การศึกษาวิเคราะห์ผังและเนื้อหารายการ ช่องโทรทัศน์ดิจิตอลสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เดือนมิถุนายน 2557
หลังการประมูลทีวีดิจิทัล ประเทศไทยมีช่องโทรทัศน์สำหรับหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว จำนวนทั้งสิ้น 3 ช่อง (ในขณะนั้น) คือ ช่อง 3 Family ช่อง MCOT Family และช่อง LOCA โดยทั้งนี้ กสทช.ประกาศว่าเนื้อหารายการของผู้ได้รับอนุญาตทั้ง 3 ช่อง จะต้องนำเสนอรายการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ การศึกษา มีสาระประโยชน์ต่อเด็ก เยาวชน และส่งเสริมสัมพันธ์อันดีของครอบครัว ไม่มีเนื้อหารุนแรง ผิดศีลธรรม ผิดกฎหมาย หรือใช้ภาษาหยาบคาย งานวิจัยครั้งนี้ มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ลงไปศึกษาถึงผังและเนื้อหารายการของทีวีทั้ง 3 ช่องในช่วงการเริ่มออกอากาศจริงในวันที่ 5-12 มิ.ย.57 ว่ามีการวางผังและรูปแบบเนื้อหาตรงกับตามเกณฑ์ของ กสทช. และหลักเกณฑ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องหรือไม่
เนื้อหาเพศสัมพันธ์โดยนัยทางโทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิตอล
ปัจจุบันเทคโนโลยีดิจิทัลทำให้เกิดช่องและรายการโทรทัศน์จำนวนมากขึ้นหลายเท่า ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง หนึ่งในกลยุทธ์ที่รายการนำมาใช้คือการสอดแทรกเนื้อหาที่เต็มไปด้วยเรื่องเพศสัมพันธ์ หยาบโลน เพื่อเป็นจุดขายให้รายการกลายเป็นที่นิยม มีเดียมอนิเตอร์จึงได้ทำการศึกษาประเด็น "เนื้อหาเพศสัมพันธ์โดยนัยทางดิจิตอลทีวีภาคพื้นดินขึ้น" เพื่อเป็นการศึกษาวิเคราะห์ลักษณะเนื้อหาเพศสัมพันธ์ที่มีอยู่ในเนื้อหาทั้งวัจนภาษา อวัจนภาษา โดยศึกษาเชื่อมโยงกับความคิดเห็นของสังคมในโลกออนไลน์ทาง Facebook, Youtube, Pantip ทั้งนี้เพื่อสะท้อนผลกระทบทั้งในแง่ทัศนคติและค่านิยมในเรื่องเพศสัมพันธ์ของคนในสังคม
STOP THAILAND FAKE TALENT
จากเหตุการณ์รายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง นำเสนอเนื้อหาหมิ่นศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เครือข่ายภาคีสื่อเด็กและเยาวชน จึงออกมาขับเคลื่อนหยุดการนำเสนอดังกล่าว โดยอ้างอิง พรบ. ประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ตามมาตรา 37
คนเหยียบโลก
ผลงานหนังสั้นของเด็ก ๆ และเยาวชนจากโครงการ Young filmmakers of Thailand เนื้อเรื่องสะท้อนให้เห็นว่า ข้อมูลข่าวสารที่แพร่หลายในโลกออนไลน์ หลายครั้งก็เชื่อถือไม่ได้เสมอไป ตัวอย่างเช่นตัวละครในเรื่อง ที่หลงเชื่อข่าวเรื่องวันสิ้นโลก ทำให้ตัดสินใจก่ออาชญากรรม พาชีวิตตัวเองไปสู่จุดที่เลวร้าย
การ์ตูนชุดสิทธิและการปกป้องคุ้มครองเด็ก ตอน ผิดกับคอมพิวเตอร์ ก็ผิดกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่เข้ามาดูแลผู้ใช้สื่อออนไลน์ทุกคน หากพบพฤติกรรมผิดกฎหมายเช่น การแอบเข้าระบบ การฉ้อโกง การหลอกลวง การตัดต่อภาพลามก การปล่อยข่าวลือ สามารถแจ้งไปที่ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ประเทศไทย (ไทยเซิร์ต) www. thaicert.or.th หรือ www.thaihotline.org