Fact Sheet ความฉลาดทางดิจิตอล และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น
สรุปข้อสนเทศเรื่องการศึกษาและประเมินพฤติกรรมการใช้สื่อสารสนเทศและดิจิตอลของวัยรุ่น โดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และคณะผู้วิจัยได้จัดทำ Fact Sheet ‘ความฉลาดทางดิจิตอล’ เพื่อศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่นและสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิตอล โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต อีกทั้งทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่มีคุณภาพ มีความเห็นอกเห็นใจเคารพผู้อื่นและมีความรับผิดชอบร่วมกันในสังคมออนไลน์ เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตในสังคมออนไลน์และในชีวิตจริงได้อย่างรู้เท่าทันและปลอดภัย
MIDL : DQ for Citizenship
การสร้างความฉลาดในยุคนี้ ไม่ใช่มีแค่ IQ หรือ EQ อีกต่อไป แต่พลเมืองในยุคสื่อสารออนไลน์หรือยุคดิจิทัลนี้ จำเป็นต้องมีความฉลาดอีก 1 ตัว นั่นคือ DQ หรือ Digital Intelligence ซึ่งประกอบด้วย 8 คุณลักษณะสำคัญที่ได้รับการกำหนดและยอมรับในระดับสากล ทั้ง 8 คุณลักษณะของ DQ นี้ นอกจากจะทำให้ตัวเราปลอดภัยไม่ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพในโลกอินเทอร์เน็ตแล้ว ยังจะทำให้เราไม่ไปละเมิดสิทธิ์ หรือทำร้ายคนอื่นในโลกออนไลน์ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ เพื่อให้เกิดสังคมดิจิทัลที่มีคุณภาพ
MIDL : Online Hate Speech
เราทุกคนรู้ดีว่าเรามีสิทธิเสรีภาพในการพูดอะไรก็ได้หรือที่เรียกว่า Free Speech แต่ในสิทธิเสรีภาพที่เรามี เราก็ต้องรับผิดชอบในผลที่ตามมาจากคำพูดของเราด้วย โดยเฉพาะในโลกออนไลน์ การมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ทำให้บางครั้งเราอาจเผลอไผลใช้คำพูดของเราทำร้าย แบ่งแยกความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องศาสนา เชื้อชาติ สีผิว เพศสภาพ ฯลฯ จนลุกลามกลายเป็นการแบ่งพวกแบ่งฝ่าย ผลิตซ้ำความเกลียดชัง สร้างผลร้ายลุกลามไปทั่วทั้งโลกออนไลน์และสังคมในความเป็นจริง สิ่งเหล่านี้คือ Hate Speech ในโลกออนไลน์ การติดอาวุธรู้เท่าทันสื่อ ไม่สร้าง Hate Speech เรียนรู้ที่จะเข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคลทั้งในโลกจริงหรือโลกออนไลน์ คือหน้าที่พลเมืองที่มีคุณภาพและก่อให้เกิดสังคมที่มีคุณภาพต่อไป
MIDL : Cyberbullying
คลิปแอนิเมชั่นที่จะพาเราเข้าไปทำความรู้จักประเด็นการกลั่นแกล้งออนไลน์อย่างรอบด้าน ตั้งแต่ความหมายของการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่หมายถึงการโพสต์หรือเผยข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นให้ได้รับความอับอาย เกลียดชัง ฯลฯ วิเคราะห์สาเหตุของการตั้งต้นเป็นผู้แกล้ง ผลกระทบที่มีต่อผู้ถูกรังแก ตั้งใจระดับเล็กน้อยไปจนถึงผลกระทบในชีวิตจริงที่รุนแรง และสุดท้ายไปหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการกลั่นแกล้งออนไลน์ที่เราทุกคนช่วยกันได้ หากเรารู้เท่าทัน มีสติ และรู้จักเห็นอกเห็นใจกันและกัน เป็นพลเมืองดิจิทัลที่รู้เท่าทันสื่ออย่างแท้จริง
Digital Footprint
สื่อเพื่อทำความเข้าใจเรื่อง Digital Footprint อย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ กับคุณครูโอ-ปราศรัย เจตสันติ์ 1 ในคุณครูที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนรู้เท่าทันสื่อ MIDL ทั้งในมุมของผู้ใช้สื่อทั่วไป บทบาทของครู และสังคมในการช่วยกันดูแลสร้างความรู้เท่าทันสื่อให้เกิดขึ้นในพลเมือง
อะไรบ้างที่ถือเป็นการรังแกกันบนโลกออนไลน์
Infographic ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมเหล่านี้
โมเดลกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ผ่านสื่อออนไลน์ของวัยรุ่น
" วัยรุ่นใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในการปฏิสัมพันธ์ ติดต่อกับเพื่อนและแบ่งปันข้อมูลต่างๆ รวมถึงการได้รับตอบโต้ปฏิสัมพันธ์ ผลวิจัยระบุว่าวัยรุ่นใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งแง่บวกและลบในการสร้างมโนภาพของตนเอง (Self-concept) และการพัฒนาอัตลักษณ์ (Identity) ในแง่บวก วัยรุ่นหาพื้นที่ในการสร้างอัตลักษณ์ต่อกลุ่ม แสดงออกความเป็นตัวตน และสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นในลักษณะที่ปลอดภัย พร้อมกับพัฒนาทักษะการสื่อสารบนสื่อดิจิทัล ในขณะที่ในแง่ลบ วัยรุ่นใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยตกหลุมของการจูงใจ การประเมินคุณค่า และแนวโน้มของการเปิดเผยตัวตนที่มากเกินไป "
ตัวตนทางเพศ กับการสร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์
บทสัมภาษณ์ โตมร อภิวันทนากร กลุ่มมานีมานะ ผู้ทำงานขับเคลื่อนประเด็นเรื่องเพศและการรู้เท่าทันสื่อ
Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (MIDL)
"การใช้ hate speech อาจเกิดขึ้นโดยผู้ใช้อาจจะทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว เกิดขึ้นได้ท้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้" เปิดมุมมอง Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล จาก ‘ครูโจ๊ก’ ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต Natthameth Dulkanit โรงเรียนราชวินิต มัธยม ครูในเครือข่าย MIDL School
LGBT กับคนทางการศึกษาต่อการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์
บทสัมภาษณ์ในมุมมองของ คุณครูนำโชค อุ่นเวียง ครูวิชาสังคมศึกษา โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ในประเด็นเรื่อง LGBT หรือ ความหลากหลายทางเพศ กับคนทางการศึกษาต่อการสร้างตัวตนในโลกออนไลน์ ที่ปัจจุบันคนในกลุ่ม LGBT ได้รับการยอมรับทั้งทางอัตลักษณ์ ตัวตน ความสามารถและบทบาทหน้าที่ทางสังคมในแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น
FAKE News
"What is FAKE NEWS????" ข่าวเทียม ข่าวปลอม ข่าวลวง คืออะไร ในทุก ๆ วันเราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ข้อมูลส่งผลกระทบต่อความคิด ความเชื่อของเรา ซึ่งข้อมูลบางส่วนนั้นถูกจัดว่าเป็น FAKE NEWS แล้ว FAKE NEWS คืออะไร?? หาคำตอบได้จาก infographic ชุดนี้ "What is FAKE NEWS????" ข่าวเทียม ข่าวปลอม ข่าวลวง คืออะไร ในทุก ๆ วันเราได้รับข้อมูลข่าวสารจากหลากหลายช่องทาง โดยเฉพาะทางสื่อออนไลน์ ต้องยอมรับว่าหลาย ๆ ข้อมูลส่งผลกระทบต่อความคิด ความเชื่อของเรา ซึ่งข้อมูลบางส่วนนั้นถูกจัดว่าเป็น FAKE NEWS แล้ว FAKE NEWS คืออะไร?? หาคำตอบได้จาก infographic ชุดนี้
5 วิธีที่คุณครูจะช่วยแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก
การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแกขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียนครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียนนักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา การกลั่นแกล้งรังแกในโรงเรียนกลายเป็นเรื่องที่มีอยู่ทั่วทุกหัวระแหง ต่อไปนี้ เป็นประสบการณ์จากการทำงานวิจัยในสหราชอาณาจักร โดย นักวิจัยชื่อ อลิซาเบซ แนซเซม นักวิจัยแห่ง The Centre for the Study of Practice and Culture in Education, Birmingham City University เธอทำวิจัยเรื่องนี้มานานกว่าทศวรรษและเสนอแนวทางเพื่อแก้ปัญหาเรื่องนี้ในระดับโรงเรียนและพบว่า แนวทางที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือการทำให้เด็ก ๆ มีบทบาทนำในการจัดการแก้ปัญหาดังกล่าว เธอเสนอ 5 วิธีที่ครูสามารถเริ่มต้นได้ ได้แก่ การปรับปรุงความเข้าใจเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ขอบเขตของการกลั่นแกล้งรังแกกว้างขวาง นับตั้งแต่การแกล้งหยอกล้อกันแบบเบา ๆ ไปจนถึงขั้นรุนแรง เช่น การตั้งฉายา หรือ การตบตี ซึ่งครูในโรงเรียนสามารถพูดคุยกับนักเรียนเกี่ยวกับประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอ หรือ ถามถึงสาเหตุว่า ทำไมถึงได้รังแกเพื่อน และคุยกับพวกเขาว่า ควรแก้ปัญหาในเรื่องนี้อย่างไร บ่อยครั้งที่การกลั่นแกล้งรังแกกัน เกิดขึ้นเพื่อให้ตนเองได้เป็นที่นิยมชื่นชอบในหมู่เพื่อน หรือบ้างเป็นการลงมือทำเพื่อแก้เซ็ง หนทางที่สำคัญคือ การดึงเด็ก ๆ ให้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ และสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ช่วยเหลือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วย ให้คำปรึกษากับเด็กนักเรียน ครูสามารถที่จะช่วยเหลือนักเรียนเพื่อให้พวกเขาได้เข้าใจพฤติกรรมของตัวเองที่เป็นฝ่ายกลั่นแกล้งรังแกเพื่อนและช่วยแก้ปัญหาที่ต้นตอนั้น ๆ ด้วยการพูดคุยกับเด็ก ๆ ว่า เกิดอะไรขึ้น การกระทำดังกล่าวส่งผลกระทบอย่างไร เด็ก ๆ จะมีแนวทางที่จะตอบโต้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ในแบบที่เคารพอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างไรหากเกิดเรื่องเช่นนี้อีก ซึ่งการใช้วิธีการแบบสมมุติบทบาท (role-playing) ตามฉากของสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยในการทำความเข้าใจแบบแผนพฤติกรรมในทางลบได้ชัดเจนขึ้น โรงเรียนสามารถจัดให้มีการพูดคุยเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้แบบเชิงรุก การจัดกิจกรรมนี้ โรงเรียนควรจัดให้มีเป็นประจำมากกว่าจะคอยแก้ปัญหาเมื่อมีเหตุการณ์ใดเหตุการณ์เกิดขึ้นแล้ว การสนับสนุนให้นักเรียนช่วยแก้ปัญหา ครูสามารถปรึกษากับเด็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายที่รังแกเพื่อนและถูกเพื่อนรังแก เพื่อเรียนรู้ประสบการณ์เหล่านั้นด้วยกัน และมองหาทางออกหรือข้อเสนอแนะต่อปัญหานั้น ๆ เช่น การสร้างบรรยากาศให้เด็ก ๆ เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น และให้พวกเขาบอกเล่าความรู้สึก และเปิดให้พวกเขาได้เรียนรู้การมีปฎิสัมพันธ์ต่อเรื่องที่อาจสร้างความเกรี้ยวกราดด้วยวิธีการที่ใจเย็นและสงบลง วิธีหนึ่งที่นักวิจัยเลือกใช้คือ การให้เด็ก ๆ เขียนบันทึกประจำวันเป็นประจำ เพื่อให้มีช่องทางระบายอารมณ์ในเชิงบวก การจัดให้เด็กนักเรียนได้มาพบปะพูดคุยกัน ภายหลังจากที่ครูได้แยกคุยกับเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้งกันทีละคนแล้ว ครูควรจะเปิดให้มีการพบปะพูดคุยระหว่างกัน การเปิดให้ได้พูดคุยหรือซักถามกันอย่างตรงไปตรงมาระหว่างเด็ก ๆ ที่เป็นคู่ขัดแย้ง เป็นทางหนึ่งที่ช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างกันได้ การสร้างความสัมพันธ์ที่เคารพซึ่งกันและกันระหว่างครูกับนักเรียน นักวิจัยย้ำว่า การแก้ปัญหาเรื่องการกลั่นแกล้งรังแก ต้องเป็นความร่วมมือระหว่างครูกับนักเรียน ครูควรจะพูดคุยกับเด็ก ๆ ด้วยความเคารพ ตั้งใจฟังและตอบสนองต่อมุมมองของเด็กนักเรียน ให้เวลามากเพียงพอในการทำความเข้าใจแง่มุมหรือความเห็นของพวกเขา ที่มา: https://www.theguardian.com/teacher-network/2018/jan/17/bullying-is-still-rife-in-schools-heres-how-teachers-can-tackle-it