จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่27 เดือนกุมภาพันธ์ 2560
เปิดข้อมูลและสถานการณ์โรคอ้วนในเด็กไทย สาเหตุหลักมาจากการรับประทานอาหาร ส่งผลถึงบทบาทของโรงเรียนและผู้ปกครอง ที่จะเป็นกลไกสำคัญทำให้เด็กไทยไม่อ้วน ด้วยการลดอาหารหวานมันเค็ม ปิดท้ายด้วยเรื่องเล่าประทับใจแสงสว่างกลาใจราษฎร์ น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9
ทัน 5 โรคฮิตคนติดโซเซียลมีเดีย
ยุคโซเชียลมีเดีย พบ 5 โรคฮิตที่ควรระวัง ทั้งโรคซึมเศร้า โรคละเมอแชท (Sleep-Texting) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคโนโมโฟเมีย (Nomophobia) กลัวการไม่มีมือถือ และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) การก้มมองและจ้องจอมากเกินไป ทั้งหมดนี้บำบัดได้ ขอเพียงเปิดใจยอมรับ ควบคุมเวลาเล่น และหางานอดิเรกอื่นๆ ทำ
จุลสารศิลป์สร้างสุข ฉบับที่ 33 เดือนกันยายน 2560
เรื่องเด่นในจุลสารศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ ไปรู้จักโครงการ "ปลุก - แปง (สร้าง) - ปั้น (รู้-ทำ-นำสุข)" Spark U ปลุกในเมือง โดยกลุ่ม "รวมใจคน 3 วัยไทเชียงคาน" ที่มีสมาชิกตั้งแต่วัยเด็ก วัยเยาวชน และผู้ใหญ่ มาร่วมกันแบ่งปันและสานต่อวัฒนธรรมที่รุ่มรวยของเชียงคานให้คงอยู่อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะประเพณีผีขนน้ำที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวเชียงคาน พร้อมเรื่องราวสร้างแรงบันดาลใจเพื่อสุขภาวะที่ดีอีกมากมาย ทั้งโรงเรียนไม่ซ่อนอ้วน และปั่น 3 ดีวิถีสุขที่ จ.พัทลุง ฯลฯ
ใจดีสู้สื่อ รู้ทันเครื่องมือเพื่อสุขภาพ 17May13
ใจดีสู้สื่อ ตอน รู้ทันเครื่องมือเพื่อสุขภาพ ชวนคนดูไปค้นหาข้อเท็จจริงว่า เครื่องมือเพื่อสุขภาพหรือเครื่องมือแพทย์ที่ปัจจุบันโฆษณากันตามสื่อต่าง ๆ นั้นมีความน่าเชื่อถือแค่ไหน กฎหมายที่ควบคุมเรื่องนี้มีความจริงจังเพียงใด ผ่ากลยุทธ์การตลาดที่เล่นกับความหวังอันน้อยนิดของผู้ป่วย ทำให้ต้องตกเป็นเหยื่อ หากเราไม่รู้เท่าทัน นอกจากเสียเงินโดยใช่เหตุแล้ว ยังอาจส่งผลเสียไปถึงสุขภาพและชีวิตของเราด้วย
ใจดีสู้สื่อ เอ็นไซม์ ละลายทรัพย์ 5Apr13
ใจดีสู้สื่อ ตอน เอ็นไซม์ละลายทรัพย์ ชวนคนดูรู้เท่าทันเรื่องของเอนไซม์ในอาหารเสริม ที่มักมีการโฆษณาชวนเชื่อว่ามีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพ รวมถึงบางครั้งยังอวดอ้างว่ารักษาโรคได้หลากหลาย สร้างความเข้าใจผิด หลงเชื่อผิด ๆ ในกลุ่มผู้บริโภค นอกจากต้องเสียเงินแพง ๆ ไปซื้อหามากินกันโดยใช่เหตุแล้ว บางครั้งยังทำให้คนป่วยเสียโอกาสในการรักษาและส่งผลร้ายต่อสุขภาพด้วย
ใจดีสู้สื่อ เท่าทันโฆษณายา 21June13
ใจดีสู้สื่อ ตอน เท่าทันโฆษณายา พาไปรู้จักกลยุทธ์โฆษณาขายยาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน จากหนังขายยาในอดีตเปลี่ยนมาเป็นโฆษณาขายยาในสื่อต่าง ๆ โดยภาพรวมมีการกำกับดูแลทำให้ผู้บริโภคปลอดภัยมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคก็ควรที่จะต้องศึกษาเรื่องนี้ ระวัง รู้เท่าทัน เพื่อการใช้ยาที่ถูกต้องและปลอดภัยต่อสุขภาพของเรา
พระอิน..เทอร์เน็ต ตอน พระอิน...แย่แล้ว
พระอิน...เทอร์เน็ต ตอน พระอิน...แย่แล้ว นำเสนอปัญหาของคนปัจจุบันที่เสพติดหน้าจอโทรศัพท์จนทำให้เกิดโรคภัยทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นโรคซึมเศร้า เปรียบเทียบชีวิตกับคนในโลกออนไลน์ อิจฉา เก็บกด ปวดคอ วุ้นนัยน์ตาเสื่อม ขาดสังคม พอขาดโทรศัพท์ก็หงุดหงิด ทำให้ชีวิตขาดความสุข เพราะไม่รู้เท่าทันการใช้โทรศัพท์มือถือและสื่อ ICT