ลงทะเบียนเรียนฟรี การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร
ลงทะเบียนเรียนฟรี!!! “การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร” เนื้อหาหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น ที่พาผู้เรียนทำความเข้าใจแนวคิดเรื่องข้อมูลข่าวสารที่ทำให้เข้าใจผิด บิดเบือน ฝึกฝนการตรวจสอบข้อเท็จจริง (FACT-CHECKING) ในข่าวลวง ข่าวปลอม และข้อมูลเท็จ ติดตั้งแนวคิดเรื่องความเป็นพลเมืองดิจิทัลรับมือโรคระบาดข้อมูลข่าวสาร และสร้างทักษะประสบการณ์ในการหาความจริงร่วม จุฬาฯ และ สสส. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าเรียนรู้พัฒนาทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ทักษะสุขภาวะ ในหลักสูตรออนไลน์ระยะสั้น CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก หมวดเนื้อหา “การรับมือกับข้อมูลข่าวสาร” เลือกเรียนได้ตามความสนใจใน 3 หัวข้อ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 20 มิถุนายน 2565 หัวข้อ พื้นฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริง (Fact-Checking 101) 7 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ เครื่องมือและเคล็ดลับ สำหรับนักตรวจสอบข้อเท็จจริง ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ สำนักข่าวไทย อสมท 8 กรกฎาคม 2565 หัวข้อ พลเมืองดิจิทัลกับการรับมือข้อมูลข่าวสาร(นวัตกรรมโคแฟค) ออกแบบหลักสูตรและวิทยากรสอน โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งโคแฟค (ประเทศไทย) ทุกหัวข้อใช้เวลาเรียน 2 ชั่วโมง ช่วง 16:30-18:30 น. ด้วยรูปแบบการเรียนออน์ไลน์ผ่าน Zoom Appication รับเกียรติบัตรหลังผ่านการประเมินการเรียนรู้แต่ละหัวข้อ รับจำนวนจำกัด !!! สมัครเข้าร่วม CUVIP และลงทะเบียนเรียนเลยตอนนี้ เพียง 4 ขั้นตอน ลงทะเบียนเป็นผู้ใช้งานใหม่ ที่ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Member-Public.php ติดตามประกาศตารางวันเวลาเรียน และวันลงทะเบียนเข้าร่วมในหัวข้อที่สนใจ ที่ Facebook : CUVIP Project ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ เว็บไซต์ http://www.cuvip.gened.chula.ac.th/Timetable.php ก่อนวันเรียน 2-3 วัน สามารถตรวจสอบรายชื่อผู้ได้เข้าร่วมกิจกรรม CUVIP ที่ Facebook : CUVIP Project หรือ โทรศัพท์ 0 2218 3920 ทำความรู้จักภาพรวมหลักสูตร CUVIP series เท่าทันสื่อ ก้าวทันโลก ได้ที่ https://online.fliphtml5.com/mqfzw/vpuj/
เปิดบัญชีออมเวลา รับดอกเบี้ยความสุข กับธนาคารจิตอาสา
ทรัพย์ที่มีค่าที่สุดของมนุษย์คือ เวลา เพราะเมื่อเราเสียเวลาไป เราไม่สามารถที่จะหาเวลาจากที่ไหนมาทดแทนได้ ดังนั้นเราทุกคนจึงต้องมีการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า เพื่อคนที่เรารัก เพื่องานที่เราชอบ และเพื่อความสุขของเรา และที่สำคัญ หากเวลานั้น สามารถออมไว้เพื่อการใช้ประโยชน์ และแบ่งปันให้ผู้อื่น ย่อมทำให้เวลาทุกนาทีของเรามีคุณค่ายิ่งขึ้น ธนาคารจิตอาสาขอชวนคนไทยและผู้มีจิตอาสาทุกคน เปิดบัญชีออมเวลา ทรัพย์ที่มีค่าที่สุดในชีวิตของเรา เพื่อนำมาแลกเปลี่ยน แบ่งปัน ช่วยเหลือกันและกัน แล้วเราจะสัมผัสได้ว่า เวลาของเราทวีค่ายิ่งขึ้น และได้รับดอกเบี้ยงาม ๆ คือ ความสุข อิ่มเอม จากการเป็นผู้ให้ ...”สังคมที่ดี เริ่มจากการสละเวลาเพื่อผู้อื่น”... สมาชิกธนาคารจิตอาสา สามารถบันทึกดอกเบี้ย ซึ่งก็คือเรื่องราวดีๆ ที่คุณได้ใช้เวลา เพื่อความสุขมวลรวมในสังคมของเรา สังคมที่ดี เริ่มจากการ สละเวลาเพื่อคนอื่น ธนาคารจิตอาสา #ปันเวลาแชร์ความสุข ใช้เวลาเพื่อสร้างความสุขมวลรวมร่วมกัน ได้ที่ https://www.jitarsabank.com ร่วมเป็นสมาชิกสังคมออนไลน์ของธนาคารจิตอาสา https://www.facebook.com/JitArsaBank/
แชร์ร้าว โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
Cyber Bully คืออะไร ? การกลั่นแกล้งทางสังคมออนไลน์ บ้างว่าทำเพราะสนิท ทำเพราะสนุก ทำเพราะเพื่อนไม่ว่า เพื่อนคงชินแล้ว หากเราเป็นผู้แชร์อาจไม่รู้สึก แต่ถ้าเราเป็นเหยื่อของการแชร์นี้จะรู้สึกอย่างไร ?
ลองแชร์ Long Share คลิปวีดีโอ โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
ปัญหาเด็กถูกมองข้ามความฝัน ไม่ได้เรียนในสิ่งที่อยากเรียนนั้นเกิดจากปัจจัยหลายด้าน ทางคณะผู้จัดทำเล็งเห็นว่าปัจจัยด้านครอบครัวมีผลเป็นอย่างมาก หลายครั้งที่ความฝันเหล่านั้นไม่เกิดขึ้นเป็นเพราะครอบครัวขาดการรับฟังซึ่งกันและกัน ไม่เกิดการพูดคุยและปรึกษาหารือจนทำให้ส่งผลเสีย คณะผู้จัดทำจึงได้จัดทำวิดีโอซึ่งมุ่งหมายให้เกิดการกระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการพูดคุยกันภายในครอบครัว ให้เห็นถึงด้านดีด้านเสียของการโต้ตอบกันในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้คนตระหนักรับฟังซึ่งกันและกัน
ลองแชร์ Long Share โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยศิลปากร
เนื่องจากการที่ในปัจจุบันยังมีเด็กที่ยังถูกพ่อแม่ตีกรอบชีวิตเอาไว้ว่า โตขึ้นจะต้องเป็นอะไร และระหว่างทางก็บังคับว่าจะต้องเรียนอย่างเดียวนะ ต้องทำแบบนี้เท่านั้นนะ ถึงจะโตมามีชีวิตที่ดีได้ โดยไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้ลองคิด และเดินตามความฝันของตัวเอง
Young Share โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
"จดหมายลูกโซ่ ” Support : จดหมายลูกโซ่มีลักษณะการส่งต่อข้อมูลกันเป็นทอดๆ โดยผู้ที่ได้รับข้อมูลเหล่านั้นจะต้องมีวิจารณญาณในการตัดสินใจว่าข้อมูลที่ได้รับมีข้อเท็จจริงอย่างไร เช่นเดียวกับปัจจุบันที่มีการแชร์ข้อมูลใน Social network มากมายโดยมีแนวโน้มการแชร์ข้อมูลเท็จมากขึ้น เราจึงอยากให้คนรุ่นใหม่มีวิจารณญาณในการหาข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่จะแชร์ข้อมูลเหล่านั้นออกไป
Young Share โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
"จดหมายลูกโซ่" Support : จดหมายลูกโซ่มีลักษณะการส่งต่อข้อมูลกันเป็นทอดๆ โดยผู้ที่ได้รับข้อมูลเหล่านั้นจะต้องมีวิจารณญาณในการตัดสินใจว่าข้อมูลที่ได้รับมีข้อเท็จจริงอย่างไร เช่นเดียวกับปัจจุบันที่มีการแชร์ข้อมูลใน Social network มากมายโดยมีแนวโน้มการแชร์ข้อมูลเท็จมากขึ้น เราจึงอยากให้คนรุ่นใหม่มีวิจารณญาณในการหาข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่จะแชร์ข้อมูลเหล่านั้นออกไป
boomsharang โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร
สะกิดเตือนให้ผู้ใช้สื่ออนไลน์เช็คและคิดก่อนที่จะแชร์ข้อมูลใดๆออกไป เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียย้อนกลับมา