แม้ตนเองจะเป็นผู้หญิงที่มาเป็นหัวหน้าทีม ซึ่งต้องทำงานเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย ต้องดูแลทีมที่มีหลากลายความคิดและบุคลิก แต่ตนก็ใช้ความพยายาม ความทุ่มเทในการทำงาน เพื่อสร้างการยอมรับของทีมด้วยความเข้าใจกันและกัน "เวลาทำงานไม่ได้คิดนะว่าตัวเองจะเป็นยังไง แต่ถ้าถาม ถ้าถูกยิง ณ วันนี้ ตาย จะเสียดายในสิ่งที่คิดว่าจะทำ ยังไม่ได้ทำ มันมีอะไรที่อยากทำ เห็นปัญหาแล้วอยากแก้ พี่เป็นโรคจิตอยู่อย่างเห็นปัญหาไม่ได้ จะโดดใส่ทันที เดินไปหาปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้จะตาย ไม่เสียใจ" "ถ้าย้อนกลับไป พี่จะทำเหมือนเดิมทุกอย่างที่พี่ทำมา เพราะพี่มั่นใจแล้วว่าสิ่งที่พี่ทำอยู่ พี่พอใจกับมันแล้ว" วีรยา โอชะกุล หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร ด้านตะวันตก
New Heart New World 3 - สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม)
ผมคิดว่ามีคำตอบหนึ่งที่เราตอบได้เสมอทุกวันวัย และสถานการณ์ นั่นคือ "เราเกิดมาเพื่อรักและถูกรัก" ความหมายของคำตอบนี้คือ เราเกิดมาเพื่อเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ กับคนอื่น ๆ ในโลก เราเกิดมาเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของโลกและสรรพสิ่ง เราเกิดมาเพื่อรับรู้ว่ามีบางสิ่งบางคนประคับประคองให้เรามีชีวิตอยู่ ต้นไม้ให้ออกซิเจน ผีเสื้อผสมเกสร เมฆกลั่นตัวเป็นฝนลงมา เป็นน้ำให้เราดื่มกิน มีพ่อครัวทำอาหารให้เรา มีช่างตัดเสื้อทำเสื้อผ้า ให้เราใส่ มีแม่ที่เลี้ยงดูเรามา มีพ่อขับรถส่งเราไปโรงเรียน มีครูคอยสอนสั่ง มีเพื่อนคอยเฮฮา มีคนรักคอยให้กำลังใจ มีอะไรต่อมิอะไรอีกมากมายที่ประคับประคองชีวิตของเราเอาไว้ เราเกิดมาเพื่อรับรู้ถึงความเชื่อมโยงเหล่านี้ สัมผัส รับรู้ ดื่มด่ำ และเป็นส่วนหนึ่งของสรรพสิ่ง ที่ประกอบกันเป็นชีวิตเรา สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม)
New Heart New World 3 : ธเนศ วรากุลนุเคราะห์
"ด้วยความวิตกกังวลว่าลูกจะเป็นเด็กอินเตอร์ไปจนหมด จึงอยากพาลูกมาใกล้ชิดความเป็นไทย รวมทั้งศาสนา... ไปได้คอรสปฏิบัติ 7 วันที่ลำปาง ผู้ใหญ่ก็อยู่ดูแลเด็ก ดุไปดูมาก็เกิดความสนใจ ประโยคที่ได้ยินตอนนั้น ท่านบอกว่า "นิพพานน่ะ ง่ายนิดเดียว 7 วัน ก็เป็นนิพพานได้ มาลองดูก็ได้ มาม้้ยล่ะ" ก็เลยตกปากรับคำท่านไป...พอวันที่ 3 เราเห็นบางสิ่งบางอย่าง อย่างที่ไม่เคยเห็น ไม่เคยรู้สึกมาก่อน" ธเนศ วรากุลนุเคราห์ นักร้อง / นักแต่งเพลง
New Heart New World 3 : หัวใจตื่นรู้
ขอเชิญร่วมสัมผัสประสบการณ์ตื่นรู้ครั้งใหม่ จากผู้รู้ตื่น 12 ท่าน ธนวัชร์ เกตน์วิมุต (ครูดล) - ธเนศ วรากุลนุเคราะห์ - พระโพธินันทะ สราวุธ เฮ้งสวัสดิ์ (นิ้วกลม) - พ่อผาย สร้อยสระกลาง - ดร.ณัชร สยามวาลา วีรยา โอชะกุล - นันท์ วิทยดำรง - คาริญญย์วัฒ ดุรงค์จิรกานต์ (เฟิด Slot Machine) โตมร ศุขปรีชา (หนุ่ม) - วิศิษฐ์ วังวิญญู - เอกลักษณ์ หลุ่มชมแข (เอก กระจกเงา) ใน NEW HEART NEW WORLD 3 : หัวใจตื่นรู้
รวมไอเดียเล่นกับลูก
การที่พ่อแม่อยู่กับลูก ๆ ที่บ้าน เป็นโอกาสทองที่วิเศษ ในการทำกิจกรรมด้วยกัน หรือ “การเล่นกับลูก” เพื่อเสริมสร้างความฉลาดให้กับลูก ๆ เริ่มตั้งแต่การจัดหามุมเล่นบทบาทสมมุติในบ้านเพื่อเสริมสร้างจินตนาการ, การเล่นแบบอิสระกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวทั้งการเล่นดิน เล่นทราย, การเล่นต่อคำ ต่อประโยคต่อเพลง หรือการฝึกบวกเลขทะเบียนรถยนต์ ก็เป็นการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวปีกป่ายออกกำลังกายหรือการอ่านหนังสือ
เล่น สานสัมพันธ์ครอบครัวฝ่าวิกฤติโควิด-19 ตอน มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับช่วงอายุ 2-9 ปี
เมื่อ “บ้าน” กลายเป็นที่ทำงานของพ่อแม่ และลูก ๆ ต้องอยู่กับพ่อแม่ เพื่อทำตามมาตรการอยู่บ้าน หยุดเชื้อ ในช่วงของวิกฤติวิด 19 การสร้างสรรค์มุมเล่นช่วยลูกนิ่ง สำหรับเด็กอายุ 2-9 ปี จึงทำให้พ่อแม่มีสมาธิและเวลาในการทำงาน ขณะเดียวกันเด็ก ๆ ก็ได้เรียนรู้และพัฒนาการตามวัย โดยมุมเล่นที่น่าสนใจมีทั้ง มุมทราย, มุมบ้านจำลอง, มุมเล่นขายของ, มุมอุโมงค์ และมุมแฟนตาซีหรือมุมเล่นแต่งตัว โดยพ่อแม่ชวนลูก ๆ ช่วยอันออกแบบมุมที่ลูกชอบเล่น จากนั้นพ่อแม่ตกลงกับลูกว่าต้องเล่นในมุมของตนเอง แล้วพ่อแม่จึงออกมาทำงานและค่อนสังเกตการณ์ห่างๆ ปล่อยให้ลูกเล่นตามจินตนาการและความสนุกสนาน
เมนูภูมิคุ้มใจ 14 วันฉันทำได้ _Retreat 6 Sensing รับรู้โลกที่ไร้ขีดจำกัด
เปิดมหัศจรรย์ของการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 6 เริ่มต้นจากประสาทสัมผัสที่ 6 ก่อนเลย คือ “ใจ” เมื่อเราเปิดใจ เพื่อย้อนกลับไปอยู่กับตัวเอง เราจะได้พัฒนาศักยภาพของประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเรา ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้ลิ้มรส ได้รับรู้ความรู้สึกทางกาย ด้วยสติ ด้วยปัญญา ไร้ข้อกังวลใด ๆ จากปัญหารอบข้างที่รุมเร้า หนึ่งในหมวดกิจกรรม Retreat- สรรค์สร้างใจสู่ความสงบ จากเมนูภูมิคุ้มใจ
การบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัล (Screen Time Management)
ข้อมูลการสำรวจพฤติกรรมการท่องโลกอินเทอร์เน็ตโดยกูเกิล พบว่าคนเราหยิบมือถือขึ้นมาดูเฉลี่ย 150 ครั้งต่อวัน รวมทั้งผลสำรวจพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเมื่อปี 2561 พบว่าประแทศไทยติดอันดับคนใช้เวลากับอนเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลกเฉลี่ย 9 ชั่วโมง 38 นาทีต่อวัน และยังพบเด็กเล็ก วัยไม่ถึง 2 ขวบ สามารถใช้สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือเครื่องมือสื่อสาร อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อย่างคล่องแคล่ว โดยยังไม่มีวุฒิภาวะในการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ ดังนั้นการบริหารจัดการเวลาบนโลกดิจิทัลในเด็กและเยาวชนจึงเป็นเรื่องเร่งด่วนและสำคัญที่พ่อแม่และผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม โดยควรมีการจำกัดเวลาการอยู่ที่หน้าจอ ที่มิได้หมายถึงการห้ามอย่างเด็ดขาด แต่หมายถึงการสร้าง สมดุลระหว่างการใช้เทคโนโลยีหรือ อุปกรณ์ดิจิทัลกับการใช้ชีวิตประจำวัน โดยไม่กระทบต่อสุขภาพและ ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของเด็ก เพื่อให้เขาเติบโตมาเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีความรอบรู้ทางเทคโนโลยี และรู้เท่าทันสื่ออย่างเหมาะสมตามวัยนั่นเอง