คู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สำหรับระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ชุดกิจกรรมการพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (Media Information and Digital Literacy – MIDL)เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นพลเมืองดิจิทัล สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เหมาะสำหรับครูผู้สอนและนักการศึกษาที่ต้องการเสริมทักษะการรู้เท่าทันสื่อฯ ให้กับนักเรียน โดยผู้ใช้สามารถนำไปประยุกต์เพื่อให้เข้ากับสถานการณ์และบริบทที่แตกต่างกันได้
ตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัลระดับบุคคล เพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตย ฉบับสมบูรณ์
งานวิจัยสำรวจและตัวบ่งชี้การรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัลระดับบุคคลที่ครอบคลุมทักษะแห่งศตวรรษที่21 ในส่วนที่เกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงสารสนเทศผ่านสื่อและเทคโนโลยีดิจิทัล การเลือก รับ วิเคราะห์ ประเมิน รวมถึงความสามารถในการผลิตสื่อ เพื่อช่วยกันสร้างการเปลี่ยนแปลงและขับเคลื่อนสังคมให้ดีขึ้นได้ด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์ อีกทั้งมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและเคารพสิทธิของคนอื่นๆ ในสังคม
เปิดเมือง เปิดใจ มาสร้างภูมิคุ้มใจ ต้อนรับชีวิตวิถีใหม่
เปิดเมือง เปิดใจ ต้อนรับ ชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) ที่จะไม่เหมือนเดิม นอกจากสุขภาพกายที่ยังคงต้องระมัดระวังกันต่อไป สุขภาพใจก็ละเลยไม่ได้เช่นกัน ชวนสร้าง "ภูมิคุ้มใจ" ไว้ต้อนรับวิถีชีวิตใหม่ให้มีความสุข โดยมี 4 หมวดกิจกรรม ให้เลือกลองทำ #ปรับชีวิตเปลี่ยนโหมดใจ ให้เข้ากับชีวิตวิถีใหม่ ต้องมีสติเสมอ ใช้โอกาสนี้ฝึกเรียนรู้ พัฒนาจิตใจให้ดีและแข็งแรงขึ้นได้ #ใคร่ครวญโลกภายใน แม้วันนี้จะออกนอกบ้านได้ แต่การเดินทางภายในยังคงสำคัญ ยุคหลังกักตัวอยู่บ้าน วิกฤตโควิดได้สอนอะไรเรา อะไรสำคัญกับชีวิต ความคิดและความรู้สึกของเราส่งจะผลต่อชีวิตใหม่นี้อย่างไร #สานใจในความสัมพันธ์ - ชีวิตวิถีใหม่จะแตกต่างไปจากเดิม เช่น เราไม่อาจใกล้ชิดกันได้เท่าเดิม ไม่อาจใช้เวลาร่วมกันได้นานเหมือนเช่นเคย แต่มีหลายวิธีที่อยากแนะนำที่จะช่วยสานความสัมพันธ์ได้ แม้กายจะห่างไกลกัน #สรรค์สร้างใจสู่ความสงบ - ชีวิตวิถีใหม่ อาจทำให้รู้สึกแปลกแยก กังวล เครียด แต่ยังมีข้อแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้เราอยู่กับตัวเองอย่างมีความสุขและนำความสงบมาสู่ชีวิตวิถีใหม่ได้ไม่ยาก
5 ทักษะสู่การเป็นพลเมืองดิจิทัล
ในยุคสื่อสังคมออนไลน์ ทุกคนคือพลเมืองดิจิทัล ที่ต้องมีทักษะในการเสพข่าวดังนี้ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งข่าว วิเคราะห์จุดประสงค์ของข่าว และแยกแยะข้อเท็จจริงกับความคิดเห็นให้ออก เพื่อไม่หลงเชื่อตามคำชี้นำ และทุกครั้งให้รับข่าวสารโดยไม่มีอคติและมีสติในการเสพข่าวทุกครั้ง เพื่อไม่ตกเเป็นเหยื่อของข่าวลวง
คู่มือจัดทำข้อเสนอโครงการ เมือง 3 ดีวิถีสุข
คู่มือฉบับนี้ เป็นเสมือนเข็มทิศเพื่อให้ชุมชมและสังคม ร่วมกันขับเคลื่อนชุมชนและท้องถิ่นของตนเองสู่ “เมืองสื่อสร้างสรรค์” หรือ “เมือง 3 ดี วิถีสุข” ซึ่งเป็นเมืองต้นแบบในการมี “สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี” โดยเป็นผสานพลังการทำงานของแผนงานหลักของ สสส. ประกอบด้วย แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน, แผนงานสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน และแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาวะ เบื้องต้นมีพื้นที่นำร่อง 3 จังหวัดที่ขับเคลื่อน คือ แม่ฮ่องสอน, สุรินทร์ และ เพชรบุรี
คู่มือเดินเมืองตลาดพลู
คู่มือเดินเมืองตลาดพลูชุดนี้ เป็นสื่อสร้างสรรค์สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน(สสย.) โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายได้จัดทำขึ้น ภายใต้โครงการสัปดาห์การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2562 (MIDL Week 2019) ภายใต้ธีม MIDL for Inclusive Cities: สร้างเมืองของทุกคน ในวันที่ 16-17 พฤศจิกายน 2562 ณ ตลาดพลู กรุงเทพมหานคร
สุขภาวะคนเมืองเรื่องของทุกคน
วันนี้ความเป็นเมืองกำลังรุกคืบเข้าไปในทุกพื้นที่ พร้อม ๆ กับความสะดวกสบายที่เข้ามาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยีและการเดินทาง ในอีกด้านวิถีชีวิตเรากำลังถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไป เราไม่อาจหยุดยั้งความเป็นเมืองที่รุกเข้ามาหาเราได้ แต่เราจะทำอย่างไรให้อยู่กับเมืองได้อย่างมีความสุข ติดตามใน ‘สุขภาวะคนเมือง เรื่องของทุกคน’ แง่มุมความคิดโดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมระบบสื่อและสุขภาวะทางปัญญา สสส. จากงานเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการพื้นที่สร้างสรรค์สุขภาวะคนเมืองและชนบท
มาตาภาวนา ธรรมะพักใจผู้หญิงเมืองกรุง
“มาตาภาวนา” เป็นการปฏิบัติธรรมสำหรับผู้หญิงเมืองกรุง โดยเฉพาะเพราะสถานที่ในการเข้าไปพักใจ ด้วยการปฏิบัติธรรม ฝึกภาวนา และปิดวาจา เพื่อชำระล้างใจให้สะอาดนั้น จัดขึ้นที่สวนโมกข์กรุงเทพฯ ย่านจตุจักร เป็นประจำทุกสัปดาห์ที่ 2 และ 4 ของทุกเดือน หลังจากนั้นผู้หญิงซึ่งมีภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ ในการเป็นแม่ที่ต้องดูแลลูก เป็นภรรยาที่ต้องดูแลสามี และเป็นลูกสาวที่ต้องดูแลพ่อแม่ที่แก่เฒ่า ก็จะได้ชาร์ตแบตให้จิตใจได้เข้มแข็งและมีพลังก้าวเดินไปอย่างมีความสุข อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
บางกอกนี้ดีจัง สร้างพื้นที่ศิลปะวัฒนธรรมให้คนเมืองกรุง
ตัน-สุรนาถ แป้นประเสริฐ จากเด็กที่เคยติดยา และค้ายา กลายมาเป็นแกนนำก่อตั้ง “บางกอกนี้ดีจัง” เครือข่ายเยาวชนและชุมชน ที่ลุกขึ้นมาสร้างสรรค์ชุมชนบ้านเกิดของตนเอง ให้เป็นพื้นที่สร้างสรรค์ ด้วย แนวคิด 3 ดี คือ สื่อดี พื้นที่ดี และภูมิดี โดยมีมูลนิธิเพื่อนเยาวชน เป็นองค์กรพี่เลี้ยง ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่าง ๆ จาก สสส. และภาคประชาสังคม ภาครัฐ ที่ให้การส่งเสริมและสนับสนุนกับเยาวชนและคนในชุมชนได้มีโอกาสลุกขึ้นมาสำรวจชุมชนของตตนเอง ส่งเสริมของดีในชุมชนทั้งศิลปะวัฒนธรรมและวิถีชีวิตต่าง ๆ เพื่อร้อยเรียงชุมชนให้เป็น...บางกอกนี้ดีจัง อ่านบทความเส้นทางสู่ความสุขเพิ่มเติม ได้ที่ www.happinessisthailand.com
เปิดโลกอาสา : จักรยานกลางเมือง
เปิดใจ และ เปิดทาง เป็นสิ่งแรกที่ทีมงาน "จักรยานกลางเมือง" ให้ความใส่ใจ เปิดใจที่จะมองเห็นความเป็นไปได้ให้จักรยานเป็นหนึ่งในพาหนะของคนกรุงเทพ ด้วยการทำแผนที่เส้นทางจักรยาน รวมถึงปรับเส้นทางเดิมให้เป็นทางสำหรับจักรยานได้ เปิดทางคือ รณรงค์ให้รถยนต์แบ่งปันเส้นทางให้จักรยานได้ใช้ถนนร่วมกัน ปรับทัศนคติและมุมมองที่มีต่อการใช้จักรยาน เพราะเป็นการช่วยลดมลพิษ ลดปัญหาจราจรติดขัดและเป็นการออกกำลังกายได้อีกด้วย ที่สำคัญคือ ทุกคนสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ที่ตัวเอง และในบางช่วงก็ยังเปิดรับอาสาสมัครมารณรงค์ร่วมกันอีกด้วย ติดต่อ: นายศิระ ลีปิพัฒนวิทย์ (ผู้ประสานงานโครงการ) โทร: 02-622 2250-2 โทรสาร: 02-622 2366 website: www.greenworld.or.th email: bikemap@greenworld.or.th