เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน ภัยมือถือ
ปัญหาโลกแตกที่มาพร้อมกับความนิยมในการใช้โทรศัพท์มือถือ คือการโฆษณาเชิญชวนให้ดาวน์โหลดหรือทดลองใช้แอปพลิเคชันฟรี หรือการส่งข้อความ SMS มาให่อ่านข่าว ชิงรางวัลต่างๆ เพียงแค่เราเปิดดู บางครั้งก็เสียเงินค่าโทรศัพท์มือถือไปมากมายโดยไม่รู้ตัว เพราะฉะนั้นอย่างหลงเชื่อ และเปิดอ่านข้อความที่เราไม่คุ้นเคย หรือไม่น่าเชื่อถือ
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน จริงหรือหลอก
เด็กไทยทันสื่อ ICT ว่าด้วยการเรื่องของข้อมูลในโลกออนไลน์ ที่มีการเผยแพร่โดยไม่ต้องมีการตรวจสอบ จึงมีทั้งข้อมูลที่เป็นความจริงและข้อมูลหลอกลวง ทั้งแค่หลอกเล่น ๆ ไปจนถึงหลอกให้หลงเชื่อตกเป็นเหยื่อต้องเสียเงินซื้อของหรือบริการ เด็ก ๆ จึงจำเป็นต้องไตร่ตรองและตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับในโลกออนไลน์ก่อนตัดสินใจจะเชื่อทุกครั้ง
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน เกม
เด็กไทยทันสื่อ ICT ว่าด้วยการรู้เท่าทันภัยจากการเล่นเกมออนไลน์ ที่มักมีมิจฉาชีพแฝงตัวมาหลอกขายไอเท็มสำหรับใช้ในเกม เด็ก ๆ ที่ไม่รู้เท่าทันหากเผลอโอนเงินโดยไม่ตรวจสอบให้ดีก็จะตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ การเล่นเกมควรเล่นเพื่อความเพลิดเพลินและเล่นด้วยความสามารถของตัวเองจะดีกว่า
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน ผิวขาว หน้าใส หุ่นดี
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอนนี้ว่าด้วยการรู้เท่าทันสื่อโฆษณาในโลกออนไลน์ ที่มักจะมาหลอกให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ ด้วยการปรับเปลี่ยนดัดแปลงรูปร่างของพรีเซ็นเตอร์หรือดาราให้ผิวขาว หน้าใส หุ่นดี จนผู้บริโภคหลงเชื่อและเสียเงินซื้อของออนไลน์เพราะไม่รู้เท่าทัน
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอน รู้ทันมือถือ
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอนนี้ว่าด้วยอาการติดมือถือของคนในยุคปัจจุบัน ทำให้ตกเป็นเหยื่อโปรโมชั่นค่ายโทรศัพท์มือถือ เสียค่าใช้จ่ายเกินจำเป็น อีกเรื่องหนึ่งคือมารยาทในสังคมกับการใช้มือถือ ไม่ควรใช้มือถือเกินจำเป็นจนตัดขาดความสัมพันธ์สังสรรค์กับคนใกล้ชิด
เด็กไทยรู้ทันสื่อ ICT ตอน หยุดการเผยแพร่เนื้อหาไม่เหมาะสม
เด็กไทยทันสื่อ ICT ตอนนี้ว่าด้วยเนื้อหาในโลกออนไลน์ที่ไม่เหมาะสม หากเรายิ่งเข้าไปดู ไลก์ เขียนแสดงความคิดเห็น และแชร์เนื้อหาเหล่านี้ออกไป ยิ่งเป็นการช่วยเผยแพร่เนื้อหาไม่ดีเหล่านั้นให้ยิ่งกระจายออกไปโดยไม่รู้ตัว
ผลิตคลิปแนะนำตัวและ Storyboard (สำหรับน้องๆ ที่ประกวด Viral Clip)
นำเสนอกฎกติกาในการเข้าร่วมประกวด ในโครงการชวนเพื่อนผลิตสื่อเพื่อการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 1 จัดโดยเครือข่ายเยาวชน สื่อเด็กเปลี่ยนโลก
ชีวิตติดสื่อ
ผลสำรวจพฤติกรรมการเสพสื่อ พบว่าเด็กและเยาวชนไทยกว่า 23 ล้านคน ใช้เวลาอยู่กับสื่อไม่น้อยกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน เมื่อเทียบเป็นปีแล้วน่าตกใจว่าเด็กและเยาวชนมีชีวิตติดสื่อมากกว่าการเรียนเสียอีก ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดพฤติกรรมการเลียนแบบสื่อ ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงต้องใส่ใจ ดูแลให้เด็กและเยาวชนรู้เท่าทันสื่อ
เอ๊ะก่อนอ๋อ รู้ให้ทันสื่อ
ในยุคของโซเซียลมีเดีย มีสื่อต่างๆ มากมาย ให้รับเราชม แต่ก่อนที่เราจะหลงเชื่อ แล้วมาร้อง "อ๋อ ..." ทีหลัง เราควรมี 7 เอ๊ะ !!! ในการรู้ให้ทันสื่อ คือ สื่อนั้นมาจากแหล่งไหน, สื่อนั้นมีอะไรให้เราสนใจ, สื่อนั้นมีคนคิดต่างจากเราไหม, สื่อนั้นนำเสนอค่านิยมอะไร, สื่อนั้นมีข้อเท็จจริงอย่างไร, สื่อนั้นมีการละเมิดสิทธิ์และผิดกฎหมายไหม, และสุดท้ายสื่อนั้นใครเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์จริงๆ คนผลิตสื่อ หรือ คนเสพสื่อ
เพลงนกเหยี่ยว
เพลงนกเหยี่ยว เล่าเรื่องนกนานาชนิดกับธรรมชาติในฤดูหนาว หักมุมให้เด็กระมัดระวังสื่อแทนด้วยตัวละครในเพลงแม่ไก่และลูกไก่ที่ระวังนกเหยี่ยว