trực tiếp bóng đá Xoilac
ศูนย์ข้อมูลสื่อสร้างสรรค์
Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "เยาวชน" พบ 371 ข้อมูล

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง เหตุเกิดที่ห้องเรียน บ้านการ์ตูน

หยิบเรื่องราวเท่าทันสื่อ ถ่ายทอดผ่านลายเส้นการ์ตูนไทย เรื่องราวตอนนี้เกิดขึ้น ณ  บ้านการ์ตูน จ. พะเยา ครูสอนศิลปะแปลกใจ  เด็กๆ หายไปจากห้องเรียนกันหมด มีเพียง ด.ช. ก็อต ที่ยังอยู่ในห้องเรียน และบอกว่าที่เพื่อนๆ หายไปเพราะไปร้านเกมเล่นอินเทอร์เน็ต ครูศิลปะจึงออกแบบการเรียนการสอนให้เด็กวาดรูปโทรศัพท์มือถือ เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของโทรศัพท์มือถือ และสื่อออนไลน์ที่เสพได้ผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่เปรียบเสมือนดาบสองคม ต้องใช้อย่างพอเพียง และไม่เสพติดสื่อออนไลน์มากเกินไป มิเช่นนั้นจะเกิดภัยที่ตามมา เพราะคลื่นแม่เหล็กในโทรศัพท์มือถือ อาจทำให้สมองเสื่อม หูอักเสบ ฯลฯ

การ์ตูนไทยสร้างสุข เรื่อง เครื่องมือสื่อสาร ตอน ระวังภัย

สนุกกับเรื่องราวฉลาดรู้เท่าทันสื่อเวอร์ชั่นการ์ตูนไทย ตอน ระวังภัย ผ่านเรื่องราวของ 'ขวัญ'  หญิงสาวหน้าตาดี ที่ติดอินเทอร์เน็ต และพบรักกับ 'พี่แม็ค' หนุ่มหน้าตาดีทางการแชทคุยผ่านอินเทอร์เน็ต แต่ทว่าแท้จริงคือแม็ค คือโจรผู้หวังจะทำมิดีมิร้ายขวัญ การ์ตูนนี้สะท้อนภาพให้เห็นว่า การเสพสื่อออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต และการติดโทรศัพท์มือถือ บางทีจะนำภัยมาให้เราโดยไม่รู้ตัว เพราะเราไม่รู้เลยว่ากำลังติดต่อสื่อสารกับใคร ภัยที่แฝงมาอาจร้ายแรงทำให้โดยข่มขืน โดนทำร้าย และสูญเสียทรัพย์

เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน การเดินทางจาก Hate Speech สู่ Cyberbullying

ใครเลยจะรู้ว่าการพูดหรือแสดงความคิดเห็นที่เต็มไปด้วยอคติ ความเกลียดชัง และความต้องการกีดกันบางกลุ่มคนออกไปจากสังคมนั้น สร้างผลกระทบทางจิตใจให้กลุ่มคนที่เป้าหมายมากน้อยแค่ไหน และในโลกยุคดิจิทัล online platform สามารถกระจายความเกลียดชังออกไปสู่วงกว้างในหลากหลายรูปแบบ และนำไปสู่ cyberbullying (การรังแกบนโลกออนไลน์) ที่เป็นจุดจบของชีวิตใครหลาย ๆ คนที่ตกเป็นเหยื่อ อะไรบ้างที่มักถูกหยิบมาสร้างความเกลียดชัง? พฤติกรรมใดบ้างที่เข้าข่าย Hate Speech? และจะจัดการกับ Hate Speech ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)  

ผู้ใช้โซเชียลมีเดีย ฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น

บทความนี้พูดถึงความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายในกลุ่มผู้ใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ซึ่งในกลุ่มผู้ใช้ที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ผู้ที่มีจิตใจอ่อนไหวเปราะบาง ผู้ติดสุรายาเสพติดและผู้ป่วยโรคร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงในการฆ่าตัวตายจากความเปราะบางทางจิตใจและความหุนหันพลันแล่น โดยแนะนำให้เฝ้าระวังและยึดหลัก 4 “อย่า” คือ 1 อย่าท้าทาย 2 อย่าใช้คำพูดเยาะเย้ย 3 อย่านิ่งเฉย 4 อย่าส่งข้อความหรือเผยแพร่ภาพการฆ่าตัวตายเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ลอกเลียนแบบ และ 3 “สิ่งที่ควรทำ” คือ 1 ควรห้าม 2 ควรชวนคุยไม่ปล่อยให้อยู่คนเดียว 3 ควรติดต่อหาทางช่วยเหลือจากคนใกล้ชิด

keyboard_arrow_up

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้และ นโยบายในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่.