รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - พศิน อินทรวงค์
พศิน อินทรวงค์ นักคิด นักเขียนและวิทยากรเกี่ยวกับการพัฒนาตัวเองที่ใช้หลักการสำรวจโลกภายใน กับมุมมอง ความสุขและนิยามของการตื่นรู้ โดยการสำรวจโลกภายในของตัวเอง ด้วยการหลอมรวมสรรพสิ่งทั้งธรรมชาติภายนอกและภายในเข้าด้วยกันและได้เปรียบผู้ที่ตื่นรู้เหมือนดอกไม้ที่ผลิบาน การผลิบานของดอกไม้ทำให้โลกสวยงามน่าอยู่ สงบเย็น เป็นความรื่นรมย์ของโลก เพราะผู้ตื่นรู้ คือ ผู้เบิกบานและมีจิตเมตตา การขัดเกลาความเลวร้ายของตัวเองทำให้ทั้งตัวเราและคนรอบข้างเบาสบาย มีความเข้าใจกับสิ่งรอบข้างมากขึ้นและสร้างปัญหาน้อยลง
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - วีระกิจ อัชรีวงศ์ไพศาล
คุณวีระกิจ อัชรีวงศ์ไพศาล กับมุมมองการตื่นรู้ที่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงในชีวิต จากที่เคยเป็นคนอารมณ์ร้อนได้กลายมาเป็นนักเขียนการ์ตูนหมื่นตาธรรมะ เพราะได้หยุดและยืนมองธรรมชาติที่เป็นอาจารย์ที่แสนยิ่งใหญ่ โดยธรรมชาตินั้นได้สอนให้รู้จักปล่อยวางและหันกลับมาสำรวจโลกภายในตัวเอง สอนให้เข้าใจถึงความจริงของชีวิต ซึ่งได้สร้างการเปลี่ยนแปลง ทั้งวิธีคิด มุมมองที่เปิดกว้างมากขึ้นและยอมรับทุกอย่างตามความเป็นจริง อีกทั้งยังรับมือกับความทุกข์ที่เข้ามาในชีวิตได้ดีขึ้น
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - รศ.นพ. ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ
รศ.นพ. ธวัชชัย กฤษณะประกรกิจ จิตแพทย์และอาจารย์ถ่ายทอดพุทธศาสนาวัชรยานและอติโยคะ-ซกเซ็น กับความจริงของความจริง ด้วยการค้นหาความจริงของชีวิต ทบทวนโลกภายนอกและโลกภายในตัวเอง ที่ได้จากการศึกษาฝึกฝน การทำวิปัสสนา ราชาโยคะ สหัจมรรค และกุณฑลินีโยคะ เพื่อสร้างการตื่นรู้ที่จะช่วยทำให้เห็นความจริงที่ยิ่งใหญ่กว่าจิตสำนึกเดิมที่เคยยึดอยู่ รวมไปถึงรู้จักร่างกายตัวเรา ด้วยศาสตร์ของโยคะศูนย์พลังงานของมนุษย์ ตั้งแต่ระดับจิตใจ อารมณ์และความรู้สึกควบคู่ไปด้วยกัน โดยใช้การภาวนาเป็นตัวเชื่อมมิติของพลังชีวิตจากภายในและภายนอกตัวเรา
รวม 40 ประสบการณ์จริง 40 เส้นทางสู่การตื่นรู้ - นันท์ วิทยดำรง
บทความ “ความสมบูรณ์ของการปรับใจ” ของคุณ นันท์ วิทยดำรง นักเขียน กับมุมมองการตื่นรู้ด้วยการหมั่นสำรวจทบทวนจิตใจความรู้สึกภายในอย่างมีสติและรู้เท่าทัน ด้วยวิธีการการจดบันทึกความรู้สึก ที่ช่วยให้ย้อนกลับไปจำได้อีกครั้งว่าแท้จริงแล้วเราเป็นใคร กลับไปสู่รากหรือแก่นแท้ของการเกิดมาและรู้จักปล่อยวางในสิ่งที่รู้ลง เพื่อทำให้ชีวิตที่ดำเนินต่อไป เต็มไปด้วยความงาม ความเมตตา ความรัก ความสมบูรณ์ทางใจ ในทุกขณะจิต
จุดไฟเรียนรู้คนรุ่นใหม่ด้วยเถื่อนเกมกับ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด
“...ความรู้สึกมันทำให้เราเปลี่ยนแปลงตัวเรา ความรู้สึกนี่แหละที่มันสำคัญ และเป็นสิ่งที่ขาดไปในการเรียนการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์” นี่คือความรู้สึกของ ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้บุกเบิกการเรียนรู้ผ่านบอร์ดเกม ชื่อว่า “เถื่อนเกม” เครื่องมือที่นำมาเติมเต็มกระบวนการเรียนรู้ ให้เกิดการทำงานระหว่างความรู้และความรู้สึก เน้นการเรียนด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ให้ผู้เรียนรู้เพียงสิ่งที่ผู้สอนรู้เท่านั้น อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
อาจารย์รุ่นใหม่สนใจจิตตปัญญา
ดร.สุปรีย์ กาญจนพิศศาล หรือ อาจารย์แบต อาจารย์ประจำศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ที่สนใจการสอนเรื่องการพัฒนาตนเอง และเชื่อมั่นว่าความมั่นคงของชีวิตเราสร้างได้จากภายในตัวเอง เพราะแก่นแท้ของการพัฒนาคนไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เราต้องก้าวให้พ้นตัวตนของเรา เราสามารถ “สุข” ได้ สุขแบบไม่ได้ร่าเริงสุดโต่ง แต่สุขใจได้แม้ในยามปกติ นั่นคือความสุขทางจิตตปัญญา ที่เกิดจากการเดินทางสายกลาง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ มิสเตอร์เตือนภัยพิบัติ
ดร.ภาสกร แช่มประเสริฐ หรือ “มิสเตอร์ภัยพิบัติ” อาจารย์ดีกรีวิศวกรคอมพิวเตอร์ฯ จากเมืองนอก ผู้ซึ่งอุทิศตนตัดสินใจเดินทางกลับมาเมืองไทย นำวิชาความรู้ที่ร่ำเรียนมาเรื่องระบบคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้กับการจัดการภัยพิบัติ ด้วยเชื่อมั่นว่าถ้าสื่อสารทำความเข้าใจกับชาวบ้านเรื่องการป้องกันภัยพิบัติได้ดีแล้ว ชาวบ้านก็จะเตรียมการจัดการ และรับมือกับภัยพิบัติให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด นอกจากนำสื่อออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความรู้เรื่องภัยพิบัติผ่านทางเว็บไซต์ “ภัยพิบัติดอทคอม” และทวิตเตอร์ แอคเค้าท์ “ภัยพิบัติ” แล้ว อาจารย์ยังมีเป้าหมายสำคัญคือการสร้างวิศวกรคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ ที่จะมาช่วยให้เมืองไทยให้ปลอดภัยและมีความสุข ภายใต้แนวคิด “ หนึ่ง ดร. หนึ่ง อำเภอ” อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
I SEE U จิตอาสาข้างเตียง
อรุณชัย นิติสุพรรัตน์ หรือคุณชัย ผู้ก่อตั้งกลุ่ม I SEE U Contemplative Care อาสาข้างเตียง มาตั้งแต่ปี 2557 เพื่อให้กำลังใจด้วยการรับฟัง และสัมผัสผู้ป่วยระยะสุดท้ายด้วยหัวใจมากกว่าคำพูดว่า “สู้ๆ นะ” โดยคุณชัยนำประสบการณ์ที่ดูแลคุณพ่อในระยะสุดท้ายมาเป็นแนวทางในการอบรมอาสาข้างเตียง ว่า “...การดูแลพ่อแม่ที่ดีที่สุดคือ การทำในสิ่งที่เขาอยากได้ การที่ใจเราจะไม่ทุกข์ไปกับอาการที่แย่ลงของคนที่เราดูแล มันคือความสุขท่ามกลางความเสื่อมถอยลงไปจนทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดี...” การทำงานอาสาที่อยู่ใกล้ชิดกับความตาย ทำให้เราเรียนรู้ถึงลมหายใจที่ยังอยู่อย่างรู้ค่า และพร้อมที่จะตั้งใจทำให้ทุกวันดีที่สุด อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
สายใยรักกลางชุมชนแออัด
ชุมชนแออัด อาจเป็นแหล่งมือบอดที่สังคมส่วนใหญ่มองข้าม ทว่า รัศมี ทอนทอง- ป้าหมี และติ๋ม ชูแก้ว-ป้าติ๋ม คือผู้มอบแสงสว่างให้กับชุมชนแห่งนี้ ด้วยความรักและการเอาใจใส่เสมือนแม่คนที่สองของเด็ก ๆ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กดวงแข มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) ทุกวันนี้ป้าหมี และป้าติ๋ม ทำงานจิตอาสา เพื่อดูแลเด็กในชุมชนวัดดวงแข ข้างสถานีรถไฟหัวลำโพง ให้ก้าวพ้นวัฏจักรของเด็กสลัมที่ท้ายสุดก็หนีไม่พ้นเรื่องยาเสพติด ให้กลายเป็นเด็กที่มีอนาคต และสามารถไปศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยได้ อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
เสกโรคซึมเศร้าให้เป็นรอยยิ้มด้วยกิจกรรมมนตร์อาสา
“มนตร์อาสา” คือกลุ่มกิจกรรมจิตอาสา ที่คุณเน หรือทิพย์ชยพล ปารีณาพัฒน์นรี ตั้งขึ้นมาเพื่อต้องการบำบัดความซึมเศร้าของตนเอง ในขณะเดียวกันก็อยากจะชวนเพื่อนมาร่วมกันเสกเวทมนตร์การบำบัดนี้เพื่อลดทอนความซึมเศร้าและภาวะเครียดในสังคมด้วยการลุกขึ้นมามีความสุขมากขึ้นโดยไม่ต้องคิดหมกมุ่นแต่เรื่องของตัวเอง ด้วยกิจกรรมไปล้างกรงเสือ กรงหมี ที่ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์ป่า หรือศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า รวมทั้งยังมี “กิจกรรมหินน้อยค่อยเจรจา” โดยในวงกิจกรรมมีหินอยู่ 1 ก้อน หินไปอยู่ที่ใครคนนั้นจึงมีพื้นที่ในการพูดและการเจรจา เพื่อผ่อนคลายความเครียดในใจให้เพื่อนได้รับฟัง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
ลมหายใจแห่งความสุข ณ ต้นทางแห่งการเปลี่ยนแปลง
ทุกชีวิตต้องการความสุข แต่กลับลืมไปว่าว่าสุขมาแล้วก็ไป พระอาจารย์นาวี ปิยทัสสี เจ้าอาวาสวัดถ้ำดอยโดน อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ อธิบายความสุขออกเป็น 2 แบบ คือ ความสุขจากภายนอกและความสุขจากภายใน ทุกวันนี้ที่คนเราเป็นทุกข์มากมาย เพราะไปยึดติดกับความสุขจากภายนอก สุขจากความสัมพันธ์ พอสุขเปลี่ยนไปก็เกิดทุกข์ การยอมรับความจริงแห่งความเปลี่ยนแปลง มีวัคซีนบอกตัวเองว่าความสัมพันธ์มันเปลี่ยนแปลงได้ เราก็จะทุกข์น้อยลง จงใช้ “ปัญญา” ในการยอมรับการเปลี่ยนแปลง แล้วเราจะมีความสุขมากขึ้นจากภายในของเราเอง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
มาตาภาวนา ธรรมะพักใจผู้หญิงเมืองกรุง
“มาตาภาวนา” เป็นการปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิงเมืองกรุง โดยเฉพาะเพราะสถานที่ในการเข้าไปพักใจ ด้วยการปฏิบัติธรรม ฝึกภาวนา และปิดวาจา เพื่อชำระล้างใจให้สะอาดนั้น จัดขึ้นที่สวนโมกข์กรุงเทพฯ ย่านจตุจักร เป็นประจำทุกสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน หลังจากนั้นผู้หญิงซึ่งมีภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ ในการเป็นแม่ที่ต้องดูแลลูก เป็นภรรยาที่ต้องดูแลสามี และเป็นลูกสาวที่ต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า ก็จะได้ชาร์ตแบตให้จิตใจได้เข้มแข็งและมีพลังก้าวเดินไปอย่างมีความสุข อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com