นิตยสารดีจัง เล่มที่ 2 ฉบับอยู่ดีกินหอมหวาน
นิตยสารดีจัง ฉบับ 'อยู่ดี กินหอมหวาน' พาผู้อ่านไปร้อยเรียงเรื่องราวผ่าน 'การกิน' ในแง่มุมหลากหลายมิติ ทั้งวิถีชีวิต ชุมชน ศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ตลอดจนถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุคปัจจุบัน พลิกมิติมุมมองผ่านอาหารการกินในบางแง่มุมที่เราอาจจะไม่เคยคิดถึงมาก่อน ให้ได้มองเห็นโลกและผู้คนรอบตัวอย่างลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น
นิตยสารดีจัง เล่มที่ 1 ฉบับปฐมยิ้ม
นิตยสารดีจัง ฉบับ ปฐมยิ้ม นิตยสารรายสะดวกฉบับแรกที่จะสร้างรอยยิ้มให้ผู้อ่านผ่านเรื่องราวดี ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สร้างสรรค์ต่าง ๆ ทั่วประเทศไทย โดยฉบับแรกนี้จะพาไปรู้จักพื้นที่สร้างสรรค์ที่ประสบความสำเร็จ เช่น เพชรบุรีดีจัง อุตรดิตถ์ติดยิ้ม ฯลฯ พร้อมทั้งเรื่องราวของศิลปวัฒนธรรมชุมชน และผู้ใหญ่ใจดีที่อยู่เบื้องหลังในการขับเคลื่อนสร้างพื้นที่ เติมความสุขและรอยยิ้มให้กับเด็ก ๆ และเยาวชนในทุกพื้นที่ทั่วไทย
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 6
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลและบทบาทผู้ที่มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนกลไกการรู้เท่าทันสื่อให้กับเด็กและเยาวชน โดยประกอบด้วยครอบครัว โรงเรียนและสถาบันการศึกษา และภาคส่วนต่าง ๆ การตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเอง รวมถึงการบูรณาการทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ระบบการเรียนรู้เรื่องการเท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัลในเยาวชนสามารถเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 5
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลการพัฒนาพลเมืองให้รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศและดิจิทัล (MIDL) ให้ประชาชนแต่ละช่วงวัยที่มีความแตกต่างกัน โดยแบ่งพลเมืองเป็น 5 กลุ่มอายุ คือ 1-5 ปี 6-12 ปี 13-18 ปี 18-25 ปี และ 25 ปีขึ้นไป โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 ด้านสำคัญคือ คุณลักษณะ ความรู้ และทักษะ เพื่อเป็นแนวทางและกรอบแนวคิดสำหรับผู้ทำงานด้านความรู้เท่าทันสื่อได้นำไปประยุกต์ใช้ต่อไป
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 4
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอกรอบแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) เน้นการพัฒนาใน 4 มิติคือ การรู้ตนเองและทักษะชีวิต การอยู่ร่วมกันในยุคสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย และการอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยแบ่งการพัฒนาพลเมืองเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองมุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 3
สื่ออินโฟกราฟิก นำเสนอข้อมูลเจาะลึกการสร้างพลเมืองประชาธิปไตย ที่เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL) โดยแบ่งพลเมืองออกเป็น 3 แบบ คือ พลเมืองที่มีความรับผิดชอบ พลเมืองที่มีส่วนร่วม พลเมืองที่มุ่งเน้นความเป็นธรรมในสังคม เรียนรู้รายละเอียดของพลเมืองแต่ละแบบผ่านแนวคิดหลัก แนวปฏิบัติ และตัวอย่างเชิงเปรียบเทียบที่ช่วยให้เข้าใจได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรม
กรอบแนวคิด พลเมืองประชาธิปไตยเท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล 2
อินโฟกราฟิกที่จะช่วยสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ว่าทำไมเราต้องรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล รวมถึงความหมายและความสำคัญของคำว่า รู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล หรือ MIDL
ใจดีสู้สื่อ ภาพลักษณ์สำคัญไฉน 22Dec12
รายการใจดีสู้สื่อ ตอน ภาพลักษณ์สำคัญไฉน พาไปทำความรู้จักกับคำว่าภาพลักษณ์ การสร้างภาพลักษณ์ พร้อมกับตั้งคำถามให้ได้ฉุกคิดกันว่าแท้จริงแล้วภาพลักษณ์ที่เราเห็น ทั้งดารา นักแสดง นักการเมือง รวมถึงองค์กรต่าง ๆ แสดงออกมานั้น แท้จริงแล้วมีความเป็นจริงหรือไม่ เราจะเชื่อถือได้มากแค่ไหน
ใจดีสู้สื่อ รู้ทันการ์ตูน ข่าว 18Jan13
ใจดีสู้สื่อ ตอน รู้ทันการ์ตูน ข่าว เปิดเบื้องลึกเบื้องหลังการนำเสนอการ์ตูน ข่าว ให้มองเห็นความจริงในหลายมิติ เพื่อให้รู้เท่าทันสื่อและข้อมูลที่นำเสนอ ผลของการตลาดที่ทำให้สื่อทั้ง 2 ชนิดต้องแข่งกันนำเสนอเนื้อหาสร้างความเพลิดเพลินให้กับคนดู จนบางครั้งเราอาจจะลืมฉุกคิดไปว่า ข่าวมีข้อเท็จจริงเชื่อได้แค่ไหน และการ์ตูนกำลังหลอกให้เด็ก ๆ เพลิดเพลินหลงเชื่อจนเกินเหตุหรือเปล่า
ใจดีสู้สื่อ สื่อวิทยุ 29Dec12
ใจดีสู้สื่อ ตอน สื่อวิทยุ พาไปรู้จัก เข้าใจ และเท่าทันสื่อวิทยุในทุกแง่มุม ตั้งแต่อุปกรณ์การฟังวิทยุที่เปลี่ยนไป พฤติกรรมของผู้ฟังวิทยุ ผู้ผลิตสื่อวิทยุ และสำคัญที่สุดคือผู้สนับสนุนและการตลาดในสื่อวิทยุ ที่อาจจะล่อลวงให้เราหลงเชื่อและเสียเงินไปโดยไม่ทันรู้ตัว
ใจดีสู้สื่อ เลือกตั้งกันยังไงดี 1Feb13
ใจดีสู้สื่อ ตอน เลือกตั้งกันยังไงดี เนื้อหารายการในตอนนี้แบ่งเป็น 2 เรื่องราวต่อเนื่องกัน ช่วงแรกจะเป็นการพาไปเจาะลึกถึงพฤติกรรมความชื่นชอบและการเลียนแบบนักร้องดังของเหล่าเยาวชน ที่ทำให้นักการตลาดสร้างกลยุทธ์จูงใจในการขายสินค้าให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชน ซึ่งหากไม่รู้เท่าทันก็จะทำให้เราตกเป็นเหยื่อ ส่วนช่วงที่สองของรายการจะพูดถึงการหาเสียงเลือกตั้ง และพฤติกรรมการใช้สื่อของกลุ่มเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะเรื่องของการหาเสียงผ่านสื่อโซเชียลออนไลน์และสื่ออื่น ๆ ซึ่งหากเราได้รับข้อมูลไม่ควรเชื่อตั้งแต่ครั้งแรก ต้องตั้งคำถามให้คาถา 'เอ๊ะ เอ๊ะ เอ๊ะ' ทบทวนให้ดีเสียก่อน