สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP4 Mental Garden กับการใช้ชีวิต
การดูแลจิตใจให้เหมือนดูแลสวนหลังบ้าน หรือ Mental Garden เป็นสิ่งที่เราต้องปฏิบัติให้เป็นกิจวัตรในชีวิตประจำวัน ไม่ใช่การแยกระหว่างการปฏิบัติติธรรมกับการใช้ชีวิต การที่เราสามารถกำจัดวัชพืช-อกุศลในใจจากความโกธร หลง ความคิดฟุ้งซ่านต่าง ๆ ก็มิได้รับประกันว่าโจรหรือกิเลส อกุศลต่าง ๆ จะไม่เข้ามากระทบใจเรา เราจำเป็นต้องมีสติ เจริญภาวนา และทำสมาธิเสมอ เพื่อให้ทุกสภาวะของจิตเป็นกลางตลอดเวลา
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP3 Mental Garden ดูแลจิตใจแบบดูแลสวนหลังบ้าน
การดูแลใจให้เหมือนดูแลสวนหลังบ้าน แนวคิดนี้ เพื่อเป็นการชำระล้างใจให้เบา สบาย คลายความวิตกกังวล เหตุที่เปรียบกับสวนหลังบ้าน เพราะการปฏิบัติธรรม หรือการเจริญภาวนา เพื่อปรับใจให้คลายทุกข์และเป็นสุข ไม่จำเป็นต้องจัดสวนหน้าบ้านไว้โออวดใคร การหมั่นกำจัดวัชพืชในสวนหลังบ้าน เสมือนการนำเอา “อกุศล” ออกจากใจ โดยยึดหลัก ของใหม่ไม่เอาเข้า - ของเก่าให้นำออก และหมั่นดูแลดอกไม้เล็กที่เป็นกุศลให้เติบโตในใจของเราเอง
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP2 New Normal ของใจที่ได้จากโรคโควิดคืออย่างไร
หลังวิกฤติการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 โรคอุบัติใหม่ ทุกคนได้ปรับเปลี่ยนชีวิตสู่รูปแบบการใช้ชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal กันมากมาย แล้วเมื่อพูดถึง New Normal ของใจ ทุกคนรู้ไหมว่าคืออะไร ? การดูแลใจในรูปแบบของ New Normal คือการติด “เซนเซอร์ที่ใจ” ทำให้ใจมีการใคร่ครวญ ตอบสนองด้วยสติและปัญญา ไม่ทำอะไรรวดเร็วตามอารมณ์ ตามอัตโนมัติวูบไปวาปมา New Normal ของใจต้องตระหนักรู้-ยอมรับ-กลับสู่ความจริง
สุขสัญจรออนไลน์ สู้ภัยโควิด EP1 การยอมอย่างไม่มีเงื่อนไข คือการปล่อยวางที่แท้จริง
เชื่อว่าในช่วงชีวิตของคนเราต้องมีการเผชิญกับสิ่งที่กังวลและหวาดกลัว การต่อสู้ หรือวิ่งหนีความกลัวเหล่านั้นใช่ทางออกที่แท้จริงหรือไม่ ? รศ. นพ. ชัชวาล ศิลปะกิจ ผู้อำนวยการศูนย์จิตตปัญญาศึกษา ได้ให้ข้อคิดกับทุกคนที่ต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ ของชีวิต คือ “การยอมรับความจริงอย่างไท่มีเงื่อนไข คือการปล่อนวางอย่างแท้จริง เพื่อเรียกสติว่าเราจะลุกขึ้นสู้ใหม่อย่างไร เหมือนเราอยู่ในทะเล หากมีคลื่นมา ก็แค่ประคองตัวไปกับคลื่นนั้นให้ผ่านไปได้ เราไม่ได้มีหน้าที่ทำให้คลื่นสงบ
E-book ถอดบันทึก สุขสัญจรออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom
ช่วงวิกฤตโควิด -19 ระยะแรก มาตรการควบคุมโรคทําให้กิจกรรมต่าง ๆ ไม่สามารถดําเนินไปได้อย่าง ปกติ ต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ทํางานจากบ้าน ใส่หน้ากากอนามัย กิจการ ห้างร้านต้องปิดลงชั่วคราว โครงการหรือกิจกรรมอบรม สัมมนาต่าง ๆ ถูกยกเลิก หรือเลื่อนไปอย่างไม่มีกําหนด ทั้งหมดนี้ส่งผลกระทบ ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสํานักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดกิจกรรมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการดําเนินชีวิตในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา โดยมี เภสัชกรหญิง ชรรินชร เสถียร ผู้ช่วยอาจารย์ประจําศูนย์จิตตปัญญาศึกษา เป็นผู้ริเริ่มและบริหารจัดการ เนื้อหาหลัก ๆ แบ่งเป็นสองช่วง ๆ ละ 4 ตอน ช่วงแรกเกี่ยวกับการเผชิญภาวะวิกฤต และช่วงที่สองเกี่ยวกับ ชีวิตวิถีใหม่ ในรูปแบบการบรรยายร่วมกับการตอบคําถาม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ยุพิน ประเสริฐพรศรี
ยุพิน ประเสริฐพรศรี หรือ เมย์ นักวิจัยอิสระทางด้านสังคมศาสตร์ และเป็นกระบวนกรเพื่อพาคนฝึกฝนด้านการเติมเต็มพลังชีวิต การตื่นรู้และการเยียวยา ได้ร่วมแบ่งปันมุมมอง “การตื่นรู้” ที่ได้จากการเรียนรู้พลังธรรมชาติ การฝึกฝนตัวเองบนวิถีแห่งการภาวนา การเจริญสติ เพื่อสร้างการตระหนักรู้ รู้สึกตัว ไม่โอนเอียนไปกับกระแสแห่งการบริโภคจนเกินตัวและเข้าใจความหมายของชีวิตในการดำรงอยู่ เพื่อปรับตัวยอมรับการเปลี่ยนแปลงและก้าวข้าม
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ดร.เมธา หริมเทพาธิป
ดร.เมธา หริมเทพาธิป อาจารย์ประจำหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาและเลขาธิการมูลนิธิสหธรรมมิกชน บทสนทนามุมมองเส้นทางการ ”ตื่นรู้” การมี ”สติ” มี “ความรู้สึกตัว” ตื่นเพื่อเข้าถึงความเป็นธรรมดาที่เรียบง่ายที่สุด ตื่นเป็นคนธรรมดาคนหนึ่งที่อยู่กับปัจจุบัน มีความรักและพลังบวกที่สามารถมอบให้กับคนรอบข้างได้อย่างจริงใจ แม้ดูเหมือนเป็นจุดเริ่มต้นเล็กๆ แต่แก่นแท้แล้ว คือสิ่งที่งดงามและทรงพลังที่สุด
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ภัทรมน วิเศษลีลา
คุณภัทรมน วิเศษลีลา เจ้าของบ้านไม้หอม พระราม 2 บ้านหลังงามท่ามกลางธรรมชาติ ที่เปิดบ้านให้กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้ “ตัวเอง” ได้ร่วมแบ่งปันเรื่อราวเส้นทางสู่การตื่นรู้ “ความรู้สึกตัว” เท่านั้น ที่เป็นมิตรแท้ ที่ช่วยให้ก้าวข้ามความยากในชีวิตไปได้ เพราะเมื่อตื่นรู้ตัว เกิดการยอมรับ ความเข้าใจ ความคิดจะไม่พาไปฟุ้ง ปรุง หรือ แต่ง ไม่ติดอยู่กับอดีต ไม่กังวลกับอนาคต เพราะความสุขเกิดขึ้น ณ ที่ปัจจุบันขณะ
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ตา สุรางคนา สุนทรพนาเวช
ตา-สุราคนา สุนทรพนาเวช อดีตรองนางสาวไทย และดารานักแสดงผู้มากฝีมือ เคยผ่านช่วงเวลาความเป็นความตายด้วยการเป็นมะเร็งที่ท่อน้ำดี ความทุกข์ทรมานในครั้งนั้น จึงคิดว่าการเกิดทำใหเป็นทุกข์ แต่เมื่อได้รับโอกาสจึงตัดสินใจศึกษาธรรมะอย่างจริงจัง และเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธิสหธรรมมิกชน เพื่อศึกษาเรื่องการตื่นรู้ หรือ การกลับมาอยู่ภายในตนเอง กลับมาอยู่กับตนเองอย่างซื่อตรง
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร
เมย์ลภัส บุญสิทธิ์วิจิตร ผู้บริหารโค้ชชิ่ง (จิตตปัญญาศึกษา) ครั้งหนึ่งในอดีตเคยคิดสงสัยในชีวิตว่าเราเกิดมาทำไม จนกระทั่งวันหนึ่งได้มารับหน้าที่แม่ จากที่เคยคิดว่าชีวิตประสบความสำเร็จสามารถโค้ชผู้อื่นได้ แต่กับตนเองในความเป็นแม่ ได้แต่สงสัยว่า “ฉันจะเป็นแม่ที่ดีได้อย่างไร?” มันไม่มีกฎตายตัวเลย จึงเริ่มหันมาอยู่กับตัวเอง ฝึกฝนการภาวนา เปิดตาภายใน จึงพบว่าเราไม่รู้ แล้วทำอย่างไรจึงรู้ นั่นคือ การตื่นรู้คือการกลับมาสัมผัสกับธรรมชาติของใจเราอย่างซื่อตรง ยอมรับว่า “ลูกไม่ใช่ของเรา” จากนั้นก็ต้อนรับกับความจริงว่า “แม่อาจมีอิทธิพลในการเติบโตของลูกทั้งกายและใจ แต่ก็ไม่มีอำนาจใดที่จะเปลี่ยนแปลงความเป็นปัจเจกของลูกได้ ...การเป็นแม่จึงค้นพบความตื่นรู้ในใจตน...
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - โซโนโกะ พราว
โซโนโกะ พราว สาวลูกครึ่งญี่ปุ่น จีน ไทย ผู้นำศิลปะมาเป็นหนทางการพัฒนาตนเองสู่การตื่นรู้ เพราะเชื่อมั่นว่ามนุษย์ทุกคนล้วนอยู่ท่ามกลางความสัมพันธ์ สัมพันธ์กับตนเอง สัมพันธ์กับผู้อื่น สัมพันธ์กับโลกและจักรวาล การตื่นรู้จะทำให้เราตอบสนอง (Respond) และ สร้างสัมพันธ์ (Relate) กับสิ่งรอบตัวได้อย่างอิสระและมีความสุข การตื่นรู้ทำให้เราสัมผัสโลกได้อย่างเต็มตา อย่างเต็มใจและเต็มเปี่ยม
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - ดร.อรุโณทัย ไชยช่วย
จากนักเยียวยา (Healer) ที่บำบัดช่วยเหลือผู้อื่นด้วยศาสตร์ของ Minddala และ Mindtangle ดร. อรุโณทัย ไชยช่วย หรือ ครูเอ๋ ยังได้แบ่งปันประสบการณ์ของการตื่นรู้ ว่า “เพียงลืมตาภายใน ใจก็ถูกปลุกให้ตื่นรู้” ทุกคนสามารถสัมผัสและเข้าถึงการตื่นรู้ได้อย่างเท่าเทียมกัน การตื่นรู้เป็นธรรมดา เป็นธรรมชาติ ให้เราอยู่กับขณะจิต ณ ปัจจุบันอย่างเป็นจริง โดยหลุมพรางที่เป็นอุปสรรคสำคัญของการตื่นรู้ คือ “อัตตา” การยึดมั่นถือมั่น ในตัวกูของกู ถ้าเรายังไม่มีการตื่นรู้ก็จะยึดติดอยู่ใน “ความอยาก” สร้างตัวตนในความหลง และก็จะทุกข์ไปกับความจริงที่จอมปลอมนั่นเอ ง