ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน แกงส้มดอกแคปลาดุก จังหวัด แม่ฮ่องสอน
เมนู 'แกงส้มดอกแคปลาดุก' แสนอร่อย ฝีมือน้อง ๆ เยาวชนที่โรงเรียนบ้านแม่เงา อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน เด็กและเยาวชนที่นั่นเรียนรู้ต่อยอดโครงการอาหารปลอดภัยในโรงเรียน จนกลายเป็นแหล่งเรียนรู้และศูนย์รวมอาหารปลอดภัยให้กับเด็ก ๆ นอกจากนี้ยังเกิดการสืบค้นเมนูท้องถิ่น เรียนรู้วิธีการทำอาหารพื้นบ้านตามฤดูกาลที่ดีต่อสุขภาพ เด็ก ๆ สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีชีวิตพอเพียง
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ไข่เจียว จังหวัด กรุงเทพ
วิถีชีวิตชุมชนเมือง แม้จะมีเวลาน้อย แต่ก็สามารถทำอาหารทานเองได้ ตัวอย่างเมนูง่าย ๆ แสนอร่อยและสนุกของเด็ก ๆ กลุ่มเยาวชนรองเมืองเรืองยิ้มก็คือ 'ไข่เจียวทรงเครื่อง' การทำไข่เจียวของเด็ก ๆ มากไปกว่ารสชาติอร่อยคือบรรยากาศของมิตรภาพ การได้พูดคุยกันระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ได้พัฒนาทักษะ ฝึกการช่วยเหลือตัวเอง ทำให้เด็ก ๆ รู้สึกภาคภูมิใจในตัวเองอีกด้วย
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ซุปไก่ จังหวัด นราธิวาส
น้อง ๆ กลุ่มธนาคารใจอาสา 3 จังหวัดชายแดนใต้ จะพาเราไปทำความรู้จักและเข้าใจวิถีชีวิตของชาวมุสลิมผ่านวัฒนธรรมการกินอาหาร 'ฮาลาล' และเมนู 'ซุปไก่' ที่เป็นเมนูคู่กับวัฒนธรรมที่ยาวนานของชาวมุสลิม
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน โมฮิงกาโต๊ะ แม่สอด จังหวัด ตาก
ไปรู้จัก 'โมฮิงกาโต๊ะ' หรือยำขนมจีนแท้ ๆ แสนอร่อย อาหารประจำครอบครัวจากประเทศพม่า โดยเด็กเยาวชนกลุ่ม Rays of youth อ.แม่สอด ใช้กระบวนการเรียนรู้อาหารพื้นถิ่นในชุมชนแรงงานเพื่อสร้างความเข้าใจและอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนไทยและพม่าในพื้นที่ อ.แม่สอด จ.ตาก
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน บะหมี่เกี๊ยวทุ่งเทิน จังหวัด ศรีสะเกษ
ในอดีตเด็ก ๆ หลายคนที่โรงเรียนบ้านเทิน อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ รู้สึกอายที่จะบอกอาชีพของพ่อแม่ซึ่งเป็นคนขายบะหมี่เกี๊ยวในเมืองใหญ่ แต่พอคุณครูพาเด็ก ๆ ลงไปเรียนรู้วิธีการทำบะหมี่เกี๊ยว ให้คุณพ่อคุณแม่ได้เข้ามาสอนเด็ก ๆ ทำบะหมี่เกี๊ยว ทำให้เด็ก ๆ เปลี่ยนทัศนคติ เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในการทำบะหมี่เกี๊ยวที่เชี่ยวชาญของพ่อแม่ เกิดการขยายต่อความรู้เป็นหลักสูตรภูมิปัญญาท้องถิ่นในโรงเรียน ทำให้เด็ก ๆ มีรายได้เสริมจากการทำ 'บะหมี่เกี๊ยวทุ่งเทิน' แสนอร่อยอีกด้วย
ขบวนการเรื่องกินเรื่องใหญ่ ตอน ลาบหมู จังหวัดเชียงใหม่
เรียนรู้และเข้าใจความต่าง เห็นคุณค่าวัฒนธรรมผ่านอาหารประจำถิ่น สำหรับคลิปนี้เป็นผลงานของกลุ่มเด็กเยาวชนแดข่องนี้ดีแต้ จ.เชียงใหม่ เด็ก ๆ จะมาสาธิตวิธีทำลาบหมูอาข่า ซึ่งเป็นอาหารประจำถิ่น อุดมด้วยสมุนไพร อร่อย และยังได้ประโยชน์ต่อสุขภาพ ทำให้เด็ก ๆ ได้ภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง รวมถึงการเรียนรู้วิถีความยั่งยืนของอาหารอีกด้วย
รายงานการวิจัย ถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนดีจังอีสานตุ้มโฮม อุดรธานี
รายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โครงการเด็กอุดรรักษ์บ้าน เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและอุปสรรคปัญหา ที่เกิดขึ้นในกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ของแกนนำเยาวชนเครือข่าย ดีจังอีสานตุ้มโฮม ในพื้นที่เมืองอุดรธานี ภายใต้แนวคิด ๓ ดี วิถีพลเมือง ผ่านกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลิตสื่อสร้างสรรค์และมหกรรมดีจังอีสานตุ้มโฮม ให้แก่เยาวชนและชุมชน เพื่อให้มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ รู้เท่าทันในการเลือกใช้สื่ออย่างเหมาะสม สร้างสรรค์สื่อให้มีประโยชน์และมีความรับผิดชอบร่วมกัน โดยใช้ภูมิปัญญาของทุกฝ่ายในชุมชน สร้างความตระหนักรักในศิลปวัฒนธรรมและคุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่น อีกทั้งยังส่งเสริมให้แกนนำเยาวชนนักสื่อสาร มีจิตอาสาเพื่อชุมชนอีสาน มีความรับผิดชอบและความเข้าใจในงานที่ทำ เพื่อพัฒนาเป็นนักสื่อสารมวลชนที่มีคุณภาพต่อไป
การวิจัยเรื่อง ถอดบทเรียนสื่อสารสร้างสรรค์ โครงการนักสื่อสารเยาวชนคนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด
งานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จและกระบวนการพัฒนาในพื้นที่บ้านหว้าน ด้วยสื่อสร้างสรรค์ของแกนนำนักสื่อสารเยาวชนศรีสะเกษ ฮักบ้านเกิด กลุ่มยูอีสาน ที่นำไปสู่การพัฒนาเยาวชนและชุมชน ให้รู้เท่าทันสื่อ เท่าทันตัวเอง เท่าทันสังคม และเพื่อต่อยอดขยายผลไปยังพื้นที่สร้างสรรค์อื่น ด้วยแนวคิด ๓ ดี สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยให้เยาวชนและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดออกแบบ ลงมือปฏิบัติกิจกรรมสื่อ หรือ ใช้นวัตกรรมให้สอดคล้องกับบริบทของชุมชน อีกทั้งยังส่งเสริมให้คนในชุมชนได้เห็นคุณค่าในตัวเองและเรียนรู้ อนุรักษ์ประเพณี วิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา ต่อเนื่องกับโครงการโรงเรียนหมู่บ้านศีล ๕ ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง เพื่อบรรเทาปัญหาเด็กเยาวชนและลดช่องว่างระหว่างบ้าน วัด โรงเรียนหรือส่วนราชการ และยังส่งเสริมให้เยาวชนเห็นคุณค่าของผู้สูงวัยที่เป็นแหล่งทางภูมิปัญญาและความรู้
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย
รายงานถอดบทเรียนกระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย เป็นการศึกษาในโครงการอีสานตุ้มโฮม เพื่ออธิบายถึงกลไก กระบวนการสื่อสารสร้างสรรค์ที่ได้ดำเนินการเพื่อพัฒนาเด็กและ เยาวชนสู่การเป็นพลเมืองประชาธิปไตย มีองค์ประกอบสำคัญคือ ต้นแบบแนวคิด 3 ดี : สื่อดี พื้นที่ดี ภูมิดี โดยใช้แนวคิดพลเมืองประชาธิปไตยและแนวคิดการสื่อสารสร้างสรรค์แบบมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ครอบครัว คนในชุมชน รวมทั้งเครือข่ายท้องถิ่น ซึ่งมีเยาวชนเป็นแกนหลักสำคัญในการดำเนินการ เพื่อนำสู่การการเปลี่ยนแปลงภายในในชุมชนที่ดีขึ้น สามารถขยายผลไปยังชุมชนใกล้เคียงต่อไป
ละครเด็กคลิตี้ 13 ปี ชีวิต สายน้ำ ความหวัง
การแสดงนิทานเพลงจากเด็กและเยาชนของหมู่บ้านคลิตี้ ชุมชนชาวกระเหรี่ยง ที่ จ.กาญจนบุรี สะท้อนภาพชีวิตที่ผูกพันกับสายน้ำและผืนป่า จนกระทั่งโรงแต่งเหมืองแร่เข้ามาทำธุรกิจที่ชุมชน ชีวิตและสิ่งแวดล้อมของที่นี้จึงถูกทำลายด้วยสารตะกั่ว การเล่าเรื่องด้วยเสียงเพลงท่วงทำนองที่ไร้เดียงสา รอยยิ้ม และแววตาที่ใสซื่อบริสุทธิ์พวกเด็กๆ เหล่านี้ มุ่งหวังให้เป็นนิทานสอนใจ ขอให้หมู่บ้านคลิตี้ล่างนี้เป็นบทเรียนสุดท้าย เพื่อไม่ให้ชุมชนอื่นๆ ได้รับผลกระทบแบบชุมชนของตนเอง