รายการครอบครัวข่าวเด็ก ตอน เกษตรอินทรีย์วิถีพลเมือง บ้านกระเดาอุ่มแสง
รายการครอบครัวข่าวเด็ก พาไปรู้จักผลงานของโรงเรียนบ้านกระเดาอุ่มแสง หนึ่งในภาคีเครือข่ายโครงการศรีสะเกษติดยิ้ม ทางโรงเรียนเน้นการใช้ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิตมาพัฒนานักเรียน มีศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง ให้เด็ก ๆ ได้รู้จักการพึ่งพาตนเอง มีรายได้ในระหว่างเรียนและพัฒนาไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต เป็นพื้นฐานในการก้าวสู่การเป็นพลเมืองที่มีคุณภาพ
รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป
รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลม ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง
เอกสารสรุปประเด็นและข้อมูลสำคัญจากการจัดงานเสวนาโต๊ะกลม ระดมความคิดเห็นเรื่อง "ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย : ทำอย่างไรให้รอดและรุ่ง" โดยได้เชิญนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ผลิตรายการเด็กจากองค์กรต่าง ๆ มาร่วมระดมความคิดเห็นต่อสถานการณ์ปัญหาและทางออกของการผลิตรายการเด็กในประเทศไทย เนื้อหาในเอกสารมีการสรุปประเด็นความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมเสวนาแต่ละท่าน พร้อมสรุปประเด็นสำคัญ และสร้างสรรค์เป็นภาพอินโฟกราฟิก เพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปต่อยอดและการขับเคลื่อนงานด้านสื่อสำหรับเด็กและเยาวชนต่อไป
ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง
เด็ก คือทรัพยากรที่สำคัญของสังคม การดูแลบ่มเพาะทัศนคติ พฤติกรรมและค่านิยมที่ถูกต้องเหมาะสม จึงเป็นพันธกิจสำคัญของผู้ใหญ่ในสังคม ”ทีวีสำหรับเด็กในเมืองไทย ทำอย่างไรให้รอดและรุ่งเรือง” รายงานสรุปการจัดเสวนาโต๊ะกลมซึ่งมีผู้เข้าร่วมการเสาวนาประกอบด้วย ตัวแทนหน่วยงานด้านนโยบายสื่อ สถานีโทรทัศน์ ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก นักวิชาการด้านสื่อและกลุ่มเยาวชน โดยมีประเด็นสำคัญ เรื่องความจำเป็นของการมีรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน ปัญหาและอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นกับรายการโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชน รวมถึงแนวทางการส่งเสริมรายการโทรทัศน์และสถานีโทรทัศน์สำหรับเด็กและเยาวชนให้มีคุณภาพ และสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน
แนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Long Version)
คลิปวิดีโอแนะนำแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สสส. (Long Version) : สืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของระบบสื่อยุคหลอมรวม สื่อดิจิทัลกลายเป็นสื่อกระแสหลักในสังคมโลก ได้ขยายบทบาทประชาชนจาก ‘ผู้รับสื่อ’ ให้กลายเป็นทั้ง ‘ผู้ใช้และผู้สร้างสื่อ’ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ยังรับและใช้สื่ออย่างไม่รู้เท่าทัน ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะในทุกมิติ เพื่อเป็นการเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 รวมถึงการพัฒนาคนสู่เป้าหมายของชาติ อันเป็นภารกิจของ สสส. แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จึงได้กำหนดเป้าหมายหลักการทำงานมุ่งให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’
น่านงามตา
ผลงานผลิตคลิปสั้น นักข่าวมือถือออนไลน์ กลุ่มที่ 3 ประเด็น "ขยะ" ภาคเหนือ จังหวัดน่าน
ผักเปลี่ยนเมือง หาดใหญ่
ผลงานจากโครงการอบรมสร้างสื่อสร้างสรรค์ ผลิตคลิปสั้นด้วยมือถือ (4 ภูมิภาค)