รายงานผลการศึกษา โครงการจัดทำคู่มือสิทธิเด็กกับแนวทางปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์
งานวิจัยที่ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา ผลกระทบประเด็นการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางจัดทำคู่มือการปกป้องสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากปัญหาที่คุกคามเด็กทางสื่อออนไลน์ มักมาในรูปแบบของการโฆษณาแฝง การกลั่นแกล้งกันทางอินเทอร์เน็ต การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยในยุคสังคม 4.0 ที่การสื่อสารทันสมัยด้วยระบบดิจิทัล พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถกันเด็กๆ ออกจากสื่อ Social Media ได้ ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการวิจัยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการริเริ่มโคงการจัดทำคู่มือหรือแนวทางการปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการดูแลเอาใจใส่ พูดคุย และทำความเข้าใจสื่อสารกับเด็ก ๆ ได้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน
stop motion ช้างน้อยเท่าทันสื่อตอน เท่าทันสาร ไม่รับสารข้างเดียว
คลิปวิดีโอ Stop motion ผลงานของโรงเรียนคชเผือกอนุสรณ์ โดยสะท้อนและจำลองสถานการณ์การรับสื่อทางการเมืองอย่างไม่รู้เท่าทัน ก่อให้เกิดความขัดแย้งแบ่งสีแบ่งฝ่าย เกิดผลเสียหายต่อความสัมพันธ์ระหว่างกัน ปัญหาความขัดแย้งเหล่านี้จะหมดไป ขอเพียงเราทุกคนเสพสื่ออย่างมีสติ รู้เท่าทัน ฟังข่าวสารรอบด้าน
แผ่นพับโครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ICT 54
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงสื่อข้อมูลต่างๆ ล้วนเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งสื่อที่นำเสนอผ่านช่องทางต่างๆยังมีอิทธิพลทั้งในด้านบวกและลบต่อความคิด ทัศนคติ พฤติกรรม ของผู้คนซึ่งรวมไปถึงเด็กและเยาวชนในสังคม โครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ICT เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนมุ่งสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้จักคิดวิเคราะห์และ ”เลือกสื่อ” ที่สร้างสรรค์เหมาะสมกับช่วงวัย โดยได้จัดการสัมมนาและนิทรรศการผลงานสื่อสร้างสรรค์โดยเด็กและเยาวชน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ให้กับนักเรียนและโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการทั่วประเทศ
แผ่นพับโครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ICT(สสย) ปี2555
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารและการเข้าถึงสื่อข้อมูลต่างๆ ล้วนเป็นเรื่องง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งสื่อที่นำเสนอผ่านช่องทางต่างๆยังมีอิทธิพลทั้งในด้านบวกและลบต่อความคิด ทัศนคติ พฤติกรรม ของผู้คนซึ่งรวมไปถึงเด็กและเยาวชนในสังคม โครงการเด็กไทยรู้เท่าทันสื่อ ICT เป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนมุ่งสร้างการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน เพื่อให้เด็กและเยาวชนรู้จักคิดวิเคราะห์และ ”เลือกสื่อ” ที่สร้างสรรค์เหมาะสมกับช่วงวัย โดยได้จัดการสัมมนาและนิทรรศการผลงานสื่อสร้างสรรค์โดยเด็กและเยาวชน รวมถึงกิจกรรมต่างๆ ให้กับนักเรียนและโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการทั่วประเทศ
อินโฟกราฟฟิค ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เรื่องขั้นตอนการทำโครงการ
หนึ่งในเครื่องมือของการสร้างทักษะการเรียนรู้ในยุคศตวรรษที่ 21 คือการทำโครงงาน ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลักคือ การเตรียมความพร้อม การคิดและเลือกหัวข้อ การเขียนเค้าโครง การปฏิบัติโครงงาน การนำเสนอโครงงาน และการประเมินผลโครงงาน เป็นกระบวนการที่ช่วยให้เด็กและเยาวชนได้ทั้งฝึกคิด ฝึกตั้งคำถาม รู้จักทำงานเป็นทีม เรียนรู้จากสิ่งรอบตัว และกล้าแสดงออกอย่างสร้างสรรค์
รู้จักมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย
คลิปวีดีโอแนะนำมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ที่จัดตั้งขึ้นด้วยความตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบของสื่ออินเทอร์เน็ตที่มีต่อเยาวชนไทย ทำหน้าที่ให้ความรู้ ชี้แจง ส่งเสริมสนับสนุนองค์ความรู้และพัฒนากิจกรรมที่จะทำให้เยาวชน พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครูและโรงเรียนได้เข้าใจและเกิดศักยภาพการรู้เท่าทันสื่อไอซีทีอย่างรอบด้าน ผ่าน 3 ภารกิจหลักคือ 1. ขับเคลื่อนนโยบายการใช้ ICT อย่างสร้างสรรค์ ปลอดภัย และรู้เท่าทัน 2. พัฒนาศักยภาพด้าน ICT ให้กับเด็ก เยาวชน คนพิการ และผู้สูงอายุ และ 3. ส่งเสริมการใช้ ICT เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในงานพัฒนาสังคม