Digital Footprint ในมุมมองของครูโอ ปราศรัย เจตสันติ์
สังคมในยุคดิจิทัล มีความรวดเร็วในการรับรู้ข่าวสาร แสดงความคิดเห็น และสร้างสื่อนำเสนอบนโลกออนไลน์อย่างมาก ทำให้ผลกระทบของ DF ไม่ได้เพียงกระทบแค่ในวงจำกัดเท่านั้น แต่ยังสามารถแชร์ข้อมูลไปสู่สังคมได้ง่าย สังคมที่มีความระมัดระวังในการใช้สื่อดิจิทัล จะตระหนักเสมอว่า เมื่อใดที่มีการสร้างสื่อ หรือโพสต์ข้อความใดๆ เป็นการนำเสนอความคิดสู่สาธารณะ ย่อมหมายถึงผลกระทบที่จะตามมาต่อสังคมและผู้คน
Hate speech ในโลกออนไลน์
เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน... การเดินทางจาก “Hate Speech” สู่ “Cyberbullying” ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งมาจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง ผ่านการพูด ผ่านตัวอักษรที่เต็มไปด้วยอารมณ์ทางลบ อคติ ตีตรา เหมารวม และความรู้สึกต้องการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคคลหรือกลุ่มคนให้ลดลง Hate Speech (การสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง) ในปัจจุบันถูกสื่อสารผ่านโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และอาจเป็นที่มาของการเกิด Cyberbullying (การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์) แล้วเราจะจัดการ “Hate Speech” ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? 1.มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์กับผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง 2.มีความเห็นอกเห็นผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกเกลียดชังในโลกไซเบอร์ 3.รายงานการพบเห็นการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ผ่านช่องทางในสื่อสังคมออนไลน์ 4.สนับสนุนแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ให้ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายเพื่อลดอคติและการแบ่งแยกในสังคม ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
บทวิเคราะห์เปรียบเทียบ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ดูหนัง....เห็นเนื้อในชีวิต
ภาพยนตร์ หรือ Motion Picture เป็นสื่อที่ใช้ในการถ่ายทอดแนวคิดและประสบการณ์ไปสู่การรับรู้และเรียนรู้ประเด็นต่าง ๆ ในชีวิตให้กับเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะมีความน่าสนใจและความดึงดูดใจทั้งภาพ เสียง การวางโครงเรื่อง ให้คนดูเกิดอารมณ์และความรู้สึกคล้อยตาม หากผู้ใหญ่คือ พ่อแม่ ผู้ปกครอง คุณครู ผู้ดูแลเด็ก นำสื่อภาพยนตร์มาใช้สร้างการเรียนรู้ในประเด็นต่าง ๆ ให้กับเด็กได้เป็นอย่างดี เนื้อหาในหนังสือครอบคลุมการเลือกภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก เทคนิคการสร้างกระบวนการเพื่อให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างเพลิดเพลิน ไม่ใช่การสอนที่ทำให้เด็กรู้สึกเบื่อหน่ายหรือจำเจ
ละครสร้างนักอ่าน
แนะนำเทคนิคการส่งเสริมการอ่านให้กับเด็กและเยาวชนด้วยการใช้สื่อ 'ละครสร้างนักอ่าน' หรือ Readers Theatre เพื่อเป็นสะพานนำการอ่านไปสู่เด็ก ๆ ให้เกิดความเพลิดเพลิน สนุก และรักการอ่านผ่านการเล่นไปโดยไม่รู้ตัว หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับคุณครูและผู้ดูแลเด็กที่สนใจนำกิจกรรมละครไปสร้างนิสัยรักการอ่านให้เด็ก เพราะเนื้อหาในหนังสือครอบคลุมตั้งแต่แนวคิด การเตรียมการ ขั้นตอน ไปจนถึงการประเมินผล รวมถึงประสบการณ์ของเด็ก ๆ และโรงเรียนที่เคยใช้เทคนิคนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลครบและสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
อิทธิพลสื่อ ผลร้ายจากสื่อไม่เหมาะสม
ผลร้ายเมื่อเด็กเสพติดสื่อมากเกินไป อาจส่งผลให้นอนดึก ขาดการออกกำลังกาย ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง ดังนั้นพ่อแม่ควรเป็นหูเป็นตา เลือกสื่อที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก และชวนเด็กๆ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ
จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์2556
ใครคือ เด็กเฮ้ว? สำคัญอย่างไร? ทำอะไร? มาหาคำตอบได้ในศิลป์สร้างสุขฉบับนี้ กับโครงการเด็กเฮ้วโปรเจกต์ โครงการที่เด็กเฮ้วอาสาสมัคร มาช่วยกันสร้างสรรค์สื่อเพื่อจุดประเด็นสร้างแรงบันดาลใจในเรื่องราวต่าง ๆ แม้จะเป็นเพียงเสียงเล็ก ๆ แต่ก็มีพลังและมีความสำคัญไม่แพ้ผู้ใหญ่แน่นอน
จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนตุลาคม 2556
เรียนรู้จักประโยชน์ที่แท้จริงของงานจิตอาสา เครื่องมือในการพัฒนาเยาวชน การแบ่งปันจากนอกกาย นำสู่การพัฒนาจิตและตัวตนด้านในของเยาวชน ให้เกิดเป็นภูมิต้านทานที่แข็งแกร่ง เกิดการพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ได้ในที่สุด
จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนกุมภาพันธ์2557
เที่ยวบางลำพู ถิ่นรุ่มรวยศิลปวัฒนธรรม กับเรื่องเล่าความงดงามที่ชาวบ้านบางลำพูทุกคนภาคภูมิใจ และไปสนุกกับศิลปะพื้นบ้านที่เด็ก ๆ เยาวชนรุ่นใหม่ หยิบขึ้นมาปัดฝุ่นสร้างสรรค์ทั้งในรูปแบบสื่อดั้งเดิม อย่างหุ่นสาย รำตงของชาวกะเหรี่ยง หรือนำมาสร้างสรรค์ในรูปแบบสื่อร่วมสมัยอย่างสื่อภาพยนตร์สั้น ที่ได้โชว์พลังสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ได้อย่างเต็มที่
จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนสิงหาคม2557
เยาวชนรุ่นใหม่ต้องรู้เท่าทันสื่อ เท่าทันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดสถานการณ์และปัญหาเหล้าในกลุ่มเยาวชน รวมพลังเยาวชน มาสร้างสื่อสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการรู้เท่าทัน ทำอย่างไรที่จะ 'ไม่ปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' ได้
ตลาดเด็กในยุคดิจิตอล
การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ของเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ในสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กอายุเฉลี่ยระหว่าง 5 - 8 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ถึงร้อยละ 54 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อเล่นเกมมากที่สุด ถึงร้อยละ 77 รองมาเป็นการศึกษา และหาข้อมูลท่องเที่ยว ร้านอาหาร และแชทกับเพื่อน