Filter
ประเภทสื่อ
คำค้นหา "เท่าทันสื่อ" พบ 307 ข้อมูล

โมเดลกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ผ่านสื่อออนไลน์ของวัยรุ่น

" วัยรุ่นใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์เพิ่มมากขึ้นในการปฏิสัมพันธ์ ติดต่อกับเพื่อนและแบ่งปันข้อมูลต่างๆ รวมถึงการได้รับตอบโต้ปฏิสัมพันธ์ ผลวิจัยระบุว่าวัยรุ่นใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์ทั้งแง่บวกและลบในการสร้างมโนภาพของตนเอง (Self-concept) และการพัฒนาอัตลักษณ์ (Identity) ในแง่บวก วัยรุ่นหาพื้นที่ในการสร้างอัตลักษณ์ต่อกลุ่ม แสดงออกความเป็นตัวตน และสร้างสัมพันธ์กับผู้อื่นในลักษณะที่ปลอดภัย พร้อมกับพัฒนาทักษะการสื่อสารบนสื่อดิจิทัล ในขณะที่ในแง่ลบ วัยรุ่นใช้สื่อเครือข่ายสังคมออนไลน์โดยตกหลุมของการจูงใจ การประเมินคุณค่า และแนวโน้มของการเปิดเผยตัวตนที่มากเกินไป "

ตัวตนทางเพศ กับการสร้างอัตลักษณ์ในโลกออนไลน์

บทสัมภาษณ์ โตมร อภิวันทนากร กลุ่มมานีมานะ  ผู้ทำงานขับเคลื่อนประเด็นเรื่องเพศและการรู้เท่าทันสื่อ  

Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อสารสนเทศและดิจิทัล (MIDL)

"การใช้ hate speech อาจเกิดขึ้นโดยผู้ใช้อาจจะทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว เกิดขึ้นได้ท้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งอาจะเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งได้"   เปิดมุมมอง Hate Speech กับการสร้างพลเมืองรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล จาก ‘ครูโจ๊ก’ ณัฏฐเมธร์ ดุลคนิต Natthameth Dulkanit โรงเรียนราชวินิต มัธยม ครูในเครือข่าย MIDL School  

Digital Footprint ในมุมมองของครูโอ ปราศรัย เจตสันติ์

สังคมในยุคดิจิทัล มีความรวดเร็วในการรับรู้ข่าวสาร แสดงความคิดเห็น และสร้างสื่อนำเสนอบนโลกออนไลน์อย่างมาก ทำให้ผลกระทบของ DF ไม่ได้เพียงกระทบแค่ในวงจำกัดเท่านั้น แต่ยังสามารถแชร์ข้อมูลไปสู่สังคมได้ง่าย สังคมที่มีความระมัดระวังในการใช้สื่อดิจิทัล จะตระหนักเสมอว่า เมื่อใดที่มีการสร้างสื่อ หรือโพสต์ข้อความใดๆ เป็นการนำเสนอความคิดสู่สาธารณะ ย่อมหมายถึงผลกระทบที่จะตามมาต่อสังคมและผู้คน

Hate speech ในโลกออนไลน์

เมื่อวาจาทำร้ายใจกัน... การเดินทางจาก “Hate Speech” สู่ “Cyberbullying” ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งมาจากการสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง ผ่านการพูด ผ่านตัวอักษรที่เต็มไปด้วยอารมณ์ทางลบ อคติ ตีตรา เหมารวม และความรู้สึกต้องการลดทอนคุณค่าความเป็นมนุษย์ของบุคคลหรือกลุ่มคนให้ลดลง Hate Speech (การสื่อสารเพื่อสร้างความเกลียดชัง) ในปัจจุบันถูกสื่อสารผ่านโลกออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และอาจเป็นที่มาของการเกิด Cyberbullying (การกลั่นแกล้งบนโลกออนไลน์) แล้วเราจะจัดการ “Hate Speech” ในโลกออนไลน์ได้อย่างไร? 1.มีการสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ทางออนไลน์กับผู้อื่นโดยไม่คำนึงถึงอัตลักษณ์ที่แตกต่าง 2.มีความเห็นอกเห็นผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ที่ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกเกลียดชังในโลกไซเบอร์ 3.รายงานการพบเห็นการสื่อสารที่สร้างความเกลียดชังทางออนไลน์ผ่านช่องทางในสื่อสังคมออนไลน์ 4.สนับสนุนแนวทางการสื่อสารที่สร้างสรรค์ ให้ความรู้ความเข้าใจในแนวคิดการอยู่ร่วมกันในสังคมที่มีความหลากหลายเพื่อลดอคติและการแบ่งแยกในสังคม ที่มา: เอกสาร การสื่อสารที่สร้างความเกลียดชัง (Hate Speech) และการศึกษาการรังแกกันบนโลกไซเบอร์ของวัยรุ่น (2561) สนับสนุนโดย สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.)

อิทธิพลสื่อ ผลร้ายจากสื่อไม่เหมาะสม

ผลร้ายเมื่อเด็กเสพติดสื่อมากเกินไป อาจส่งผลให้นอนดึก ขาดการออกกำลังกาย ขาดปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีพฤติกรรมที่ก้าวร้าว รุนแรง ดังนั้นพ่อแม่ควรเป็นหูเป็นตา เลือกสื่อที่เหมาะสมกับวัยของเด็ก และชวนเด็กๆ ทำกิจกรรมสร้างสรรค์อื่นๆ

จุลสาร ศิลป์สร้างสุข เดือนสิงหาคม2557

เยาวชนรุ่นใหม่ต้องรู้เท่าทันสื่อ เท่าทันเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เปิดสถานการณ์และปัญหาเหล้าในกลุ่มเยาวชน รวมพลังเยาวชน มาสร้างสื่อสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดการรู้เท่าทัน ทำอย่างไรที่จะ 'ไม่ปล่อยให้เหล้ามาลวงเรา' ได้

ตลาดเด็กในยุคดิจิตอล

การใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีเคลื่อนที่อย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ของเด็กอายุไม่เกิน 12 ปี ในสหรัฐอเมริกา พบว่าเด็กอายุเฉลี่ยระหว่าง 5 - 8 ปี เป็นกลุ่มที่ใช้งานมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่ง ถึงร้อยละ 54 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เพื่อเล่นเกมมากที่สุด ถึงร้อยละ 77 รองมาเป็นการศึกษา และหาข้อมูลท่องเที่ยว ร้านอาหาร และแชทกับเพื่อน

10 วิธีดูแลลูกยุคไซเบอร์

การเลี้ยงลูกในยุคไซเบอร์ ต้องเริ่มต้นที่พ่อแม่ จัดสรรหาเวลาให้ลูก ทำกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ที่ใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว เพื่อลดทอนเวลาในการติดเกมและอินเทอร์เน็ต ปลูกฝังวินัยและความรับผิดชอบให้ลูก ที่สำคัญอย่าลืมชื่นชมเมื่อลูกทำสิ่งที่ดีงาม

5 คำถามรู้ทันสื่อและโฆษณา

ก่อนที่เราจะเชื่อสื่อและโฆษณาต่าง ๆ ให้เปิดมุมมอง และลองถามตัวเอง ด้วยตำถาม 5 ข้อ คือ สื่อนี้ใครทำ ? สื่อนี้ถูกนำเสนอด้วยวิธีการใด ? สื่อนี้คนจะรับรู้แบบไหนได้บ้าง / เพราะอะไร ? สื่อนี้นำเสนออะไร และมีอะไรที่ยังไม่นำเสนอ ? และสื่อนี้หวังผลอะไร ? เมื่อถามครบแล้ว ค่อยตัดสินใจว่า จะเชื่อหรือไม่?

เรียนรู้ทันคำโตๆของโฆษณา ตอน ดื่มแล้วสวย

คำโฆษณาที่ว่า กินคอลลาเจนแล้วสวย หรือแก่ช้า แท้จริงแล้วได้ผลน้อยมาก เพราะคอลลาเจนเป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง เมื่อกินเข้าไปแล้วจะย่อยเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนเดียวกับโปรตีนอื่นๆ เพื่อดูซึมเข้าสู่ร่างกาย ถ้าอยากผิวสวย เรียบเนียน ดูอ่อนเยาว์ ให้ดื่มน้ำเปล่าสะอาดมากๆ หลีกเลี่ยงอยู่ในที่แสงแดดจัด และไม่สูบบุหรี่

keyboard_arrow_up