trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "โซเชียลมีเดีย" พบ 20 ข้อมูล

5 โรคฮิตจากโซเชียลมีเดีย

ยุคโซเชียลมีเดีย พบ 5 โรคฮิตที่ควรระวัง ทั้งโรคซึมเศร้า โรคละเมอแชท (Sleep-Texting) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคโนโมโฟเมีย (Nomophobia) กลัวการไม่มีมือถือ และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) การก้มมองและจ้องจอมากเกินไป ทั้งหมดนี้บำบัดได้ ขอเพียงเปิดใจยอมรับ ควบคุมเวลาเล่น และหางานอดิเรกอื่นๆ ทำ

อันตรายจากปีศาจร้ายโลกไซเบอร์

เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วทันใจ แต่ในข้อดีของความสะดวกรวดเร็วนั้น ก็มีข้อเสียและภัยร้ายที่สามารถเข้าถึงตัวเราได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในปี 2555 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ตมีสูงถึง 62% และมีแนวโน้มว่าอาชญากรทาง อินเทอร์เน็ตจะมีเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตควรศึกษาและหาวิธีดูแลความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนตกเป็นเหยื่อ เช่น การตั้งรหัสยากๆ สำหรับ user ในเว็บต่างๆ เช็คความปลอดภัยก่อนโอนเงินผ่าน  อินเทอร์เน็ตไม่ควรโหลดโปรแกรมจากคนหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ลบข้อมูลเว็บบราวเซอร์หลังจากใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลจากอาชญากรทางอินเทอร์เน็ต

ชีวิตติดสื่อ

คลิปวิดีโอสรุปสถานการณ์ชีวิตติดสื่อของเด็กและเยาวชนไทย โลกดิจิทัลทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อ Social Media มากกว่าการอ่าน และการเรียนหนังสือในห้องเรียนไปเสียแล้ว ชีวิตติดสื่อจึงเป็นวิกฤติที่น่าเป็นห่วง เพราะใน Social Media เหล่านั้นมีการเผยแพร่กันทั้งเว็บอนาจาร ข่าวไม่จริง เนื้อหาที่สร้างค่านิยมผิดๆ เมื่อเด็กและเยาวชนเสพมากเกินไป จะส่งผลกระทบให้เกิดการลอกเลียนแบบ หากไม่มีการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ อยากรู้เท่าทันสื่อ

โครงการวิจัยเรื่องพฤติกรรมการใช้สื่อใหม่ของวัยรุ่น อายุระหว่าง 10-19 ปี

การเปลี่ยนแปลงของการสื่อสาร ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตของคนในยุคปัจจุบันอย่างรวดเร็ว ทำให้หลายประเทศทั่วโลก ต่างหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่องของสื่อใหม่กับอิทธิพลที่มีต่อเด็กและเยาวชน งานวิจัยชิ้นนี้แตกต่างจากงานวิจัยที่ผ่านมา เนื่องจากมีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 ช่วงตามกระบวนการเรียนรู้ทางการศึกษาอย่างชัดเจนคือ ประถมศึกษาปลาย มันธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ทำให้ผลวิจัยเป็นข้อมูลสำคัญให้หน่วยงานด้านเด็กและเยาวชนได้นำมาใช้ทบทวน ประเมินสถานการณ์ อันจะนำไปสู่การดำเนินงานพัฒนากระบวนการเรียนรู้ทักษะการรู้เท่าทันสื่อให้เด็กได้อย่างเหมาะสม

อินโฟกราฟิก การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น ปี 2560

ผลสรุปรายงานการศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่นปี 2560 แบบเข้าใจง่ายๆ ด้วยรูปแบบอินโฟกราฟิก ชี้ว่าการรังแกกันบนโลกออนไลน์ ทั้งการจับกลุ่มนินทา การส่งรูปภาพไปก่อกวน การคุกคามทางเพศ การแอบอ้างสวมรอย การลบหรือบล็อคผู้อื่นอย่างไม่มีเหตุผล พบเยาวชนไทยอายุ 13-18 ปี  เกิน 2 ใน 3 เคยเป็นผู้กระทำและผู้ถูกเคย ซึ่งเกิดผลกระทบทำให้เครียด กังวล หวาดกลัว และอับอาย  โดยทางแก้ไขจำเป็นต้องอาศัยทั้งตัวเยาวชน ผู้ปกครอง พ่อแม่ ค่อยเป็นหูเป็นตา สอดส่องให้ใช้งานสื่อโซเซียลอย่างสร้างสรรค์

การศึกษาความรุนแรงทางโซเชียลมีเดียและการรับรู้ของวัยรุ่น

งานวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบ การรับรู้ ผลกระทบและวิธีการจัดการปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทยในสื่อโซเชียลมีเดีย สืบเนื่องจากสถานการณ์การรับสื่อของวัยรุ่นที่เปลี่ยนไป เมื่อก่อนพ่อแม่ และผู้ปกครองมักจะวิตกกังวลเรื่องสื่อโทรทัศน์ ว่าจะส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก  ทว่าสื่อที่อยู่ใกล้ตัวเด็กและวัยรุ่น ซึ่งมีอิทธิพลมากที่สุดในเวลานี้ คือสื่อ Social Media เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่าในยุคสื่อดิจิทัล ไม่มีเด็กคนไหนเลยที่ไม่เคยเล่นอินเทอร์เน็ต ดูสื่อต่างๆ ผ่านช่องทางนี้ ผลการศึกษาพฤติกรรมเด็กและวัยรุ่นครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกับกลุ่มเด็กวัยรุ่น อายุ 14 – 16 ปี ด้วยข้อมูลทางเอกสาร และการสนทนากลุ่ม  เก็บความคิดเห็นมาเป็นเข็มทิศนำทางแบบ 360 องศา  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและควบคุมรูปแบบสื่อต่าง ๆ ทาง Social Media ต่อไป

ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

บทความนี้พูดถึงความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งในกลุ่มผู้ใช้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีจิตใจอ่อนไหวเปราะบาง ผู้ติดสุรายาเสพติดและผู้ป่วยโรคร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการฆ่าตัวตายจากความเปราะบางทางจิตใจและความหุนหันพลันแล่น โดยแนะนำให้เฝ้าระวังและยึดหลัก 4 “อย่า” คือ 1 อย่าท้าทาย 2 อย่าใช้คำพูดเยาะเย้ย 3 อย่านิ่งเฉย 4 อย่าส่งข้อความหรือเผยแพร่ภาพการฆ่าตัวตายเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลอกเลียนแบบ และ 3 “สิ่งที่ควรทำ” คือ 1 ควรห้าม 2 ควรชวนคุยไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว 3 ควรติดต่อหาทางช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด

1 วันของเด็กในโลกมือถือ

ข้อมูลจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 พบเด็กมีพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือ สูงขึ้น 2-3 เท่า ภายใน 1 ปี ส่วนใหญ่ใช้เพื่อเล่น Social Media ร้อยละ 75.7 และร้อยละ 42.5 รู้สึกทนไม่ได้ถ้าอยู่ลำพังโดยไม่มีโทรศัพท์มือถือ

ใจดีสู้สื่อ ตอน ข่าว

ข่าว คือ การนำเสนอข้อเท็จจริง ทว่าด้วยปัจจุบันช่องทางการสื่อสารมีมากมาย และรวดเร็วขึ้น บางครั้งการนำเสนอข่าวจึงนำมาจาก Social Media ขาดการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วน หรือบางทีสำนักข่าวต่างๆ อาจได้รับอิทธิพลจากผู้สนับสนุนธุรกิจสื่อหลัก จึงทำให้บางครั้งเนื้อหาข่าวกลายเป็นเครื่องมือเพื่อการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา

SMS กินตังค์ รู้ทันก่อนโดนโกง

ยุคโซเชียลมีเดีย มีSMS โหลดเกม โหลดภาพน่ารัก ข้อความส่งเสริมการขายมากมาย บนโทรศัพท์มือถือ เผลอกดสมัคร โดนหักสตางค์ไม่รู้ตัว วิธีแก้ให้โทร. ไป Call Center ของเครือข่ายที่ใช้บริการ และอย่าลืมอ่านข้อความด้วยสติทุกครั้ง ก่อนกดรับ กดไลก์ กดแชร์

ทัน 5 โรคฮิตคนติดโซเซียลมีเดีย

ยุคโซเชียลมีเดีย พบ 5 โรคฮิตที่ควรระวัง ทั้งโรคซึมเศร้า โรคละเมอแชท (Sleep-Texting) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคโนโมโฟเมีย (Nomophobia) กลัวการไม่มีมือถือ และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) การก้มมองและจ้องจอมากเกินไป ทั้งหมดนี้บำบัดได้ ขอเพียงเปิดใจยอมรับ ควบคุมเวลาเล่น และหางานอดิเรกอื่นๆ ทำ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.