Cyber Kid 02 ตอน ภัยออนไลน์จากคนแปลกหน้า
Cyber kid ตอนนี้เตือนเด็ก ๆ ให้รู้เท่าทันและเฝ้าระวังภัยออนไลน์ที่มาจากคนแปลกหน้า ที่แฝงมากับการ Chat หรือพูดคุยกันโดยไม่รู้จักในโลกออนไลน์ หากหลงเชื่อแล้วออกไปนัดพบกัน อาจเกิดเหตุร้ายเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้
การ์ตูนชุดสิทธิและการปกป้องคุ้มครองเด็ก ตอน รู้ทันเพื่อนออนไลน์
ทุกวันนี้การสื่อสารบนโลกออนไลน์ ทำให้เรามีเพื่อนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเราไม่มีทางรู้เลยว่าเพื่อนที่เราพูดคุยในสังคมออนไลน์นั้นคือใคร เป็นคนดีหรือไม่ดี เพราะฉะนั้นเด็ก ๆ จึงควรระมัดระวังในการพูดคุยบนสื่อออนไลน์ อย่าให้ข้อมูลส่วนตัวกับเพื่อนแปลกหน้าบนโลกออนไลน์ที่เราไม่รู้จักหรือคุ้นเคย
รายการนาอีฟพาไป ตามหาของดี วิถีชุมชน ฝั่งธนบุรี
รายการที่นำเสนอภาพกิจกรรม ตามหาของดี วีถีชุมชนฝั่งธนบุรี ที่เครือข่าย 3 ดี จัดขึ้น เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2555 ณ วัดโพธิ์เรียง เขตบางกอกน้อย
ผลิตคลิปแนะนำตัวและ Storyboard (สำหรับน้องๆ ที่ประกวด Viral Clip)
นำเสนอกฎกติกาในการเข้าร่วมประกวด ในโครงการชวนเพื่อนผลิตสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 1 จัดโดยเครือข่ายเยาวชน สื่อเด็กเปลี่ยนโลก
ตามรอยโกโบริ ชิม ชม ของดีบางกอกน้อย
เมื่อน้องๆ เยาวชน พาชิม ชม ของดีบางกอกน้อย ตามรอยโกโบริ วรรณกรรมในตำนานกับกิจกรรม 3 ดี บางกอกนี้ดีจัง ณ ชุมชนวัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย
บางกอกนี้...ดีจัง ตอน บางกอกตะลุยปันยิ้ม ณ เพชรบุรี ดีจัง
ข่าวกิจกรรมงานสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงปฎิบัติการ บางกอก ตะลุยปันยิ้ม ณ เพชรบุรี ดีจัง เป็นกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนในการผลักดัน 3 ดี พื้นที่ดี สื่อดี ภูมิดี ที่ จังหวัดเพชรบุรี
บางกอกนี้...ดีจัง ตอน "ตะลุยเรื่องเล่า...ชาวบางกอกน้อย"
ตะลุยเยี่ยมชุมชนในเขตบางกอกน้อย เพื่อเสาะหา 3 ดี คือ พื้นที่ดี สื่อดี และภูมิดี พร้อมสร้างแกนนำเยาวชนในการขับเคลื่อนขยายกิจกรรม 3 ดี สู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไป
บางกอกนี้ดีจัง ตอน "มาเล่นกันเถอะ"
ข่าวสรุปกิจกรรมการจัดงาน เมือง 3 ดี บางกอกนี้ดีจัง ตอน มาเล่นกันเถอะ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2557 ณ ชุมชนบ้านบุ วัดสุวรรณาราม เขตบางกอกน้อย โดยกิจกรรมนี้ต้องการสร้างพื้นที่ต้นแบบ ผลักดันให้กรุงเทพมหานครเป็น มหานครแห่ง 3 ดี คือ พื้นที่ดี สื่อดี และภูมิดี
ไก่ย่าง 3 ดี
กิจกรรมสนุกๆ จากเยาวชนที่จะมารณรงค์เรียกร้อง 3 ดี คือ พื้นที่ดี สื่อดี และภูมิดี ให้สังคม
ชีวิตติดสื่อ
ผลสำรวจพฤติกรรมการเสพสื่อ พบว่าเด็กและเยาวชนไทยกว่า 23 ล้านคน ใช้เวลาอยู่กับสื่อไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อเทียบเป็นปีแล้วน่าตกใจว่าเด็กและเยาวชนมีชีวิตติดสื่อมากกว่าการเรียนเสียอีก ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบสื่อ ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงต้องใส่ใจ ดูแลให้เด็กและเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ