เล่น...เพื่อสร้างโลกที่เป็นสุข
เพราะการเล่นเป็น 1 ในกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยพัฒนาทักษะและการเรียนรู้ให้กับเด็กอย่างสมวัย หนังสือเล่น...เพื่อสร้างโลกที่เป็นสุข จึงเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นคู่มือที่ใช้สำหรับบอกแนวทางปฏิบัติในการจัดสภาพแวดล้อม เพื่อสร้างพื้นที่เล่นสำหรับเด็กให้กับผู้ที่ทำงานด้านเด็ก โดยเรียบเรียงเนื้อหามาจากประสบการณ์จริงในการทำงานร่วมกับงานวิจัยของต่างประเทศ ผ่านการนำมาปรับปรุงและทดลองใช้โดยมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) เนื้อหาประกอบไปด้วยภาพรวมการจัดสภาพแวดล้อมสำหรับเด็ก สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเล่น การพัฒนาพื้นที่เล่น การมีส่วนร่วมในการเล่น ตลอดจนถึงเทคนิคการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเล่นอย่างเป็นรูปธรรม
ขบวนการนกกระจิ๊ด ตอน การแสดงห้องเรียนชั้น ป.4
จุดประเด็นเรื่องสิทธิพลเมืองและการใช้สิทธิการมีส่วนร่วมตามหลักประชาธิปไตยผ่านการ์ตูนแอนิเมชั่น ขบวนการนกกระจิ๊ด ให้เด็ก ๆ วัยเรียนได้เข้าใจและเรียนรู้ จากสถานการณ์การคัดเลือกการแสดงในเทศกาลปีใหม่ ณ ห้องเรียนชั้น ป.4 ที่เกิดความคิดต่างกัน ระหว่างการร้องเพลง และการแสดงซูปเปอร์ฮีโร่ การโหวตเพื่อเลือกข้างทันที นั้นคือประชาธิปไตยจริงหรือ ??? เอาล่ะ...เพื่อนๆ ในห้องเรียนชั้น ป.4 จะทำอย่างไร ต้องติดตามชม
การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง เหตุเกิดที่ห้องเรียน บ้านการ์ตูน
หยิบเรื่องราวเท่าทันสื่อ ถ่ายทอดผ่านลายเส้นการ์ตูนไทย เรื่องราวตอนนี้เกิดขึ้น ณ บ้านการ์ตูน จ. พะเยา ครูสอนศิลปะแปลกใจ เด็กๆ หายไปจากห้องเรียนกันหมด มีเพียง ด.ช. ก็อต ที่ยังอยู่ในห้องเรียน และบอกว่าที่เพื่อนๆ หายไปเพราะไปร้านเกมเล่นอินเทอร์เน็ต ครูศิลปะจึงออกแบบการเรียนการสอนให้เด็กวาดรูปโทรศัพท์มือถือ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ และสื่อออนไลน์ที่เสพได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่เปรียบเสมือนดาบสองคม ต้องใช้อย่างพอเพียง และไม่เสพติดสื่อออนไลน์มากเกินไป มิเช่นนั้นจะเกิดภัยที่ตามมา เพราะคลื่นแม่เหล็กในโทรศัพท์มือถือ อาจทำให้สมองเสื่อม หูอักเสบ ฯลฯ
5 วิธีที่คุณครูจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก
การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียนครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียนนักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียน ครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน นักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา ที่มา: https://www.theguardian.com/teacher-network/2018/jan/17/bullying-is-still-rife-in-schools-heres-how-teachers-can-tackle-it
ดูหนัง....เห็นเนื้อในชีวิต
ภาพยนตร์ หรือ Motion Picture เป็นสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์ไปสู่การรับรู้และเรียนรู้ประเด็นต่าง ๆ ในชีวิตให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะมีความน่าสนใจและความดึงดูดใจทั้งภาพ เสียง การวางโครงเรื่อง ให้คนดูเกิดอารมณ์และความรู้สึกคล้อยตาม หากผู้ใหญ่คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู ผู้ดูแลเด็ก นำสื่อภาพยนตร์มาใช้สร้างการเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี เนื้อหาในหนังสือครอบคลุมการเลือกภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เทคนิคการสร้างกระบวนการเพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างเพลิดเพลิน ไม่ใช่การสอนที่ทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายหรือจำเจ
Pocket English ตอนที่ 17 สนุกดีที่โรงแรม
เวลาไปท่องเที่ยวพักผ่อน ที่โรงแรมมีกิจกรรมสนุก ๆ ให้เราทำหลายอย่าง เรามารู้จักคำศัพท์ในหมวดที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการในโรงแรมกันกับพี่หลุยส์และพี่ลูกเจี๊ยบกันดีกว่า ครั้งหน้าเมื่อไปถึงโรงแรม น้อง ๆ จะได้อ่านป้ายภาษาอังกฤษของโรงแรมออก ทีนี้ก็จะสามารถใช้สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของโรงแรมกันได้อย่างเต็มที่และสนุกไปเลย
Pocket English ตอนที่ 16 จองที่พักกัน
ครอบครัวของพี่หลุยส์จะไปเที่ยว ตกเป็นหน้าที่ของพี่หลุยส์ต้องเป็นคนจองโรงแรม เดือดร้อนพี่ลูกเจี๊ยบต้องมาสอนพี่หลุยส์จองที่พักออนไลน์ ตอนนี้น้อง ๆ จะได้เรียนรู้คำศัพท์การจองที่พักจากพี่ลูกเจี๊ยบมากมายเลย ทั้งคำว่า จอง เช็คอิน เช็คเอาท์ ฯลฯ เรียนรู้คำศัพท์ให้สนุกแล้วไปเที่ยวครั้งหน้า อย่าลืมเอาความรู้ไปช่วยคุณพ่อคุณแม่จองที่พักออนไลน์กันด้วยนะ
Pocket English ตอนที่ 15 กินเล่น ๆ อิ่มจริง ๆ
ขนม ของขบเคี้ยว ของทานเล่นที่เด็ก ๆ โปรดปรานและชอบรับประทานกันนั้น แต่ละอย่างมีคำเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร? มาสนุกกับคำศัพท์ที่เกี่ยวกับของรับประทานเล่น ๆ กับพี่หลุยส์และพี่ลูกเจี๊ยบกัน เมื่อเรียนรู้แล้ว ครั้งต่อไปที่จะทานขนมของขบเคี้ยว ลองคิดและพูดเป็นภาษาอังกฤษก็น่าจะทั้งสนุก อร่อย และได้ความรู้ไปพร้อมกัน
Pocket English ตอนที่ 14 มีอะไรในกล่องปฐมพยาบาล
น้อง ๆ เคยไปเข้าค่ายค้างคืนกับคุณพ่อคุณแม่และทางโรงเรียนกันบ้างไหมเอ่ย? หลายๆ ครั้งเราจะเห็นผู้ใหญ่เตรียมกล่องปฐมพยาบาลที่มียาสามัญประจำบ้านเบื้องต้นไว้เผื่อฉุกเฉิน อยากรู้ไหมว่ายาและอุปกรณ์ในกล่องปฐมพยาบาลนั้นแต่ละอย่างเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไร? เรื่องนี้จำเป็นมาก ๆ ไว้เผื่อฉุกเฉินและเจ็บป่วยเราจะได้เรียกเป็น ไปเรียนรู้กับพี่หลุยส์และพี่ลูกเจี๊ยบกันเลยดีกว่า
Pocket English ตอนที่ 13 ซื้อของทำออมเล็ทดีกว่า
เมื่อพี่ลูกเจี๊ยบอยากทำอาหารฝรั่งอย่างออมเล็ท พี่หลุยส์จึงพามาซื้อส่วนผสมสำคัญในร้านค้าร้านใหญ่ สิ่งที่พี่ลูกเจี๊ยบต้องการก็คือ นม และ ชี้ส แต่บนชั้นวางมีนมและชี้สหลากหลายรูปแบบ เรามาเรียนรู้คำศัพท์ที่เกี่ยวกับนมและชี้สไปพร้อมกับพี่เจี๊ยบและพี่หลุยส์ไปพร้อม ๆ กันในตอนนี้ เสร็จแล้วน้อง ๆ อาจลองไปทำออมเล็ทแสนอร่อยให้คุณพ่อคุณแม่รับประทานบ้างก็ยอดเยี่ยมเลย