แนวปฏิบัติสําหรับผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์
แม้ว่าเยาวชนไทยในยุคปัจจุบันจะเติบโตขึ้นมาพร้อมเทคโนโลยีและมีความสามารถที่จะเรียนรู้วิธีการใช้เทคโนโลยีได้อย่างรวดเร็ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะรู้วิธีรับมือกับภัยที่มากับเทคโนโลยี เช่น การกลั่นแกล้งรังแกกันในโลกออนไลน์ การแสวงหาประโยชน์ทางเพศ ฯลฯ แนวปฏิบัติสำหรับผู้บังคับใช้กฎหมายในกรณีการล่วงละเมิดต่อเด็กในโลกออนไลน์ ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพสหวิชาชีพและผู้เกี่ยวข้องในกรณีภัยออนไลน์ต่อเด็ก เพื่อสร้างความตระหนักสาธารณะ เรื่องการรู้เท่าทันสื่อ ภัยและการป้องกันภัยออนไลน์ให้แก่สังคม
อลิซในวันมหัศจรรย์
“ความมหัศจรรย์มีอยู่ทุกที่ภายนอกจอมือถือและกำลังรอให้เราออกไปค้นพบ” หนูอลิซ เด็กน้อยที่ชอบเก็บตัวอยู่ในโลกออนไลน์ โลกที่เธอเชื่อว่าเป็นแดนมหัศจรรย์ของเธอ แต่แล้ววันหนึ่งหนูน้อยอลิซได้พลาดตกลงไปในโพรงลึกใต้ดินและได้พบกับโลกมหัศจรรย์อีกใบ โลกที่ไร้ซึ่งมือถือและทำให้หนูน้อยอลิซค้นพบว่ายังมีโลกอีกใบหนึ่ง ที่มีความมหัศจรรย์มากกว่าโลกออนไลน์ของเธอ อลิซในวันมหัศจรรย์ นิทานที่มีเนื้อหาสะท้อนสังคมยุคดิจิทัล ที่สามารถ “ประยุกต์” ใช้ได้กับทุกวัย เพื่อสร้างสมดุลและให้เกิดความ “เข้าใจ” และ “เท่าทัน” ในการใช้สื่อในชีวิตประจำวันอย่างสร้างสรรค์
อะไรบ้างที่ถือเป็นการรังแกกันบนโลกออนไลน์
Infographic ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเหล่านี้
ตัวตนทางเพศ กับการสร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์
บทสัมภาษณ์ โตมร อภิวันทนากร กลุ่มมานีมานะ ผู้ทำงานขับเคลื่อนประเด็นเรื่องเพศและการรู้เท่าทันสื่อ
LGBT กับคนทางการศึกษาต่อการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์
บทสัมภาษณ์ในมุมมองของ คุณครูนำโชค อุ่นเวียง ครูวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในประเด็นเรื่อง LGBT หรือ ความหลากหลายทางเพศ กับคนทางการศึกษาต่อการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ ที่ปัจจุบันคนในกลุ่ม LGBT ได้รับการยอมรับทั้งทางอัตลักษณ์ ตัวตน ความสามารถและบทบาทหน้าที่ทางสังคมในแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น
Hate speech ในโลกออนไลน์
เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน... การเดินทางจาก “Hate Speech” สู่ “Cyberbullying” ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งมาจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง ผ่านการพูด ผ่านตัวอักษรที่เต็มไปด้วยอารมณ์ทางลบ อคติ ตีตรา เหมารวม และความรู้สึกต้องการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคคลหรือกลุ่มคนให้ลดลง Hate Speech (การสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง) ในปัจจุบันถูกสื่อสารผ่านโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และอาจเป็นที่มาของการเกิด Cyberbullying (การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์) แล้วเราจะจัดการ “Hate Speech” ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? 1.มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์กับผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง 2.มีความเห็นอกเห็นผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกเกลียดชังในโลกไซเบอร์ 3.รายงานการพบเห็นการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ผ่านช่องทางในสื่อสังคมออนไลน์ 4.สนับสนุนแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ให้ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายเพื่อลดอคติและการแบ่งแยกในสังคม ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)
คนเหยียบโลก
ผลงานหนังสั้นของเด็ก ๆ และเยาวชนจากโครงการ Young filmmakers of Thailand เนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นว่า ข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายในโลกออนไลน์ หลายครั้งก็เชื่อถือไม่ได้เสมอไป ตัวอย่างเช่นตัวละครในเรื่อง ที่หลงเชื่อข่าวเรื่องวันสิ้นโลก ทำให้ตัดสินใจก่ออาชญากรรม พาชีวิตตัวเองไปสู่จุดที่เลวร้าย
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน รู้เท่าทันสื่อ ICT
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอนนี้บอกถึงความสำคัญว่าทำไมเด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันสื่อ ICT นั่นเพราะทุกวันนี้โลกออนไลน์ก้าวไปอย่างรวดเร็ว มีมิจฉาชีพและภัยต่าง ๆ ในโลกออนไลน์ซ่อนอยู่ หากเราไม่รู้เท่าทัน ก็จะส่งผลร้ายทั้งต่อตัวเองและสังคมรอบข้าง