Words Can Kill - ภาพยนตร์สั้น
สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย น้อง ๆ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ภาพยนตร์สั้นเรื่องนี้ สะท้อนผลจากคำพูดร้ายกันทั้งสองฝ่าย ไม่มีใครได้รับประโยชน์จากการพูดคำร้ายใส่กันเลย ** ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน
Words Can Kill ฟังเสียงเด็ก - สปอตรณรงค์
สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย น้อง ๆ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน สปอตรณรงค์ชิ้นนี้ พาไปฟังเสียงเด็ก ๆ กับความรู้สึกเมื่อได้ยินคำพูดทำร้ายจิตใจจากพ่อแม่ ลองเปิดใจ ฟังเสียงเด็ก และเลือกใช้คำพูดที่เหมาะสมไม่ทำร้ายกัน ** ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน **
Words can kill ฟังเสียงผู้ใหญ่ - สปอตรณรงค์
สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย น้อง ๆ นักศึกษาคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน สปอตรณรงค์ชิ้นนี้ พาไปฟังเสียงผู้ใหญ่ ที่มา เหตุผล และความรู้สึกของการใช้คำพูดของตนเองและความรู้สึกจากคำพูดของเด็กเมื่อย้อนกลับมา ** ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน
Words can kill - โปสเตอร์
สื่อสร้างสรรค์ชุด Words Can Kill โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สะท้อนปัญหาการใช้คำพูดในครอบครัว คำพูดที่ไม่ทันคาดคิดจากผู้ใหญ่ในครอบครัวอาจจะส่งผลเสียต่อจิตใจของเด็ก และย้อนกลับมาทำร้ายผู้ใหญ่ด้วยเช่นกัน ผลงานชุด Words Can Kill ประกอบด้วยสื่อโปสเตอร์ อินโฟกราฟิก หนังสั้น และสปอตรณรงค์ เพื่อกระตุ้นให้สถาบันครอบครัวและสังคมตระหนักถึงปัญหานี้ แล้วยุติการใช้คำพูดทำร้ายกัน
Creative Shield - 1
ผลงานอินโฟกราฟิก โดยนักศึกษาคณะจิตรกรรม ประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยนำเสนอเรื่องของพื้นที่สร้างสรรค์ จากการลงพื้นที่เรียนรู้ที่ชุมชนดวงแข กับมูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก (มพด.) โดยได้สะท้อนแนวคิดออกมาเป็นการทำสื่อ FB ชื่อ CreativeShield ในประเด็น ทำอย่างไรให้มีพื้นที่ให้เด็กได้แสดงออกอย่างสร้างสรรค์ ภายใต้แนวคิด Safe Space โดยสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง Safe Space ในความคิดของเด็ก เพื่อให้เด็กมีความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง เกิดความเข้มแข็งที่จะปกป้องตนเองจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม โดยอินโฟกราฟิกชิ้นนี้เป็น 1 ในผลงานที่ใช้ในการเผยแพร่
มหาวิทยาลัยสร้างสรรค์คนรุ่นใหม่ กับการพัฒนาประเทศไทย โดย ศาสตราจารย์ นพ.ประเวศ วะสี
งานเขียนถอดความจากปาฐกถาพิเศษของ ศ.เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี จากพิธีเปิดเวทีนำเสนอผลงานนักศึกษา เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม วันที่ 21 พ.ค. 2558 เนื้อหากล่าวถึงการสร้างสรรค์สังคม คือ การสร้างพลังอํานาจที่ 3 ขึ้นมาในสังคม ที่ต่างจากพลังอํานาจรัฐ พลังอํานาจเงิน ที่สำคัญหากสังคมไทยร่วมมือกันสร้างพลังที่ 3 นี้ขึ้นมาให้เต็มประเทศ ก็จะกลายเป็นกุญแจสำคัญการพัฒนาเด็ก เยาวชน นิสิต นักศึกษาจํานวนมากให้กลายเป็นคนรุ่นใหม่ที่ได้รับการศึกษา เข้าใจประเด็นของประเทศ และใช้เทคโนโลยีไอทีและสื่อสารในทางที่สร้างสรรค์ พร้อมทั้งลุกขึ้นมาเป็นกําลังสำคัญในการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
ท่าเปลี่ยน โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผลงาน UNC ปี 2 โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ Concept : การนำเสนอข้อดีหรือสิ่งที่ดีของทะเลอันดามัน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับผลกระทบจากการสร้างโรงงานไฟฟ้าถ่านหินที่ จ.กระบี่ ผ่านสื่ออินโฟกราฟฟิคและโมชั่น กราฟฟิค ให้คนดูได้คิดตาม ควรมีหรือไม่มีโรงงานไฟฟ้าถ่านหิน
No Coal Save Krabi โดย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผลงาน UNC ปี 2โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมไทยที่น่าอยู่ ประเด็น : ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม Concept : นำเสนอคุณค่าของทรัพยากรและธรรมชาติที่งดงามที่ จ.กระบี่ อาจจะถูกทำลายไป เพราะมีโรงไฟฟ้าถ่านหินมามดแทน
ปลุกผัก โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ปลุกผัก ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
ตื่นตรา โดย กลุ่มคัดผัก
โครงการเสริมสร้างพลังเยาวชนสร้างสรรค์สื่อเพื่อสังคมที่น่าอยู่ ผลงาน คัดผัก(KUDPAK) ตอน ตื่นตรา ม.ศิลปากร Concept : ผักเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพแต่ต้องเป็นผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีระดับสารเคมีที่ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ออก “ตรารับรอง” ให้กับผัก ผลไม้ปลอดสารเคมี เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค แต่คนส่วนใหญ่กลับไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับตรารับรองมาตรฐานเหล่านี้ “ตื่นตรา-ปลุกผัก” เป็นสื่อที่ต้องการให้ข้อมูลเกี่ยวกับตรารับต่างต่างๆ ในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย สั้น ตรงประเด็น เพื่อให้ประชาชนที่ใส่ใจสุขภาพ หันมา รับประทานผักให้มากขึ้น และสามารถเลือกผักที่ปราศจากสารเคมี หรือมีสารเคมีอยู่ในระดับที่ปลอดภัยมาบริโภคได้อย่างมั่นใจด้วยการดูจากตรารับรอง
เปลี่ยนแปลง เพราะแบ่งปัน
ผลงานสารคดีของเยาวชนจากค่ายสารคดีครั้งที่ 13 ภายใต้หัวข้อ 'เปลี่ยนแปลงเพราะแบ่งปัน' 12 เรื่องสารคดีในนิตยสารสารคดีฉบับพิเศษ เปิดเรื่องราวและมุมมองของเยาวชนที่มีต่องานจิตอาสาที่สร้างการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในระดับปัจเจกบุคคล ชุมชน ไปจนถึงสังคมโลก สะท้อนภาพการแบ่งปันในหลากหลายพื้นที่ทั้งในดงดอย ชนบท เมืองใหญ่ ความเอื้อเฟื้อที่งดงามที่มีต่อคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม เป็นอีกหนึ่งพลังเล็ก ๆ ที่จะสะท้อนให้เห็นว่า เราทุกคนล้วนมีพลัง 'เปลี่ยนแปลง' สังคมได้ด้วยการ 'แบ่งปัน'
อาหารการกิน
นิตยสารสารคดีฉบับพิเศษ รวบรวมผลงานสารคดีจำนวน 12 เรื่อง และ สารคดีภาพอีก 2 เรื่อง ภายใต้ประเด็น 'อาหารการกิน จากปากท้องถึงการปกป้องโลก' อันเป็นผลงานของน้อง ๆ เยาวชนจากค่ายสารคดีครั้งที่ 12 สะท้อนมุมมองแนวคิดอาหารที่มากกว่าการกินเพื่ออิ่มท้อง แต่ยังหมายถึงภาพสะท้อนของวัฒนธรรมความเป็นอยู่ ไปจนถึงกระทั่งแนวคิดของสังคมในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา