Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "แนวทาง" พบ 13 ข้อมูล

แนวปฏิบัติสําหรับพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์

ทุกวันนี้อาชญากรในโลกออนไลน์มีความพยายามเข้าถึงเหยื่อโดยใช้วิธีการที่หลากหลายมากขึ้น อาชญากรรมส่วนใหญ่เป็นการแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากเด็กและการทารุณกรรม ซึ่งเด็กและเยาวชนเองก็สามารถเข้าถึงสื่ออินเทอร์เน็ตผ่านมือถือได้ตลอดเวลาและเยาวชนส่วนใหญ่ก็ยังขาดการชี้แนะในเรื่องการรู้เท่าทันภัยที่มากับสื่ออินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง แนวทางปฏิบัติสำหรับพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับนี้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้ความรู้และเป็นแนวทางในการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ ร่วมกับสหวิชาชีพอื่นๆ รวมถึงแนวทางการทำงานร่วมกับพ่อแม่ผู้ปกครอง โรงเรียนและชุมชน เพื่อเฝ้าระวังคุ้มครองเด็กและแก้ไขปัญหาในลักษณะของการบูรณาการร่วมกัน

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2563

แม้ว่ายุคปัจจุบันเยาวชนไทยเติบโตขึ้นมากับการใช้อินเทอร์เน็ตและมีอิสระในการเข้าถึงสื่อออนไลน์ค่อนข้างมาก อีกทั้งสื่อออนไลน์ยังเป็นตัวกลางในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลและด้วยความคุ้นชินกับการเข้าถึงสื่อออนไลน์ได้อย่างอิสระนี้ อาจทำให้หลงลืมเรื่องภัยที่มากับโลกออนไลน์ คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ชุดนี้ มีเนื้อหาข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวทางป้องกันภัยออนไลน์ในรูปแบบต่างๆและผลสำรวจพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตของเยาวชนไทย ที่สุ่มเสี่ยงที่จะตกเป็นเหยื่อภัยออนไลน์ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ สำรวจป้องกันและช่วยเหลือเด็กจากภัยออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด 

แลดู ผู้ดูแล แนวทางเยียวยา ผู้ดูแล ผู้ป่วยระยะท้าย

บางครั้ง “ผู้ดูแล” ผู้ป่วยระยะสุดท้ายก็ต้องการการดูแล หนังสือ “แลดู ผู้ดูแล” เป็นการสะท้อนประสบการณ์จริงจากแพทย์ พยาบาล นักสังคมสงเคราะห์ และญาติผู้ป่วย ที่รับภาระหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ซึ่งมีแนวโน้มประสบความเครียด ความกดดัน และความทุกข์จากการเจ็บป่วยของคนในครอบครัว อีกทั้งเผชิญกับปัญหาชีวิตด้าน อื่น ๆ ที่เป็นผลตามมาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น  แนวทางการดูแลผู้ดูแลเหล่านี้ ให้มีคุณภาพีชีวิตที่ดี หลังจากที่เขาหมดภาระหน้าที่ตรงนี้แล้วก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อเติมเต็มพลังใจให้พวกเขาก้าวหน้าต่อไปอย่างมีความสุข

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง

Child Online  Protection Guideline 1.0 หรือ แนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ ฉบับปรับปรุง ยังคงเข้มข้นด้วยเนื้อหาข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางออนไลน์ของเด็กและเยาวชน ที่พ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรระแวดระวังทั้งเรื่องสื่อลามกอนาจารออนไลน์ , การพนันออนไลน์ , ภัยจากเกมออนไลน์ , การกลั่นแกล้งทางออนไลน์ หรือ Cyber Bullying ซึ่งนอกจากเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาเพื่อสร้างความตื่นตัวในการป้องกันแล้ว คู่มือเล่มนี้ยังให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางการดูแล และคุ้มครองเด็ก ๆ ไม่ให้ถูกล่วงละเมิดทางเพศด้วยสื่อออนไลน์ และเสริมสร้างความรู้เท่าทันทางสื่อออนไลน์ให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในยุคดิจิทัลนี้อีกด้วย

คู่มือแนวทางปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์ 2562

ผลการวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ของเด็กและเยาวชนกว่า 15,000 คน เมื่อต้นปี 2562 โดย สสส. ร่วมกับศูนย์ประสานงานขับเคลื่อนการส่งเสริมและปกป้องคุ้มครองเด็กและเยาวชนในการใช้สื่อออนไลน์  พบว่าเด็กส่วนใหญ่ยอมรับในประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต โดยมีการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บแล็ตเป็นส่วนใหญ่ในอัตรา 83%  ซึ่งใช้เพื่อความบันเทิงและพักผ่อน เป็นเวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน  และ 3 ชั่วโมงต่อวันในการเล่นเกม โดยมีเด็กเชื่อว่าตนเองสามารถจัดการกับปัญหาต่าง ๆ เมื่อประสบภัยออนไลน์ได้ 54% รวมถึงสามารถช่วยเหลือเพื่อนได้ 86% อย่างไรก็ตามในโลกยุคดิจิทัลภัยคุกคามจากอินเทอร์เน็ตและมิจฉาชีพมีมาอย่างต่อเนื่องและมีการพัฒนารูปแบบที่น่ากลัวขึ้นอยู่เสมอ เด็ก ๆ จึงต้องรู้เท่าทันภัยบนโลกออนไลน์ พ่อแม่จึงเป็นส่วนสำคัญในการมีบทบาทเลี้ยงลูกด้วยความรัก รับฟังลูกให้มากขึ้น หากิจกรรมใหม่ๆ ที่เพิ่มทักษะชีวิตให้เด็กทดแทนการติดเกม เล่นมือถือ และไม่ถ่ายรูปลูก แชร์ทางอินเทอร์เน็ต เพราะนั้นนับเป็นการละเมิดสิทธิ์เด็กและยังทำให้เด็กไม่ปลอดภัย หนังสือ “แนวทางการปกป้องคุ้มครองเด็กจากภัยออนไลน์”  จึงเป็นคู่มือเลี้ยงลูกฉบับยุคดิจิทัลที่พ่อแม่ และผู้ปกครองควรมีไว้ประจำกาย    

การศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล สำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ และแนวทางสำหรับประเทศไทย

งานวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัลสำหรับเด็กและเยาวชนในต่างประเทศ เพื่อใช้เสนอเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนไทย โดยมี 6 ประเทศที่เป็นแนวทางในการศึกษา ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา  สหภาพยุโรป ประเทศอินเดีย ประเทศออสเตรเลียและประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมี 5 ประเด็นที่ค้นพบและสามารถนำมาปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความรู้เท่าทันสื่อให้กับเยาวชนในประเทศไทยได้

รายงานผลการศึกษา โครงการจัดทำคู่มือสิทธิเด็กกับแนวทางปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์

งานวิจัยที่ศึกษาข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา ผลกระทบประเด็นการถูกกลั่นแกล้งออนไลน์ เพื่อนำมาเป็นแนวทางจัดทำคู่มือการปกป้องสิทธิเด็กในสื่อออนไลน์ สืบเนื่องจากปัญหาที่คุกคามเด็กทางสื่อออนไลน์ มักมาในรูปแบบของการโฆษณาแฝง การกลั่นแกล้งกันทางอินเทอร์เน็ต การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล โดยในยุคสังคม 4.0 ที่การสื่อสารทันสมัยด้วยระบบดิจิทัล พ่อแม่ผู้ปกครองไม่สามารถกันเด็กๆ ออกจากสื่อ Social Media ได้  ดังนั้นจึงเป็นที่มาในการวิจัยข้อมูลเพื่อสนับสนุนการริเริ่มโคงการจัดทำคู่มือหรือแนวทางการปกป้องเด็กจากสื่อออนไลน์ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในการดูแลเอาใจใส่ พูดคุย และทำความเข้าใจสื่อสารกับเด็ก ๆ ได้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน

การรู้เท่าทันสื่อ อย่างง่าย

คลิปวิดีโอที่จะทำให้เรารู้จักและเข้าใจความหมายของคำว่า 'การรู้เท่าทันสื่อ' หรือ Media Literacy ได้อย่างง่ายและกระชับฉับไว ประกอบด้วยข้อมูลสถิติสื่อและพฤติกรรมเปิดรับสื่อของเด็กและเยาวชนไทย พร้อมทั้งแนวทางการรู้เท่าทันสื่อด้วยหลัก 5 ประการง่าย ให้ได้นำไปคิดวิเคราะห์ก่อนจะปลงในเชื่อสื่อที่เราพบเจอและเปิดรับ

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.