พิการเศษ โดย ทีมTM Production มหาวิทยาลัยบูรพา
คุณคิดว่าความต้องการของคนพิการ คือ "ความสงสาร" หรือ "ให้มองพวกเขาแบบคนปกติทั่วไป" มาค้นหาคำตอบในวิดีโอนี้กันครับ ผลงานสร้างสรรค์เรื่อง "พิการเศษ" ในประเด็น "กลุ่มอ่อนไหวและเปราะบาง" จาก TM Production มหาวิทยาลัยบูรพา
หนูชื่อ..ยูโร (I am not France) รร.อยุธยานุสรณ์ จ.พระนครศรีอยุธยา
"หนู" เป็นคำเรียกแทนตัวเอง ไม่ว่าชายหรือหญิง และใครที่กำลังคิดว่าคำว่า “หนู”จำกัดเพศการเรียกแทนตัวเอง เราอยากให้คุณได้ติดตามภาพยนตร์สั้นสะท้อนปัญหาความเปราะบางในครอบครัว “ความเหงา ความเศร้า ความสุข” ไปด้วยกัน ผลงานสร้างสรรค์เรื่อง "หนูชื่อ...ยูโร (I am not France)" ในประเด็น "กลุ่มอ่อนไหวและเปราะบาง" จากโรงเรียนอยุธยานุสรณ์ จ. พระนครศรีอยุธยา
อ่อลางมอแกน
“อ่อลางมอแกน” โดยแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุข ศสส. เป็นการถอดบทเรียนองค์ความรู้และถ่ายทอดเรื่องราวกระบวนการการใช้สื่อศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นมาบูรณาการเพื่อพัฒนาเยาวชนและชุมชนชาวมอแกนในพื้นที่จังหวัดพังงาและจังหวัดระนอง ในโครงการเด็กอันดามันสร้างสุข (อ่อลางมอแกน) ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของปราชญ์พื้นบ้านชาวมอแกน ศิลปิน แกนนำชุมชนมอแกน คณะทำงานเยาวชนมอแกน องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน โดยได้นำการละคร สื่อศิลปะพื้นบ้านมาเป็นตัวเชื่อมร้อยมิติสุขภาวะทางสังคมในชุมชน เพื่อให้เกิดพัฒนาการและการสืบสานทางวัฒนธรรมในกลุ่มชาติพันธุ์มอแกน อีกทั้งสร้างสำนึกรักภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์และเสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ให้แก่เหล่าเยาวชนมอแกน
องค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม
หนังสือองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเล่มนี้เป็นชุดที่ 2 จากทั้งหมด 4 ชุดองค์ความรู้ เกิดจากการรวบรวมองค์ความรู้จากโครงการต่างๆ ในเครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ โดยในเล่มนี้ประกอบไปด้วย 6 องค์ความรู้คือ องค์ความรู้เรื่องการฟ้อนพื้นเมือง องค์ความรู้เรื่องกลองชัยยะมงคล องค์ความรู้เรื่องกลองสะบัดชัย องค์ความรู้เรื่องแคนม้ง องค์ความรู้เรื่องเตหน่า และองค์ความรู้เรื่องการฟ้อนไตประยุกต์ เพื่อให้แต่ละพื้นที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาของตนเองและเป็นเครื่องมือสำหรับสื่อสารกับคนในชุมชนและสังคมต่อไป
องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่
หนังสือองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมประเพณีไทใหญ่เล่มนี้ ประกอบไปด้วยเรื่องราว ประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อของชาวไทใหญ่ที่รวบรวมจากการค้นคว้า สืบค้นข้อมูลทั้งจากเอกสารวิชาการและจากการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนไทใหญ่ในโครงการดนตรีหลากเผ่าพันธุ์สร้างสรรค์คนดี โรงเรียนบ้านเวียงหวาย อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และของเครือข่ายศิลปวัฒนธรรมอำเภอปาย จ.แม่ฮ่องสอน ประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ดังนี้ “ประเพณี 12 เดือน” “ประเพณีการเกิด การแต่งงาน การตาย” “ประเพณีกาดหลู่” “การแสดงจ้าดไต” “เฮินไต” และ “ภาษาไทใหญ่” โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แต่ละพื้นที่นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำงานสืบสานวัฒนธรรมภูมิปัญญาของตนเอง และใช้เป็นเครื่องมือสำหรับสื่อสารให้ความรู้กับคนในชุมชนและเยาวชน ร่วมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษาองค์ความรู้ภูมิปัญญาต่างๆ ของศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ
องค์ความรู้ด้านประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ
เครือข่ายสื่อศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ ได้รวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับพิธีกรรมเดปอทู่ จากชนเผ่าปกาเกอะญอ อ.แม่แจ่ม เชียงใหม่, พิธีกรรมการมัดมือ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่, พิธีกรรมอ้อผญา และนิทานเรื่องแม่กาเผือก มาร้อยเรียงเป็นหนังสือองค์ความรู้ด้านประเพณี พิธีกรรมและความเชื่อ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวที่สะท้อนถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติ ผ่านความเชื่อ วิถีชีวิต และความผูกพัน ว่าแท้จริงแล้ว แผ่นดินและแม่น้ำล้วนมีธรรมชาติเป็น “เจ้าของ” มนุษย์เป็นเพียงผู้มาขอใช้ และเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติเท่านั้น
หมอลำหุ่น สื่อศิลปะของกลุ่มออมทอง มหาสารคาม
ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทย เน้นเรื่อง “ศาสตร์” แต่ขาดศีลธรรมและจริยธรรม ทำให้คนเราขาดเครื่องมือในการพัฒนาตนเองให้เผชิญหน้ากับกระแสสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความซับซ้อนของปัญหาทางสังคม กลุ่ม “ออมทอง” จึงริเริ่มถอดองค์ความรู้จากการดำเนินโครงการ “หมอลำหุ่น” เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์นอกห้องเรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมเสพติดวัตถุนิยมแก่เยาวชน ให้เยาวชนได้รู้จักเรียนรู้เท่าทันตนเองและคุณค่าของวิถีชุมชนผ่านงานสื่อศิลปวัฒนธรรมชุมชน ที่ผสมผสานเรื่อราวของพระพุทธศาสนาเข้ากับกระบวนการศิลปะบูรณาการหลายแขนง อีกทั้งยังปลูกฝังคุณธรรมและคุณค่าของภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เยาวชนได้สืบสานอัตลักษณ์ของชาวอีสานให้ยั่งยืนต่อไป
วิถีไทยเบิ้ง สายใยวัฒนธรรมสายสัมพันธฺ์ชุมชน
วิถีไทยเบิ้ง “สายใยวัฒนธรรม สายสัมพันธ์ชุมชน” กระบวนการถอดบทเรียนการทำงานร่วมกันกว่า 15 ปี ระหว่างกลุ่มแกนนำและผู้ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาความยั่งยืนของชุมชนบนฐานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น : วิถีไทเบิ้งลุ่มแม่น้ำป่าสัก ตำบล โคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี โดยเนื้อหาสาระของหนังสือเล่มนี้เป็นการทบทวนการทำงานและกลั่นประสบการณ์จากการทำงานจริงเพื่อพัฒนาชุมชน โดยมีภูมิปัญญา ประเพณี และวัฒนธรรมชุมชนเป็นสื่อกลาง เพื่อสื่อสารเรื่องราวและบทเรียนจากการทำงานพัฒนาบนฐานวัฒนธรรมของชุมชนไทยเบิ้งโคกสลุง เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจอยากจะขับเคลื่อนงานในลักษณะใกล้เคียงกัน และนำไปปรับประยุกต์เป็นแนวทางในการทำงานที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนตนเองต่อไป
บันไดดนตรีที่บ้านอุ่นรัก
เด็กสมาธิสั้น เด็กพิเศษ หรือที่รู้จักกันในชื่อกลุ่มอาการออทิสติก คือเด็กที่มีข้อจำกัดในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพราะไม่สามารถพูด อ่าน เขียนเพื่อบอกความต้องการของตนเองได้ หนังสือ “บันไดดนตรีที่บ้านอุ่นรัก” โดยผู้เขียน ไหมลี ได้รวบรวมเรื่องราวและถ่ายทอดการสอนดนตรีสำหรับเด็กพิเศษ ที่เกิดจากความมุ่งมั่นของครูนิ่มผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการเด็กออทิสติกและคณะครูผู้สอน “บ้านอุ่นรัก” ซึ่งมีความเชื่อว่า ”ดนตรีบำบัด” จะช่วยทำให้เด็กผ่อนคลาย ช่วยกระตุ้นพัฒนาการของเด็กออทิสติกให้มีทักษะในการสื่อสาร มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในครอบครัวและคนรอบข้างอย่างมีความสุข สามารถสร้างเอกลักษณ์ของตนเองและมีคุณค่ามากพอที่จะยืนอยู่บนโลกใบนี้
เรื่องเล่าจากโต๊ะ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด วิถีชีวิตของผู้คนสมัยใหม่เปลี่ยนไปตามตรรกะที่อุบัติขึ้นแม้แต่ในตำบลคลองประสงค์ จังหวัดกระบี่ วิถีชุมชนเดิมเริ่มเปลี่ยนไปเน้นบริโภคนิยม เกิดการแข่งขันและไล่ตามวัตถุนิยมมากขึ้น “เรื่องเล่าจากโต๊ะ” เป็นเรื่องราวที่ปราชญ์ ครูภูมิปัญญา หรือผู้เฒ่าในชุมชน ได้ถ่ายทอดเรื่องราววิถีการดำเนินชีวิตที่มีความสัมพันธ์กับท้องทะเล บนพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงที่ตกทอดเป็นมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรรมบ้านเรือนท้องถิ่น จากอดีตกาลที่เป็นเอกลักษณ์จวบจนปัจจุบัน ผ่านกิจกรรมในโครงการศิลปะสร้างสรรค์ โกงกางสร้างสุข ชุมชนสร้างภูมิปัญญา ดำเนินงานโดย กลุ่มละครมาหยา ศูนย์สื่อสารเด็กไทยมุสลิม เพื่อเป็นองค์ความรู้ให้กับหน่วยงาน องค์กร โรงเรียน และแหล่งเรียนรู้ต่างๆ อีกทั้งสืบสานเอกลักษณ์ของดีในพื้นที่และวิถีชีวิตแห่งความพอเพียงให้ยั่งยืน