หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน การเรียนรู้ครั้งใหม่ ที่อายุไม่ใช่อุปสรรค : สมชาย จงนรังสิน
อ่านโดย : คุณลวลี บุนนาค หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน บทเรียนจากบ้านเรียน : คฑา มหากายี
อ่านโดย : คุณกชรัชช์ สุนทรสีมะ หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน ความสุขของนักโฆษณา : จุรีพร ไทยดำรง
อ่านโดย : คุณสุภาวรรณ ต้นทอง หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน ชีวิต คือโอกาสของการเรียนรู้ : นพ.ดร.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์
อ่านโดย : คุณนิภาพร เอื้อวัณณะโชติมา หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต Life is Learning : บทนำ
ผู้อ่าน : คุณจณิน วัฒนปฤดา บทนำ ของหนังสือ "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต : Lie is Learning Learning is Life" จากการอ่านของอาสาสมัคร โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อนสุขภาวะทางปัญญา" workshop ครั้งที่ 1
หนังสือเสียง เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต ตอน เชื่อมโยงจักรวาลด้วยงานอาสา : สรยุทธ รัตนพจนารถ
อ่านโดย : คุณนิธิศ ทองสอาด หนังสือเสียง "เรียนรู้คุณค่าแห่งชีวิต" หนึ่งในกิจกรรม ภายใต้โครงการ "พื้นที่เรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง เพื่อสุขภาวะทางปัญญา" โดยสถาบันอาศรมศิลป์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ฟังเสียงเพื่อนซึมเศร้า
ถ้าคนรอบข้างป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรืออยู่ในภาวะซึมเศร้า หลายครั้งที่เขามาปรึกษาคุณ แต่อาการเขาก็กลับยังไม่ดีขึ้น จนคุณกลายเป็นทุกข์ไปด้วยรึเปล่า? บางครั้งการพยายามจะช่วยหาทางออกให้คนที่อยู่ในภาวะซึมเศร้า อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุดที่จะช่วยเขา นอกเหนือจากการที่ผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพียงแค่คุณเป็นพื้นที่รับฟังที่ดีให้กับเขา ก็ช่วยเยียวยาเขาได้มากแล้ว แต่ทุกวันนี้คุณคิดว่าคุณฟังเขาเป็นหรือยัง? ถ้ายัง หรือว่าไม่ชัวร์... คลิปนี้จะช่วยคุณเข้าใจเรื่องการฟังใหม่อีกครั้ง
ฟังด้วยหัวใจ ฟังเสียงเพื่อนซึมเศร้า
การฟังด้วย “หัวใจ” จะช่วยดูแลคุณและคนที่คุณต้องดูแล เมื่อใดที่เราต้องรับสายโทรศัพท์เพื่อนซึ่งอยู่ในภาวะซึมเศร้าโทร. เข้ามาระบายให้คุณฟัง คุณจะต้องทำอย่างไร ? จะช่วยเขาได้ไหม ? บางครั้งการรับฟังด้วยหัวใจ นอกจากจะช่วยดูแลเพื่อนที่โทร. มาหาคุณแล้ว มันยังช่วยให้คุณได้ฟังเสียงข้างในของตัวเองว่าพร้อมจะรับฟังเพื่อนไหม ด้วยขั้นตอนดังนี้ 1. สังเกตุความรู้สึกตัวคุณเอง ว่าเป็นอย่างไร พร้อมจะรับฟังไหม 2. สังเกตเสียงความคิดในหัวคุณ เพื่อรู้เท่าทันและหรี่เสียงนั้นให้เบาลงๆ โดยไม่ต้องพูดมันออกมา 3. ฟังความรู้สึกคนพูด มากกว่าเรื่องราวที่เขาพูด 4. ไม่พูดแทรก หรือพูดขัด 5. ถามความรู้สึกเขา 6. ฟังด้วยความเห็นใจและไม่ตัดสิน เพื่อให้เขารู้ว่าเขามีตัวตน มีคุณค่า และมีคนที่พร้อมอยู่เคียงข้าง และ 7. ฟังแล้วต้องปล่อยวางให้เป็น เพียงเท่านี้ก็ฟังก็จะดูแลใจของกันและกันเป็นอย่างดี
เสียงสะท้อนจากผู้ชมวีดีโอชุด วิชาชีวิต
“วิชาชีวิต” คือชุดวิดีโอ ที่เปิดมุมมองใหม่ของความตายผ่านทาง Facebook Live ซึ่งออกอากาศตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - มิถุนายน 2562 ทุกคนได้มีโอกาสตระหนักถึงคุณค่าของการวางแผนชีวิตในช่วงสุดท้าย เมื่อวันหนึ่งทุกคนต่างก็ต้องเดินทางมาถึง และหลีกหนีไม่ได้ หลายคนตระหนักในการใช้ช่วงเวลาสุดท้ายอย่างเข้าใจ มอบความรักและโอบอ้อมกัน หลายคนเรียนรู้ที่จะดูแลรักษาคนที่เรารักด้วยการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อมอบความสุขสงบให้กันเมื่อถึงเวลาอันสมควร
ผู้นำแห่งอนาคต ความรู้ฉบับพกพา
ท่ามกลางวิกฤตของปัญหาสังคมที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เราไม่สามารถมีผู้นำที่เป็นวีรบุรุษเพียงคนเดียวท่านั้น สังคมไทยต้องเรียนรู้และพัฒนาภาวะการนำรูปแบบใหม่เป็น “การนำร่วม” ที่เปิดโอกาสให้บุคคลมีความสามารถและความคิดที่หลากหลายเข้ามานำพาสังคมก้าวไปข้างหน้า เป็นการนำที่เริ่มจากการเปลี่ยนแปลงตนเองจากภายใน หรือเรียกว่า “การนำด้วยจริยธรรม” แล้วจึงไปเสริมสร้างกระบวนการทัศน์ใหม่ในการกอบกู้สังคมไทยเมื่อต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ
Words Can Kill ฟังเสียงเด็ก - สปอตรณรงค์
สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย น้อง ๆ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน สปอตรณรงค์ชิ้นนี้ พาไปฟังเสียงเด็ก ๆ กับความรู้สึกเมื่อได้ยินคำพูดทำร้ายจิตใจจากพ่อแม่ ลองเปิดใจ ฟังเสียงเด็ก และเลือกใช้คำพูดที่เหมาะสมไม่ทำร้ายกัน ** ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน **
Words can kill ฟังเสียงผู้ใหญ่ - สปอตรณรงค์
สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย น้อง ๆ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน สปอตรณรงค์ชิ้นนี้ พาไปฟังเสียงผู้ใหญ่ ที่มา เหตุผล และความรู้สึกของการใช้คำพูดของตนเองและความรู้สึกจากคำพูดของเด็กเมื่อย้อนกลับมา ** ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน