ตะลุยเรื่องเล่าชาวบางกอกน้อย
ติดตามเบื้องหลังกิจกรรมพาเด็ก ๆ ลงเรียนรู้ชุมชน ปลุกพลังสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชน ผ่านการทำงานหนุนเสริมของมูลนิธิเพื่อนเยาวชนเพื่อการพัฒนา (มยพ.) เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สิ่งดีงามในชุมชน เป็นพื้นที่ 3 ดี สื่อดี ภูมิดี และพื้นที่ดี ก้าวเล็กๆ ของเด็กและเยาวชนจากชุมชนวัดรวกสุทธาราม วัดอัมพวา และวัดโพธิ์เรียงแห่งบางกอกน้อย จะเป็นพลังสร้างสรรค์ฟื้นชุมชนให้กลายเป็นพื้นที่น่าอยู่ของทุกคนต่อไป
คลิปประมวลกิจกรรมบางกอกนี้ดีจัง ตอน มาเล่นกันเถอะ
ชมภาพประมวลกิจกรรมดีๆ ของการร่วมพลังของเด็กและเยาวชน เครือข่ายสื่อ และชุมชน จัดกิจกรรม “บางกอกนี้...ดีจัง ตอน มาเล่นกันเถอะ” กับการเนรมิตพื้นที่วัดสุวรรณาราวราชวรวิหาร ณ ชุมชนบางกอกน้อย ให้เป็นตัวแทนพื้นที่ 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยการจัดกิจกรรมแสดงศักยภาพ เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ ชวนเด็กและเยาวชนนำ 'การเล่น' มาเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์สร้างการเรียนรู้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงพลังเล็ก ๆ ...พลังเด็กเปลี่ยนโลก
ภารกิจสื่อเด็กเปลี่ยนโลก ตอน มาเล่นกันเถอะ - 1
พลังสร้างสรรค์ของเด็กและเยาวชนไหมกับภารกิจเปลี่ยนโลก น้องๆ เยาวชนเครือข่ายบางกอกนี้ดีจัง พาชมภารกิจเด็กเปลี่ยนโลก กับกิจกรรมเครือข่าย ภายใต้ชื่อกิจกรรม “บางกอกนี้...ดีจัง เมือง 3 ดี” จัดขึ้น ณ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร บางกอกน้อย เยาวชนสามารถนำงานศิลปะมาพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ ปลุกวิถีวัฒนธรรมชุมชนให้เป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น
ภารกิจสื่อเด็กเปลี่ยนโลก ตอน มาเล่นกันเถอะ - 2
ชมบรรยากาศน่ารัก ๆ เอาใจช่วยน้อง ๆ ทำภารกิจเปลี่ยนโลก เมื่อเครือข่ายกลุ่มเด็ก และเยาวชน บางกอกนี้ดีจัง ชักชวนเครือข่ายเด็กและเยาวชนอีกหลากหลายพื้นที่ทั่วประเทศมารวมตัวกันทำเรื่อง 'เล่น' ให้เป็นเรื่องใหญ่ สร้างสีสัน เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ด้วยการจัดกิจกรรมสนุกสร้างสรรค์ สานต่อวัฒนธรรม การแสดง ศิลปะ ของดีชุมชน ณ วัดสุวรรณารามราชวรวิหาร
ชีวิตติดสื่อ
คลิปวิดีโอสรุปสถานการณ์ชีวิตติดสื่อของเด็กและเยาวชนไทย โลกดิจิทัลทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อ Social Media มากกว่าการอ่าน และการเรียนหนังสือในห้องเรียนไปเสียแล้ว ชีวิตติดสื่อจึงเป็นวิกฤติที่น่าเป็นห่วง เพราะใน Social Media เหล่านั้นมีการเผยแพร่กันทั้งเว็บอนาจาร ข่าวไม่จริง เนื้อหาที่สร้างค่านิยมผิดๆ เมื่อเด็กและเยาวชนเสพมากเกินไป จะส่งผลกระทบให้เกิดการลอกเลียนแบบ หากไม่มีการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ อยากรู้เท่าทันสื่อ
เอ๊ะก่อนอ๋อ รู้ให้ทันสื่อ
เรียนรู้หลัก '7 เอ๊ะ' ก่อน 'อ๋อ' เพื่อเรียนรู้การรู้เท่าทันสื่อ เพราะในชีวิตประจำวันของเราตลอด 24 ชั่วโมง แวดล้อมไปด้วยสื่อดิจิทัล การสื่อสารออนไลน์ทั้งชม แชท แชร์ ดังนั้นเราควรมีทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะสื่อที่ได้ชม ได้ฟังก่อนที่จะแชร์ ว่าสื่อหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เราได้เห็น ได้ชมนั้นเป็นจริงหรือมีประโยชน์ต่อส่วนร่วมหรือไม่? เพื่อป้องกันไม่ให้เราและคนอื่น ๆ ในสังคมต้องตกเป็นเหยื่อในโลกออนไลน์
พื้นที่สร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-จังหวัดอุดรธานี
น้อง ๆ เยาวชนคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เดินหน้าสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับน้องๆ ในพื้นที่ ตัวอย่างเช่นในตอนนี้ เราจะไปดูน้อง ๆ ไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ โรงเรียนชุมชนวังทอง เน้นประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ ผ่านการลงพื้นที่ชุมชน เรียนรู้การทำสื่อด้วยตนเอง ทำให้น้อง ๆ ได้รู้วิธี กระบวนการผลิตสื่อ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรมไปพร้อมกัน
รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป
การวิจัยเรื่อง ถอดบทเรียนสื่อสารสร้างสรรค์ โครงการนักสื่อสารเยาวชนคนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด
งานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและกระบวนการพัฒนาในพื้นที่บ้านหว้าน ด้วยสื่อสร้างสรรค์ของแกนนำนักสื่อสารเยาวชนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด กลุ่มยูอีสาน ที่นำไปสู่การพัฒนาเยาวชนและชุมชน ให้รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันตัวเอง เท่าทันสังคม และเพื่อต่อยอดขยายผลไปยังพื้นที่สร้างสรรค์อื่น ด้วยแนวคิด ๓ ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยให้เยาวชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดออกแบบ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมสื่อ หรือ ใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าในตัวเองและเรียนรู้ อนุรักษ์ประเพณี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต่อเนื่องกับโครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง เพื่อบรรเทาปัญหาเด็กเยาวชนและลดช่องว่างระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนหรือส่วนราชการ และยังส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าของผู้สูงวัยที่เป็นแหล่งทางภูมิปัญญาและความรู้
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป
ละครเด็กคลิตี้ 13 ปี ชีวิต สายน้ำ ความหวัง
การแสดงนิทานเพลงจากเด็กและเยาชนของหมู่บ้านคลิตี้ ชุมชนชาวกระเหรี่ยง ที่ จ.กาญจนบุรี สะท้อนภาพชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำและผืนป่า จนกระทั่งโรงแต่งเหมืองแร่เข้ามาทำธุรกิจที่ชุมชน ชีวิตและสิ่งแวดล้อมของที่นี้จึงถูกทำลายด้วยสารตะกั่ว การเล่าเรื่องด้วยเสียงเพลงท่วงทำนองที่ไร้เดียงสา รอยยิ้ม และแววตาที่ใสซื่อบริสุทธิ์พวกเด็กๆ เหล่านี้ มุ่งหวังให้เป็นนิทานสอนใจ ขอให้หมู่บ้านคลิตี้ล่างนี้เป็นบทเรียนสุดท้าย เพื่อไม่ให้ชุมชนอื่นๆ ได้รับผลกระทบแบบชุมชนของตนเอง
13 ปี คลิตี้ ชีวิต สายน้ำ ความหวัง
13 ปี เส้นทางการต่อสู้ของชาวกระเหรี่ยงในหมู่บ้านคลิตี้ล่าง อ.ศรีสวัสดิ์ และ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี นับตั้งแต่ปี 2510 ที่ธุรกิจเหมืองแร่ได้คร่าชีวิตและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ด้วยการปล่อยน้ำเสียที่มีสารตะกั่วลงสู่แหล่งน้ำดื่มน้ำใช้ของชุมชน ชาวบ้านต้องเผชิญปัญหานี้โดยลำพัง จนในปี 2541 จึงลุกขึ้นมาต่อสู้เรียกร้องสิทธิ์ความเป็นธรรม กระทั่งปี 2554 ธุรกิจเหมืองแร่นั้นเลิกกิจการไปแล้ว แต่สารตะกั่วยังอยู่สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของเด็ก คนในชุมชนและสิ่งแวดล้อม คนนอกพื้นที่อาจจะคิดว่าการเรียกร้องของชาวบ้านหมู่บ้านคลิตี้ล่าง ได้รับการเยียวยาด้วยเงินชดเชยแล้ว แท้จริงพวกเขายังคงเดินต่อสู้ต่อด้วยวิถีของการสร้างงานศิลปะ บอกเล่าผ่านการใช้พื้นที่ งานศิลปะ และสื่อสร้างสรรค์ เพื่อให้คนตัวใหญ่ในสังคมได้หันมามองคนตัวเล็ก ๆ แห่งนี้บ้าง