การตลาดแบบตรงทางโทรทัศน์กลุ่มดิจิตอล HD
รายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ นับเป็น 1 ในรูปแบบธุรกิจการตลาดแบบขายตรง เป็นการขายสินค้าผ่านหน้าจอที่คนไทยคุ้นเคยมากว่า 20 ปี แต่ก็ยังคงมีคำถามถึงผลกระทบที่มีต่อสังคมและการเคารพกฎระเบียบข้อควรปฏิบัติที่ไม่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค มีเดียมอนิเตอร์จึงทำงานวิจัยชิ้นนี้ขึ้น เพื่อศึกษาถึงปริมาณ รูปแบบ และลักษณะของรายการแนะนำสินค้าทางโทรทัศน์ในกลุ่มโทรทัศน์ดิจิทัล (HD) โดยศึกษาทั้งหมด 7 ช่อง ครอบคลุมหน่วยการศึกษาทั้งวันธรรมดาและวันหยุด ผลสรุปมีทั้งเชิงปริมาณของรายการ กลยุทธ์ที่ใช้ในการขาย รวมไปถึงการดำเนินการตามกฎหมายและจริยธรรมทางวิชาชีพ ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลแก่สังคมและเพื่อต่อยอดนำสู่การกำกับดูแลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
หนังเล่าเรื่อง ตอน Good morning และ ครูคนใหม่
หนังเล่าเรื่องตอนนี้ มีหนังสั้น 2 เรื่องคือ Good morning และ ครูคนใหม่ ประเด็นการรณรงค์เลิกเหล้า ให้คนเห็นโทษภัยของเหล้า โดยเรื่องแรก Good morning เป็นผลงานของ นิติวัฒน์ ชลวณิชสิริ เล่าเรื่องเหล้าผ่านชีวิตของ looser ชายหนุ่มผู้พ่ายแพ้ต่อชีวิต ตกงาน เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ มีชีวิตที่เลวร้ายเพราะเหล้า แต่กลับมามีแรงบันดาลใจดี ๆ อยากเริ่มต้นชีวิตใหม่เมื่อได้พบสาวน้อยที่มาส่งนมเปรี้ยวหน้าบ้าน ภาพยนตร์สั้นเรื่องที่สองคือ ครูคนใหม่ เป็นผลงานของทีมฮักไอเดีย โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า จ.อุดรธานี เล่าเรื่องพิษภัยของเหล้าผ่านหนังผี เรื่องราวเมื่อครูคนใหม่ของโรงเรียนที่นักดื่มต้องอยู่เวรดึก พบครูคนเก่าของโรงเรียนที่โดดอาคารเรียนตายเพราะพิษภัยจากเหล้า ทำให้ครูคนใหม่ตัดสินใจเลิกเหล้าได้อย่างเด็ดขาด กลายเป็น "ครูคนใหม่" ผู้มีชีวิตใหม่ปลอดจากพิษภัยของเหล้าจริง ๆ
หนังเล่าเรื่อง ตอน ไกลลิบ นานเหลือ
รายการ Talk to Film นำเสนอภาพยนตร์สั้นเรื่อง "ไกลลิบ นานเหลือ" ผลงานของผู้กำกับมืออาชีพ "ศิวโรจน์ คงสกุล" หยิบเอาผลงานเขียนเล็ก ๆ ชื่อ "เงาของเมฆ" จดหมายรักทดลองเขียน โดย มหาสมุทร ในหนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง "ไกลลิบ นานเหลือ" มาต่อยอดเป็นภาพยนตร์สั้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจสำหรับเยาวชน ผ่านมุมมองมิตรภาพ การข้ามผ่านช่วงเวลาของชีวิต การเติบโต การจากลา ความผูกพันในเศษเสี้ยวเล็ก ๆ ของมิตรภาพที่ทุกคนล้วนต่างเคยมีประสบการณ์และพบพานมาในการข้ามผ่านแต่ละช่วงวัย รสชาติความเหงาที่เคล้ากับความสุข ที่ทำให้ทุกชีวิตล้วนเติบโต
หนังเล่าเรื่อง ตอน จนกว่าเราจะไม่พบกันอีก
จนกว่าเราจะไม่พบกันอีก ผลงานภาพยนตร์สั้นโดยผู้กำกับมืออาชีพ พัฒนะ จิรวงศ์ เป็น 1 ในผลงานจากโครงการภาพยนตร์สั้นเพื่อสร้างแรงบันดาลใจต่อสังคม ผู้กำกับหยิบเอาเนื้อหาบางส่วนจากหนังสือเรื่อง 'จนกว่าเราจะพบกันอีก' ของศรีบูรพามาเป็นแรงบันดาลใจสร้างสรรค์ เนื้อหาภาพยนตร์เล่าถึงคู่รักหญิง-หญิง แหวนและกาน สลับช่วงเวลาระหว่างปี 2539 และ ปี 2580 แก่นของเรื่องว่าด้วยการต่อสู้เพื่อก้าวข้ามกรอบความคิด ความเจ็บแค้น การให้อภัย และการอโหสิกรรมแก่ผู้ที่ทำผิด ผ่านความรุนแรงในสังคมทั้งการข่มขืนและฆาตกรรม
หนังเล่าเรื่อง ตอน สัตว์สองนอ (ตอนจบ)
ภาพยนตร์สั้น "สัตว์สองนอ" ตอนจบ เมื่อไพรวัลย์และสันต์เดินเข้าป่าตามล่าหาแรด หนึ่งคนเพื่อตัดนอแรดเพื่อช่วยชีวิต อีกหนึ่งคนเพื่อต้องการภาพให้ได้ข่าว เกิดเป็นคำถามว่าแท้จริง "ชีวิต" และ "นอ" อะไรสำคัญกว่ากัน แรดอาจต้องการนอ เช่นเดียวกับมนุษย์ต้องการลาภ ยศ สรรเสริญ การพรางแรดด้วยการตัดนอแม้ด้วยความหวังดี แต่อาจหมายถึงการกำลังโกงความเป็นจริง มนุษย์เองอาจเป็นสัตว์ที่มีมากกว่า 1 นอ ท้ายสุดเราอาจกำลังพรางตัวเอง โกงความจริงด้วยการหลอกตัวเองอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
หนังเล่าเรื่อง ตอน สัตว์สองนอ (ตอนแรก)
"สัตว์สองนอ" บทประพันธ์โดย บินหลา สันกาลาคีรี ถ่ายทอดเป็นภาพยนตร์โดย ปราโมทย์ แสงศร เนื้อเรื่องสะท้อนย้อนแย้งแนวคิดความเป็นมนุษย์เปรียบเทียบกับนอของแรด เรื่องราวเริ่มต้นเมื่อ "ไพรวัลย์" สัตวแพทย์ตัดสินใจเข้าป่าล่าแรดยักษ์ร่วมกับ "สันต์" เพื่อนนักข่าวที่เป็นมิตรภาพตั้งแต่วัยเยาว์ โดยไพรวัลย์หวังที่จะตัดนอแรดและย้อมสีผิวหนังแรดเพื่อรักษาชีวิตของแรดไว้ไม่ให้ถูกล่า
หนังเล่าเรื่อง ตอน มอเตอร์ไซค์
"มอเตอร์ไซต์" คือ ภาพยตร์สั้นที่ผู้ประพันธ์และผู้เขียนร้อยเรียง เชื่อมโยงภาพยนตร์สั้น ในโครงการ “หนังเล่าเรื่องโกง” ไว้ด้วยกัน เพื่อตอกย้ำให้ทุกคนในสังคมได้ตระหนักว่าปัญหาการคอร์รัปชั่น ไม่ได้เกิดขึ้นแค่วงการใดวงการหนึ่ง แต่มันอยู่ในทุกส่วนของบริบทสังคม ไม่ว่าคุณจะตัวใหญ่ล้นฟ้า หรือต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ถ้าคุณโกง วันหนึ่งผลของมันสะท้อนกลับจะมาหาคุณแน่นอน ไม่ใช่แค่ประเทศชาติล่มจม ประชาชนเดือดร้อน แต่สักวันหนึ่งตัวเรานั่นแหละจะเจอผลกระทบจากการคอร์รัปชั่นนั้นเอง...ไม่ช้าก็เร็ว....
หนังเล่าเรื่อง ตอน พันธภาวะ
ภาพยนตร์สั้น "พันธภาวะ" นำเสนอจุดย้อนแย้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชน ที่มีพันธกิจหน้าที่ในการทำงานต่อสู้เพื่อสังคม เป็นปากเป็นเสียงให้ชาวบ้านที่เดือดร้อน ทว่าเบื้องหลังการทำงาน สิ่งที่ได้เห็น กลับมีมุมด้านมืดบางอย่าง ทำให้ตัวละครตกอยู่ในภาวะการตัดสินใจที่ผิดเพี้ยน ภาพยนตร์ปลุกให้คนดูได้ฉุกคิดถึงความมืดในความสว่าง การโกงในอีกรูปแบบหนึ่งที่มีข้ออ้างและเหตุผลให้ผู้กระทำเกิดความรู้สึกว่าการโกงเป็นเรื่องชอบธรรมและไม่ผิดในสังคม
หนังเล่าเรื่อง ตอน สมปองนักข่าวแห่งตำนาน
"สมปอง นักข่าวแห่งตำนาน" ภาพยนตร์สั้นสะท้อนภาพการโกง แต่เป็นการโกงในด้านจรรยาบรรณ การทุจริตต่อวิชาชีพ ไม่ได้วัดกันที่ตัวเงินแต่วัดกันที่ความรับผิดชอบต่อสังคม ภาพยนตร์แสดงเรื่องของความรู้สึก บอกเล่าผ่านอาชีพ “นักข่าว” ที่จำเป็นต้องทำเสนอข้อเท็จจริง ภาพยตร์สั้นเดินเรื่องแนวตลกเสียดสีให้ผู้ชมได้ฉุกคิดเรื่องราวต่าง ๆ กับจรรยาบรรณและจริยธรรม
หนังเล่าเรื่อง ตอน ละมูล ตำนานเพลงพื้นบ้าน
ภาพยตร์สั้น เล่าเรื่องชีวิตของยายละมูล ครูเพลงอาวุโส ที่รักและขับร้องบทเพลงไทยเบิ้ง เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นบ้านของชุมชนบ้านสลุง กับหลานสาวที่ตระเวนออกไปหาคุณตาคุณยายรุ่นเดียวกันกับยายละมูล เพื่อชักชวนมาเปิดการแสดงขับร้องเพลงไทยเบิ้งให้เยาวชนคนหนุ่มสาวได้ฟัง เพื่อจะเกิดความรักและสืบสานเพลงไทยเบิ้งต่อไป แต่ทว่าวันแสดงกลับไม่มีทั้งผู้ขับร้องและผู้ชมมาแม้แต่คนเดียว หรือนี่จะเป็นลมหายใจเฮือกสุดท้ายของเพลงพื้นบ้านไทย
หนังเล่าเรื่อง ตอน หิ้ว
หิ้ว คือ คำศัพท์ในกระบวนการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในวงการการเมือง เมื่อคนโกงบ้านโกงเมือง 2 ฝ่าย ไม่อยากให้ตนเองเดือดร้อน ก็จะมีการว่าจ้าง คนกลาง ให้มาทำหน้าที่เป็น “คนหิ้ว” ท้ายสุดภาพยนตร์ก็แสดงให้เห็นว่าการโกงนั้นเกิดขึ้นได้ง่ายดาย เมื่อกิเลสมันเรียกร้อง ความอยากได้ ทั้งที่รู้ทั้งรู้ว่าเป็นเงินที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นกระบวนการโกงเป็นทอดๆ ไม่มีสัจจะในหมู่โจร
หนังเล่าเรื่อง ตอน ม่าเหมี่ยว...ถุงนั้น
ม่าเหมี่ยว...ถุงนั้น เป็นผลงานหนึ่งในภาพยนตร์สั้นที่เกิดในโครงการเล่าเรื่องโกง 1 และ โครงการเล่าเรื่องโกง 2 ที่ระดมเหล่านักเขียนและผู้กำกับ ร่วมมือกันสร้างสรรค์ ตีแผ่ สะท้อนถึงปัญหาคอร์รัปชั่นที่เป็นต้นตอของปัญหาทั้งมวล ซึ่งปัญหานี้อาจเริ่มจากจุดเล็กๆ ที่เห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น การขโมยชมพู่ม่าเหมี่ยวของเด็กชายเชษฐ์และนุ้ยที่โรงเรียน จนถูกคุณครูจับได้ แต่ท้ายสุดผู้ใหญ่ที่พร่ำสอนก็กลับเผลอเรอเป็นคนทำเสียเอง