เรียนจนหลังหัก
นักเรียนไทยจำนวนมากแบกกระเป๋าหนักเกินมาตรฐาน เฉลี่ย 6 กิโลกรัมต่อคน โดยแท้จริงน้ำหนักกระเป๋าที่เหมาะสมกับเด็กต้องไม่เกิน 10 % ของน้ำหนักตัวเด็ก มิเช่นนั้นจะส่งผลกระทบทำให้เด็กมีพัฒนาการด้านความสูง โครงสร้างกระดูกมีปัญหา และเดินทางไม่ปลอดภัย ส่วนวิธีการลดน้ำหนักกระเป๋านักเรียน เริ่มจากคุณครูต้องจัดตารางเรียน และหลักสูตรที่เหมาะสม เพื่อเด็กจะได้จัดกระเป๋าให้สอดคล้องกับตารางสอนทุกวัน รวมทั้งต้องมีระบบการจัดเก็บหนังสือและอุปกรณ์การเรียนไว้ที่โรงเรียน
กินอะไรในวัยเรียน
เด็กในวัยเรียนคือเด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี วัยนี้จะมีพัฒนาการทั้งทางร่างกาย จิตใจ และการเรียนรู้ที่เยี่ยมยอด คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลเรื่องโภชนาการของลูกอย่างใกล้ชิด เลือกอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการของลูกอย่างดีที่สุดต่อหนึ่งวัน และควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง รสจัด สุก ๆ ดิบ ๆ น้ำอัดลม ชา กาแฟ และขนมหวานต่างๆ
เด็กกินอะไร เวลาอยู่ในโรงเรียน
เด็กไทยในวันนี้จะไม่เป็นผู้ใหญ่อ้วนในวันหน้า ถ้าพ่อแม่ปลูกฝังให้ลูกกินอาหารที่มีประโยชน์ โรงเรียนกวดขัน ดูแล และควบคุมร้านค้าที่ขายอาหารและขนมภายในโรงเรียน ไม่ให้มีขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน ไอศกรีม และขนมไร้ประโยชน์ต่างๆ และที่สำคัญคือเด็ก ๆ ต้องมีความรู้เรื่องสุขภาพ ดูแลตัวเอง รู้จักเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
10 สิ่งที่เด็กควรทำนอกบ้านก่อนอายุ 10 ขวบ
กิจกรรมนอกบ้านเป็นกิจกรรมสุดโปรดสำหรับเด็ก ๆ แต่บางครั้งคุณพ่อคุณแม่อาจจะไม่ค่อยมีไอเดียว่าจะให้เด็ก ๆ เล่นอะไร อินโฟกราฟิกนี้จะช่วยแนะนำ 10 กิจกรรมนอกบ้านสำหรับเด็กตั้งแต่ปฐมวัยจนถึงวัยเรียนให้คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครอง เป็นกิจกรรมที่ช่วยกระตุ้นพัฒนาการให้เด็ก ๆ ให้เกิดทั้ง 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี
คุณภาพชีวิตเด็ก 2556 : ฟื้นความฝันการศึกษาให้เด็กไทย
หนังสือเล่มนี้ พาผู้อ่านไปมองภาพและสังเคราะห์ปัญหาระบบการศึกษาไทยในภาพรวมหลากหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ หรือการศึกษาทางเลือก เพื่อมุ่งเป้าหมายในการกระตุ้นเตือนสังคมให้มองการศึกษาในแง่มุมใหม่ พาการศึกษาไทยไปสู่เป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนอย่างเต็มศักยภาพ และเกิดการเรียนรู้สร้างสรรค์ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน
คุณภาพชีวิตเด็ก 2556
หนังสือคุณภาพชีวิตเด็ก 2556 เป็นฉบับปฐมฤกษ์ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ที่จัดทำขึ้น เพื่อเป็นสื่อกลางนำเสนอข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก โดยได้ทำการรวมรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดทำองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กไทยทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนให้ครอบครัวและผู้ทำงานด้านเด็กได้มองเห็นประเด็น เกิดองค์ความรู้ เพื่อนำสู่การพัฒนาศักยภาพเด็กไทยอย่างสมบูรณ์
3 ฐาน สานพลังต้นทุนชีวิต : บทเรียนการเสริมสร้างพลังบวก
หนังสือ “3 ฐาน สานพลังต้นทุนชีวิต : บทเรียนการเสริมสร้างพลังบวก” เป็นการถอดบทเรียนการทํางาน “ต้นทุนชีวิต” 3 บริบทสําคัญในชีวิตได้แก่ ต้นทุนชีวิตบริบทครอบครัว บริบทชุมชน และบริบทโรงเรียน ซึ่งเปรียบเสมือนต้นไม้ที่เติบโตจากการบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์หยั่งรากลงดิน และเติบโตแตกกิ่งก้านเป็นลําต้นใหญ่ ซึ่งแม้แต่ละบริบทจะมีจุดเน้นต่างกัน แต่เป็นการเชื่อมร้อยต่อกันเป็นห่วงโซ่ ทั้งนี้โดยพื้นฐานของคนเราเกิดมาล้วนมีต้นทุนชีวิต (Life Assets) กันทุกคน ซึ่งต้นทุนเหล่านั้นจะแปรเปลี่ยนสภาพตามสภาวะแวดล้อม และการเรียนรู้ทางสังคม หากเราเข้าใจการสานพลัง 3 ฐานนี้แล้ว ก็จะพัฒนาสู่ต้นทุนชีวิตที่ดีงามให้กับเด็กและเยาวชนต่อไป
คุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย
หนังสือคุณภาพชีวิตเด็กปฐมวัย (ปีที่ 2) นำเสนอประเด็นสำคัญที่น่าห่วงใยและทางออกในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของประเทศไทย ภายใต้ข้อมูลฐานงานวิจัยและวิชาการของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการที่สมวัย นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีของเด็ก ไม่ว่าจะเป็นประเด็นบทบาทของครอบครัวในการเลี้ยงดูเด็ก โภชนาการที่เหมาะสมกับเด็ก ความปลอดภัยและป้องกันการการบาดเจ็บและสารพิษในเด็ก โรคติดเชื้อในศูนย์เด็กเล็ก ปัญหาการบริโภคสื่อของเด็ก รวมทั้งสิทธิและความเสมอภาคของเด็กในการเรียนรู้อย่างเท่าเทียม
บางกอกตะลุยปันยิ้ม ณ เพชรบุรี
ภาพบรรยากาศการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฏิบัติการ 'บางกอกตะลุยปันยิ้ม ณ เพชรบุรี' ความดีงามยังคงเดินทางจากเครือข่ายบางกอกนี้...ดีจัง ขยายไปสู่พื้นที่จังหวัดเพชรบุรี กับ เครือข่ายเพชรบุรีนี้ดีจัง ทั้ง 2 พื้นที่ 2 ชุมชน ผสานพลังแกนนำเด็ก เยาวชน และชาวบ้านภายในชุมชนร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกันขยายภารกิจการสร้างพื้นที่ 3 ดี คือ สื่อดี ภูมิดี และพื้นที่ดี อย่างเป็นรูปธรรม
หนังบักตื้อที่โรงเรียนบ้านเพียมาต
โรงเรียนบ้านเพียมาต (รัฐราษฎร์พิทยาคาร) ที่ จ.ศรีสะเกษ เป็นโรงเรียนขยายโอกาส โรงเรียนแห่งนี้ได้นำเอาภูมิปัญญาที่มีคุณค่า และชุมชนที่เข้มแข็งมาสร้างเป็นหลักสูตรพิเศษ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ให้กับเด็ก ๆ ตัวอย่างที่เห็นเด่นชัด คือ การนำหนังบักตื้อ ที่เป็นศิลปวัฒนธรรมล้ำค่าของชุมชน มาถ่ายทอดให้เด็ก ๆ โดยครูภูมิปัญญาท้องถิ่น นอกจากทักษะที่เด็ก ๆ ได้เรียนรู้แล้ว ยังเป็นการเพิ่มภูมิดีให้เด็ก ๆ ได้ภาคภูมิใจในคุณค่าของชุมชนของตนเอง
ลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา)
พาไปดูตัวอย่างการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ของโรงเรียนต้นแบบ โรงเรียนเมืองคง (คงคาวิทยา) จ.ศรีสะเกษ ที่ทำวันศุกร์ให้เป็น Friday is Flyday หรือวันแห่งการโบยบิน โดยที่ตลอดวันเด็ก ๆ จะได้ทำกิจกรรมหลากหลาย ตั้งแต่เช้าเป็นการเดินจงกรม ทำสมาธิ ต่อมาที่ช่วงสาย ๆ จะเป็นการทำกิจกรรมศิลปะสนุก ๆ และปิดท้ายด้วยการฝึกทักษะชีวิตกับประสบการณ์ทำอาหารอร่อย ๆ เด็ก ๆ มีความสุข สนุกสนาน และสามารถนำสิ่งต่าง ๆ ที่ได้เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและชีวิตประจำวันได้