Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "เท่าทันสื่อ" พบ 310 ข้อมูล

D Read โดย คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

D+Read : การอ่านอย่างมีวิจารณญาณในการเสพสื่อ มาจากการอ่านที่ดี คิดบวก และยังพ้อง เสียงกับคำว่า Delete เพื่อลดการใช้สื่ออย่างขาดวิจารณญาณวัตถุประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษา : อยากให้คนรุ่นใหม่ตระหนักถึงความสำคัญของการอ่าน และมีวิจารณญาณในการรับสื่อ ซึ่งจะ เป็นตัวอย่างที่ดีให้คนรุ่นถัดไปในสังคม

Young Share โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

"จดหมายลูกโซ่ ” Support : จดหมายลูกโซ่มีลักษณะการส่งต่อข้อมูลกันเป็นทอดๆ โดยผู้ที่ได้รับข้อมูลเหล่านั้นจะต้องมีวิจารณญาณในการตัดสินใจว่าข้อมูลที่ได้รับมีข้อเท็จจริงอย่างไร เช่นเดียวกับปัจจุบันที่มีการแชร์ข้อมูลใน Social network มากมายโดยมีแนวโน้มการแชร์ข้อมูลเท็จมากขึ้น เราจึงอยากให้คนรุ่นใหม่มีวิจารณญาณในการหาข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่จะแชร์ข้อมูลเหล่านั้นออกไป

Young Share โดย คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

"จดหมายลูกโซ่" Support : จดหมายลูกโซ่มีลักษณะการส่งต่อข้อมูลกันเป็นทอดๆ โดยผู้ที่ได้รับข้อมูลเหล่านั้นจะต้องมีวิจารณญาณในการตัดสินใจว่าข้อมูลที่ได้รับมีข้อเท็จจริงอย่างไร เช่นเดียวกับปัจจุบันที่มีการแชร์ข้อมูลใน Social network มากมายโดยมีแนวโน้มการแชร์ข้อมูลเท็จมากขึ้น เราจึงอยากให้คนรุ่นใหม่มีวิจารณญาณในการหาข้อมูลที่ถูกต้องก่อนที่จะแชร์ข้อมูลเหล่านั้นออกไป

boomsharang โดย คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร

สะกิดเตือนให้ผู้ใช้สื่ออนไลน์เช็คและคิดก่อนที่จะแชร์ข้อมูลใดๆออกไป เพื่อไม่ให้เกิดผลเสียย้อนกลับมา  

9 สิ่งที่ห้ามโพสต์ลงโซเชียล

ปัจจุบันโซเชียลมีเดียได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในการติดต่อสื่อสารของคนส่วนใหญ่ในสังคม การที่เราคุ้นเคยกับการใช้สื่อเหล่านี้เป็นประจำอาจทำให้เราละเลยเรื่องความปลอดภัยของเราไป 9 สิ่งที่ห้ามโพสต์ลงโซเชียล เช่น บัตรประจำตัวประชาชนที่สามารถนำไปปลอมแปลงหรือใช้ทำธุรกรรมทางการเงินได้ ตั๋วเครื่องบินที่มีข้อมูลส่วนตัว ภาพวาบหวิว เช็คอินสถานที่ที่ระบุตำแหน่งที่พักอาศัย ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ภาพถ่ายบุตรหลาน ข้อความโจมตีผู้อื่นซึ่งเข้าข่ายหมิ่นประมาทและมีความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อีกทั้งข้อความว่ากล่าวองค์กรและข้อความดราม่า เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงและป้องกันผลเสียที่อาจย้อนกลับมากระทบชีวิตของได้เราในภายหลัง

5 โรคฮิตจากโซเชียลมีเดีย

ยุคโซเชียลมีเดีย พบ 5 โรคฮิตที่ควรระวัง ทั้งโรคซึมเศร้า โรคละเมอแชท (Sleep-Texting) โรควุ้นในตาเสื่อม โรคโนโมโฟเมีย (Nomophobia) กลัวการไม่มีมือถือ และโรคสมาร์ทโฟนเฟซ (Smartphone face) การก้มมองและจ้องจอมากเกินไป ทั้งหมดนี้บำบัดได้ ขอเพียงเปิดใจยอมรับ ควบคุมเวลาเล่น และหางานอดิเรกอื่นๆ ทำ

อันตรายจากปีศาจร้ายโลกไซเบอร์

เทคโนโลยีในโลกปัจจุบัน ช่วยให้การติดต่อสื่อสารและการทำธุรกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างสะดวกรวดเร็วทันใจ แต่ในข้อดีของความสะดวกรวดเร็วนั้น ก็มีข้อเสียและภัยร้ายที่สามารถเข้าถึงตัวเราได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน ในปี 2555 ภัยคุกคามอินเทอร์เน็ตมีสูงถึง 62% และมีแนวโน้มว่าอาชญากรทาง อินเทอร์เน็ตจะมีเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้ใช้ อินเทอร์เน็ตควรศึกษาและหาวิธีดูแลความปลอดภัยเบื้องต้นก่อนตกเป็นเหยื่อ เช่น การตั้งรหัสยากๆ สำหรับ user ในเว็บต่างๆ เช็คความปลอดภัยก่อนโอนเงินผ่าน  อินเทอร์เน็ตไม่ควรโหลดโปรแกรมจากคนหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ ลบข้อมูลเว็บบราวเซอร์หลังจากใช้คอมพิวเตอร์สาธารณะและติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส เพื่อป้องกันการถูกโจรกรรมข้อมูลจากอาชญากรทางอินเทอร์เน็ต

พลเมืองเท่าทันสื่อ ต้องมี MIDL

เมื่อพูดถึงสื่อ ยุคนี้ไม่จำกัดแค่สื่อเดิมอย่าง วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ ฯลฯ แต่ยังมีสื่อออนไลน์ ที่นับวันจะมีรูปแบบแปลกใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมายและรวดเร็ว จึงอาจเรียกได้ว่าเป็นยุคของสื่อหลอมรวม คุณพ่อคุณแม่จำต้องเรียนรู้เรื่องนี้ให้ทัน เพื่อช่วยเป็นหูเป็นตา สอดส่อง รวมถึงช่วยให้เด็ก ๆ ได้เรียนรู้สื่อในยุคดิจิทัลนี้ได้อย่างเท่าทันอีกด้วย

ชีวิตติดสื่อ

คลิปวิดีโอสรุปสถานการณ์ชีวิตติดสื่อของเด็กและเยาวชนไทย โลกดิจิทัลทำให้เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อ Social Media มากกว่าการอ่าน และการเรียนหนังสือในห้องเรียนไปเสียแล้ว ชีวิตติดสื่อจึงเป็นวิกฤติที่น่าเป็นห่วง เพราะใน Social Media เหล่านั้นมีการเผยแพร่กันทั้งเว็บอนาจาร ข่าวไม่จริง เนื้อหาที่สร้างค่านิยมผิดๆ เมื่อเด็กและเยาวชนเสพมากเกินไป จะส่งผลกระทบให้เกิดการลอกเลียนแบบ หากไม่มีการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ อยากรู้เท่าทันสื่อ

เอ๊ะก่อนอ๋อ รู้ให้ทันสื่อ

เรียนรู้หลัก '7 เอ๊ะ' ก่อน 'อ๋อ' เพื่อเรียนรู้การรู้เท่าทันสื่อ เพราะในชีวิตประจำวันของเราตลอด 24 ชั่วโมง แวดล้อมไปด้วยสื่อดิจิทัล การสื่อสารออนไลน์ทั้งชม แชท แชร์ ดังนั้นเราควรมีทักษะการคิด วิเคราะห์ แยกแยะสื่อที่ได้ชม ได้ฟังก่อนที่จะแชร์ ว่าสื่อหรือเรื่องราวต่าง ๆ ที่เราได้เห็น ได้ชมนั้นเป็นจริงหรือมีประโยชน์ต่อส่วนร่วมหรือไม่? เพื่อป้องกันไม่ให้เราและคนอื่น ๆ ในสังคมต้องตกเป็นเหยื่อในโลกออนไลน์

พื้นที่สร้างสรรค์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี-จังหวัดอุดรธานี

น้อง ๆ เยาวชนคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี เดินหน้าสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับน้องๆ ในพื้นที่ ตัวอย่างเช่นในตอนนี้ เราจะไปดูน้อง ๆ ไปทำกิจกรรมกับน้อง ๆ โรงเรียนชุมชนวังทอง เน้นประเด็นการรู้เท่าทันสื่อ ผ่านการลงพื้นที่ชุมชน เรียนรู้การทำสื่อด้วยตนเอง ทำให้น้อง ๆ ได้รู้วิธี กระบวนการผลิตสื่อ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้วิถีชุมชนวัฒนธรรมไปพร้อมกัน

keyboard_arrow_up