trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ" พบ 255 ข้อมูล

พิ (การ) เศษ

"พิ(การ)เศษ" ภาพยนตร์สั้นเพื่อกลุ่มคนเปราะบางและอ่อนไหวอย่างคนพิการ สะท้อนผ่านเรื่องราวของเด็กหนุ่มที่มีความฝันอยากเป็นนักฟุตบอล แต่อุบัติเหตุพรากความฝันของเขาไปพร้อมกับการสูญเสียขา 1 ข้าง แต่ด้วยหัวใจที่เข้มแข็งทำให้เขาลุกขึ้นมาตามหาความฝันอีกครั้ง โอกาสครั้งนี้เขาอยากจะบอกกับคนทั่วไปว่า ความต้องการของคนพิการ ไม่ใช่อยากให้คนอื่นมาสงสาร แต่อยากให้มองพวกเขาเหมือนคนปกติทั่วไป แค่นั้นจริงๆ 

สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กระบี่

สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กระบี่ กับน้องๆ กลุ่ม Young Guide ที่เล็งเห็นถึงปัญหาของชุมชน จึงได้ร่วมกันผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ให้คนในชุมชน

สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม กาญจนบุรี

สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม บ้านตีนตก จ.กาญจนบุรี กับความสามารถในการผลิตคลิปวิดีโอเชิงสร้างสรรค์ของน้องๆ กลุ่มชาติพันธุ์ แม้จะขาดเครื่องไม้เครื่องมือในการผลิต แต่ก็ไม่ย่อท้อที่จะลุย!!

สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ขอนแก่น

สื่อเป็นโรงเรียนของสังคม ต.ท่าพระ จ.ขอนแก่น สนับสนุนให้น้องๆ ผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เพื่อให้น้องๆ เกิดความรัก และความผูกพันกับชุมชน

เท่ง คิดดีไอดอล นักสื่อสาร - สสส.

เท่ง ตัวละครหนังตะลุงใต้ ชวนกันมาเป็นนักสื่อสารสร้างสรรค์ไอเดียสุขภาวะ "เปลี่ยน"สังคม ด้วยพลังสื่อคนรุ่นใหม่ ภาคใต้ ภายใต้การสนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.

คุณตาสุ่ม เล่าเรื่องสาวะถี ปราชญ์ชาวบ้าน ณ. สาวะถี

ศิลป์สร้างสุขพาไปรู้จัก บ้านตาสุ่ม สุวรรณวงศ์ ปราชญ์สาวะถี พักอยู่ตรงใกล้ๆ วัดไชยศรี  ผู้รู้เรื่องหมู่บ้านสาวะถี เล่าเรื่องราวชุมชน ไปชมกันว่าคุณตามีชีวิตเรียบง่ายอย่างไร

บทเรียนชุมชน 3 ดีวิถีสุข การใช้ตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือพัฒนาพื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี

หนังสือเล่มเล็กนี้อัดแน่นด้วยองค์ความรู้ จากการถอดบทเรียน “การขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดีวิถีสุข”  ที่มีเป้าหมายหลักในการขับเคลื่อนชุมชนด้วยตัวชี้วัดเมือง 3 ดี เพื่อนําไปสู่การมีพื้นที่ดี  สื่อดี  และภูมิดี เป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสํานักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยการทํางานร่วมกันของ 3 แผนงาน คือ แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนแผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ  สะท้อนภาพการทํางานของชุมชนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมาย 3 ดี ทั้ง สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีตัวชี้วัดหลัก และตัวชี้วัดย่อยเป็นเครื่องมือในการกํากับติดตาม เพื่อสร้างพื้นที่ที่เป็น“ต้นแบบ” ของชุมชน3 ดีวิถีสุข 10 แห่ง โดยในอนาคตทุกพื้นที่นั้น ๆ ต้อง “ต่อยอด” และ “ขยายผล” ในเรื่องการพัฒนา “นักสื่อสารสุขภาวะ” ที่มีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะการสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ ทักษะการเป็นผู้นํา และทักษะการตระหนักรู้เท่าทันตนเอง สสส.    

สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (3)

ตอนสุดท้ายของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ เนื้อหาต่อจากตอนที่ 2 เรื่องการย้อมสีจาก ใบห้อม หรือ เทคนิคการย้อมหม้อห้อม  ต้องมีการดูแลอย่างดี ขั้นตอนอาจจะยุ่งยาก  เมื่อย้อมเสร็จแล้ว การที่จะปล่อยให้ผ้าเป็นสีน้ำเงินหรือสีคราม จะต้องให้ผ้ามาทำปฏิกริยากับอากาศหรือออกซิเจน  ปัจจุบันหลายคนอาจตั้งคำถามว่าการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติเป็นความยุ่งยาก แต่ครูนุสราอยากให้ลองมองมุมใหม่ ให้มองเป็นความสนุก การได้อยู่ใกล้ชิดธรรมชาติทำให้จิตใจเราอ่อนโยน เป็นความสุข การได้ลงมือทำอะไรด้วยตัวเอง เป็นชีวิตที่พอดี พอเพียง พอใจและภูมิใจที่ได้ทำ

สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (2)

ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า สอนเรื่องการทำสีย้อมผ้าจากธรรมชาติต่อเนื่องเป็นตอนที่ 2 ในตอนนี้เราจะได้ดูขั้นตอนการย้อมผ้า จาก “ครั่ง”  ซึ่งเป็นแมลงชิ้นหนึ่ง  สามารถนำรัง หรือซากของตัวครั่ง มาย้อมร้อน คือการต้มให้ได้น้ำออกมา จากนั้นนำผืนผ้าลงไปย้อมก็จะได้ สีแดง หรือสีชมพู วัตถุดิบอีกชนิดหนึ่ง คือ “เหง้าขมิ้น” เมื่อนำมาต้มก็จะได้สีน้ำตาลอมเหลือง เมื่อนำผ้ามาย้อมก็จะได้สีเหลืองขมิ้น  และสุดท้ายวัตถุดิบที่อาจเรียกได้ว่าเป็นราชินีของการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติทั้งหมด  คือการย้อมจาก “ใบห้อม” ที่มาจากต้นห้อม เรามักเรียกว่าสีชนิดนี้ว่า 'สีหม้อห้อม' เพราะขั้นตอนการทำสี จะมีการทำเนื้อสี และการก่อเป็นหม้อเพื่อใช้ในการย้อม การย้อมหม้อห้อมเป็นศาสตร์และศิลป์ชั้นสูงในการย้อม ต้องใช้ความละเอียดและความใส่ใจในทุกขั้นตอน

สื่อการสอนเพื่อการสืบสานภูมิปัญญาล้านนา : การย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ (1)

ด้วยความรักในธรรมชาติ  และสนใจเรื่องผ้า ครูนุสรา เตียงเกตุ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องผ้า จึงคิดค้น และทดลอง นำสีจากธรรมชาติจากพวกใบไม้ ดอกไม้ มาเป็นสีในการย้อมผ้า โดยในตอนที่ 1 นี้ ครูนุสราจะมาสอนเคล็ดลับในการย้อมผ้าขั้นพื้นฐาน ให้เริ่มจากผ้าผืนเล็ก เช่น ผ้าเช็คหน้า และผ้าเช็คตัวก่อน  เทคนิคการย้อมให้สีติดทน  อาจมีการนำน้ำที่มีฤทธิ์เป็นกรด ที่ได้จากมะขาม มะกอก มะเกลือ สับปะรด และมะกรูด ส่วนน้ำด่าง ได้จากขี้เถ้า ปูนขาว เป็นต้น มาผสมกับสีที่เราสกัดจากดอกไม้ ใบไม้ เมล็ดผลไม้ต่าง ๆ ที่นำมาทำเป็นสีย้อมผ้า

อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน (ลดหวานมันเค็มเพิ่มผักผลไม้) ปี 2

คลิปวีดีโอประมวลภาพโครงการประกวดสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์รณรงค์ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน”ประเทศไทยจัดเป็นเมืองอันดับต้นๆ ที่มีภาวะเด็กในวัยเรียนอ้วนในสัดส่วนที่สูงมาก ผลการวิจัยในปี 2558 ยังพบว่าเด็กในวัยเรียน 5 คน  จะมีเด็กอ้วนอยู่ 1 คน และพบว่าอัตราของเด็กอ้วนจะอยู่ในเขตเมืองมากกว่าร้อยละ 20 -25  โดยสาเหตุใหญ่ที่ทำให้เด็กอ้วน คือ การกินอาหารรสชาติหวานมันเค็ม ขาดการออกกำลังกาย และไม่มีการกินผักและผลไม้  ดังนั้น สสส. จึงริเริ่มทำโครงการประกวดสื่อและกิจกรรมสร้างสรรค์รณรงค์ “อย่าปล่อยให้เด็กอ้วน” เพื่อกระตุ้นให้เด็ก ครอบครัว โรงเรียน และชุมชน  หันมาให้ความสำคัญในการปลูกฝัง ปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมให้เด็กไม่อ้วน  โดยหันมาดูแลสุขภาพที่ดีต่อไป

A Heart in A Hand บทเรียน 4 ภาค จากสื่อเป็นโรงเรียนของสังคม

รวบรวมความรู้ที่สำคัญจากการดำเนินงานโครงการ สื่อเป็นโรงเรียนสังคม จากประสบการณ์จริงของ 4 โครงการต้นแบบ จาก 4 ภูมิภาค  คือโครงการนักสื่อสารข้อมูลน้ำ(ภาคเหนือ), โครงการเปิดถังข่าวปิดถังขยะ ชุมชนคนศรีสวัสดิ์ บ้านท่าตีนตก (ภาคกลาง), โครงการเรารักท่าพระ - อนุรักษ์อาคารสถานีรถไฟ บ้านท่าพระ ขอนแก่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) และโครงการเยาวชนนักสื่อสารสร้างสรรค์ บ้านลังกาอู้ เกาะลันตา (ภาคใต้) เกี่ยวกับการสื่อสารและการใช้สื่ออันแสนมหัศจรรย์นี้เชื่อมต่อระหว่างคน ชุมชนและธรรมชาติ เชื่อมโยงระหว่างปัจจุบัน อดีตและอนาคต เปิดประตูก้าวผ่านไปสู่โลกใบใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องน่ารู่ เกร็ดน่ารัก และเป็นบ่อเกิดพลังสร้างสรรค์อันงดงามเพื่อชุมชนอย่างไม่รู้จบ   

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.