trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "เศรษฐกิจ" พบ 7 ข้อมูล

สูงวัยกับธรรมชาติและการรู้ทันสื่อ ICEM E-Bulletin: Vol.3

กรุณากดลิงค์เพื่อเข้าชมสื่อ E-Bulletin https://www.iceml.org/e-bulletin/Vol-03/   ธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลง กับเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารที่มากมายในโลกสื่อสารและโลกออนไลน์  สิ่งเหล่านี้ผู้สูงวัยต้องเตรียมพร้อมในการรับข้อมูล และเท่าทันสื่อในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ “ภัยพิบัติ” ที่มักมาพร้อมกับข่าวลวง หรือ Fake News เป็นจำนวนมาก  เนื้อหาภายในเล่มจึงนำเสนอความรู้การสร้างสมดุลการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์และธรรมชาติ ตามหลักแนวคิด “เศรษฐกิจพอเพียง – มีภูมิคุ้มกัน รู้เหตุรู้ผล และความพอประมาณ”  พร้อมกับบทความเด่น ผู้สูงวัยกับการรู้เท่าทันสื่อ “ความเชื่อ ความจริง เรื่องดิน น้ำ ลมไฟ” และ “การรับมือภัยพิบัติอย่างปลอดภัยจากบทเรียนประเทศญี่ปุ่น”  และพลาดไม่ได้กับบทความ “เกษียณสดใส ท่องเที่ยวไปอย่างเท่าทัน” เพื่อสร้างประสบการณ์การเที่ยวอย่างปลอดภัย ปลอดโควิด 19

New Heart New World 3 : พ่อผาย สร้อยสระกลาง

พ่อผาย สร้อยสระกลาง ผู้ใหญ่บ้าน กับมุมมองการ ”ตื่นรู้” ที่ได้จากห้องเรียนในธรรมชาติและจากการดำเนินชีวิตตามรอย..พ่อ ด้วยการนำเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต ซึ่งความพอเพียงนี้ ได้ทำให้พ่อผายค้นพบปรัชญาในการดำเนินชีวิต เห็นคุณค่าของธรรมชาติรอบตัวและค้นพบศักยภาพในตัวตน โดยพ่อผายได้นำคุณค่าและศักยภาพเหล่านี้มาพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์และเกิดมูลค่าสูงสุด "ต้องมีสติสัมปชัญญะ สติคือมองอนาคตแล้วก็มองไปทางหลัง อดีตที่ผ่านมาทำอะไรบ้าง อนาตจะทำอะไรบ้าง" "พ่อบอกว่า ลูกท่องให้ได้นะ กินอิ่ม นอนอุ่น อยู่ดี หนี้หมด เท่านี้เอง วิชาเศรษฐี พ่อคือใคร พ่อคือในหลวงนี่แหละ พ่อของกระหม่อม แค่นี้เอง เดินตามรอยพ่อ" พ่อผาย สร้อยสระกลาง ผู้ใหญ่บ้าน

We Oneness คือ

We Oneness ในมูลนิธิสหธรรมนิกชน เกิดจากความตั้งใจในการขับเคลื่อนสังคมแห่งการตื่นรู้ ของกลุ่มกัลยาณมิตรที่มีความหลากหลายในวิธีคิดแต่มีสัจจะความจริงเดียวกัน  ซึ่งมีเป้าหมายที่อยากจะให้ผู้คนหันกลับมาสนใจเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ความเป็นจริงของชีวิตให้เกิดการตระหนักรู้โดยการนำหลักพระพุทธศาสนา ศาสตร์เพื่อการตื่นรู้ เพื่อให้มนุษย์ยุคนี้กลับมารู้จักตัวเองและนำวิถีชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต เพื่อให้เกิดสังคมต้นแบบหรือสังคมอาริยะชน อีกทั้งเป้าหมายหลักของมูลนิธิสหธรรมนิกชน คือ ขยายพื้นที่ทางความคิดและเพิ่มกัลยาณมิตรในสังคม

หนองจอก บ้านนอกกรุงเทพ

ผลงานคลิปวีดีโอจากทีม Santichon Production House พาเราไปพบกับพื้นที่เล็ก ๆ ใจกลางกรุงเทพที่มีวิถีชีวิตอันงดงามซ่อนอยู่ นั่นคือ หมู่บ้านคอยรุตตักวา บริเวณหนองจอก กรุงเทพมหานคร คำว่า คอยรุตตักวา นั้นมีความหมายว่า แผ่นดินทอง วิถีชีวิตที่นี่เป็นไปอย่างเรียบง่าย พอเพียง ไม่มีหนี้สิน ชาวบ้านนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีวิต ทำสวน ทำนา ปลูกผัก เลี้ยงเป็ด เลี้ยงปลา ทั้งเอาไว้รับประทานในครัวเรือนและขายเป็นรายได้ ชุมชนแห่งนี้ยังแสดงออกถึงการอยู่ร่วมกันของชาวพุทธและมุสลิมอย่างเอื้ออาทรและมความสุข

ร.๙ ในใจชน ตอน ถวายจงรักด้วยอักษรา (ตอน 2)

บทประพันธ์ร้อยกรองโดยคุณชมัยภร แสงกระจ่าง ประพันธ์ขึ้นจากใจที่สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในรัชกาลที่ 9...ในยามที่บ้านเมืองต้องเผชิญปัญหาความขัดแย้งในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ  แต่ด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณของพ่อแห่งแผ่นดิน  ได้เรียกขวัญและสร้างความสมัครสมานสามัคคีกลับมาสู่แผ่นดินไทยอีกครั้ง  ..ทว่ากาลเวลาที่ล่วงผ่าน มิอาจทานกฎแห่งธรรมชาติได้ สิ่งที่คนไทยทั้งแผ่นดินไม่อยากได้ยิน...13 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ในหลวง รัชกาลที่ 9 เสด็จสู่สวรรคาลัยแล้ว ต่อแต่นี้คนไทยต้องรักกัน  ดูแลกันและกัน ดูแลแผ่นดินของพ่อให้ดีงามดั่งที่พ่อเคยทำมา

ท่าพระ ชุมชนเศรษฐกิจ อดีตชุมทางการค้าภาคอีสาน

เสียงฉึกกะฉัก...ฉึกกะฉัก...ของรถไฟดังขึ้นครั้งแรกในชุมชน “ท่าพระ” หนึ่งใน 18 ตำบลของอำเภอเมืองขอนแก่น จากชุมชนเล็กๆ ที่มีผู้คนอาศัยอยู่เพียง 2 – 3 ครอบครัว เริ่มมีจำนวนมากขึ้น ซึ่งไม่ได้มีแค่คนไทยแต่ยังมีคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่หอบเสื่อผืนหมอนใบ มาตั้งหลักปักฐานบนแผ่นดินนี้ เกิดเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีตลาดสถานีรถไฟที่พ่อค้าแม่ขายได้นำสินค้ามาจำหน่าย แม้จะเป็น “ตลาดแบกะดิน” หรือตลาดที่ขายของบนพื้น แต่ตลาดแห่งเดียวกันนี้ก็นับว่าเป็นศูนย์กลางทางการค้า เพราะนอกจากชาวท่าพระแล้วยังมีชาวบ้านจากอำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม และใกล้เคียง บ้างเดินเท้า บ้างนั่งเกวียนเพื่อนำ “ของป่า” มาขายให้คนท่าพระและพ่อค้าคนกลางที่จะนำสินค้าเหล่านั้นไปขายในกรุงเทพมหานคร รายได้จากการขายของป่าก็นำมาซื้อข้าวของกลับไปขายต่อให้คนในหมู่บ้านซึ่งอยู่ห่างไกลออกไป วิธีนี้ช่วยให้ชาวโกสุมพิสัยและใกล้เคียงไม่ต้องเดินทางไปไกลถึงในตัวจังหวัดขอนแก่นเพราะมีแม่น้ำชีขวางกั้นการสัญจรค่อนข้างลำบาก สำหรับ “ของป่า” ที่ว่านั้น ชาวท่าพระผู้เป็นบุคคลอาวุโสได้บอกเล่าให้ฟังว่า ของป่าเป็นสินค้าชาวบ้านนิยมขาย ได้แก่ มะขามเปียก ครั่ง นุ่น ปอ ข้าว เศรษฐกิจท่าพระในขณะนั้นจึงคึกคักมาก ทำให้บริเวณใกล้เคียงสถานีรถไฟมีการปลูกสร้างบ้านเรือนมากขึ้น

กลไกและกติกาการจัดการที่ดินภาคเกษตรกรรมของลาวในบริบทของจินตนาการใหม่

งานวิจัยศึกษาระบบการจัดการที่ดินของประเทศลาว ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ นับตั้งแต่ปี 1975 ที่ลาวเปลี่ยนจากระบบสังคมนิยม เข้าสู่เศรษฐกิจเสรีเต็มตัวในแนวทางที่เรียกว่า 'นโยบายจินตนาการใหม่' ส่งผลการเปลี่ยนแปลงต่อหนึ่งในทรัพยากรที่สำคัญและมีคุณค่ายิ่งของประเทศ การศึกษานี้จะเข้าไปมุ่งศึกษาในทุกกระบวนการจัดการที่ดินของประเทศลาว ในสถานการณ์อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนี้

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.