ปลูกต้นรัก (การอ่าน)
ปลูกต้นรัก(การอ่าน) เป็นหนังสือคู่มือแนวทางและเทคนิคการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสำหรับคุณครูและผู้ที่ทำงานด้านเด็ก เนื้อหาของหนังสือมาจากกิจกรรมส่งเสริมการรักการอ่านระดับตำบลโครงการปลูกต้นรัก(การอ่าน) ที่เชียงดาว โดยกิจกรรมได้ออกแบบและพัฒนาทำงานร่วมกับนักเรียนระดับประถมศึกษาจำนวน 7 โรงเรียน ได้หลักสูตรการสร้างสื่อสร้างสรรค์ การออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอ่านในโรงเรียน ทำให้การอ่านกลายเป็นเรื่องน่าสนใจ และมีความสุขสำหรับเด็ก ๆ
5 วิธีที่คุณครูจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก
การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียนครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียนนักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียน ครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน นักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา ที่มา: https://www.theguardian.com/teacher-network/2018/jan/17/bullying-is-still-rife-in-schools-heres-how-teachers-can-tackle-it
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่27 เดือนกุมภาพันธ์ 2560
เปิดข้อมูลและสถานการณ์โรคอ้วนในเด็กไทย สาเหตุหลักมาจากการรับประทานอาหาร ส่งผลถึงบทบาทของโรงเรียนและผู้ปกครอง ที่จะเป็นกลไกสำคัญทำให้เด็กไทยไม่อ้วน ด้วยการลดอาหารหวานมันเค็ม ปิดท้ายด้วยเรื่องเล่าประทับใจแสงสว่างกลาใจราษฎร์ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่28 เดือนมีนาคม 2560
รู้จัก 3 โครงการสร้างสรรค์ เปลี่ยนความคิดเล็ก ๆ ให้กลายเป็นพลังเปลี่ยนแปลงสังคมที่ยิ่งใหญ่ ทั้งโครงการอย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักผลไม้) การอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงในโครงการสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ระยะที่ 2 และปิดท้ายด้วยพลังจิ๋วแต่แจ๋ว สร้างนักสื่อสารสุขภาวะรุ่นใหม่ภาคใต้ ในโครงการคิดดีไอดอล
เม้าท์มอยคิดส์ โรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์
รายการเม้าท์มอยคิดส์ คลิปวิดีโอฝีกมือน้อง ๆ และคุณครูจากโรงเรียนเผือกอนุสรณ์ ตอนนี้เป็นเรื่องราวของ ภัยจากน้ำซ่าส์ สะท้อนพฤติกรรมรวมถึงให้ข้อมูลเตือนภัยการดื่มน้ำอัดลมที่เด็ก ๆ ชอบดื่มกันเป็นประจำ โดยที่ไม่เคยรู้ว่ามีภัยต่อสุขภาพเป็นผลข้างเคียง
รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์)
คลิปวิดีโอประมวลกิจกรรมของคุณครูและเด็กนักเรียนโรงเรียนวัดบางบอน (พิมพ์ จันแต้อุปถัมภ์) ภายใต้แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองตื่นรู้ เท่าทันสื่อ เท่าทันตนเอง เท่าทันสังคม
หนังสั้นโรงเรียนบ้านคลองหว้า เรื่องแปลงเกษตร ช่วยได้
หนังสั้นเรื่องราวของโรงเรียนบ้านคลองหว้า ที่เด็กนักเรียนมีปัญหาเรื่องของอาหารที่ไม่เพียงพอ แต่พอโรงเรียนได้ริเริ่มทำงานเกษตรสวนครัว ปลูกผัก เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงหมู โดยให้นักเรียนมาช่วยกันมีส่วนร่วม ก็ทำให้ประสบความสำเร็จแก้ไขปัญหานี้ไปได้ เด็ก ๆ มีความสุข มีอาหารรับประทานอย่างเพียงพอและครบทุกหมู่ตามหลักโภชนาการ
กิจกรรม Play Day คณะครูโรงเรียนเมืองคง
คลิปวิดีโอกิจกรรม Play Day คณะครูโรงเรียนเมืองคงนี้ เป็นการประมวลภาพกิจกรรมและสัมภาษณ์คุณครูและผู้บริหารของโรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) ที่ได้เข้าอบรมเรื่องการเล่นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก กิจกรรมครั้งนี้ทำให้คุณครูสะท้อนความรู้สึกว่าการเล่นมีผลดีต่อเด็ก ๆ ทำให้เกิดความสนุกและเพลิดเพลินในการเรียนรู้ได้พร้อมกัน เป็นเรื่องสำคัญ และทางโรงเรียนจะนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนให้กับเด็ก ๆ ต่อไป
stop motion ช้างน้อยเท่าทันสื่อตอน เท่าทันสาร ไม่รับสารข้างเดียว
คลิปวิดีโอ Stop motion ผลงานของโรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์ โดยสะท้อนและจำลองสถานการณ์การรับสื่อทางการเมืองอย่างไม่รู้เท่าทัน ก่อให้เกิดความขัดแย้งแบ่งสีแบ่งฝ่าย เกิดผลเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน ปัญหาความขัดแย้งเหล่านี้จะหมดไป ขอเพียงเราทุกคนเสพสื่ออย่างมีสติ รู้เท่าทัน ฟังข่าวสารรอบด้าน
stop motion "เพราะเราหรือ"
คลิปวิดีโอ Stop motion ฝีมือน้อง ๆ นักเรียนโรงเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม ให้ข้อคิดและสะท้อนสถานการณ์เด็กและเยาวชนไทยที่เพลิดเพลินไปกับการเล่นโซเชียลมีเดีย แบ่งเวลาไม่เป็น จนส่งผลให้เสียการเรียนและเสียสุขภาพ